วรรณกรรม สุภาษิต ข้อคิด คำคม สำนวน โวหาร งานเขียน >>

กวีนิพนธ์

(ร่าย กาพย์ กลอน โคลง ฉันท์)

ฉันท์

สัมผัส

สัมผัส คือการส่งคำที่เกิดจากสระเสียงเดียวกัน จากวรรคหนึ่งไปยังวรรคหนึ่ง ในฉันท์บทเดียวกัน แม้คำที่เกิดจากมาตราหรือแม่เดียวกัน หรือการส่งจากท้ายฉันท์บทหนึ่ง ไปยังฉันท์บทจะแต่งต่อไป ในลักษณะเช่นนี้ เรียกว่าสัมผัสทั้งนั้น มีบังคับไว้เฉพาะสัมผัสระหว่างวรรคในฉันท์บทเดียวกัน และในฉันท์ต่างบท (ดูแผนผังประกอบ) และสัมผัสชนิดที่เรียกว่าสัมผัสนอก ส่วนการสัมผัสในวรรคเดียวกัน ก็ย่อมสัมผัสได้ แต่มิได้กำหนดไว้

สัมผัสต่างบท

ในเมื่อแต่งฉันท์จบบทหนึ่งแล้ว จะแต่งฉันท์ชื่อเดิมนั้นต่อไป หรือจะแต่งฉันท์ชื่ออื่น หรือจะแต่งกาพย์ต่อไป จะต้องส่งสัมผัสจากคำสุดท้ายของบทที่แต่งจบ ไปยังบทถัดไปในฉันท์ชื่อเดียวกัน หรือในฉันท์ชื่ออื่น หรือในกาพย์ที่จะแต่งต่อไป เช่นเดียวกับการแต่งกลอน แม้จะส่งให้กาพย์หรือคำสัมผัสจากกาพย์ มีวิธีปฏิบัติดังนี้

  1. การส่ง จะต้องส่งจากคำสุดท้ายของฉันท์บทที่แต่งจบลง โดยส่งสัมผัสสระหรือสัมผัสแม่ต่าง ๆ เพื่อให้บทต่อไปรับ ส่วนการรับนั้น มีรายละเอียดดังจะกล่าวต่อไป
     

  2. การรับ การรับสัมผัสจากฉันท์ หรือกาพย์บทอื่นที่ส่งให้ต้องยึดตามลักษณะของฉันท์หรือกาพย์ที่รับ ดังนี้

  • ฉันท์ที่มีลักษณะ ๒ บาท ๆ ละ ๒ วรรค ต้องรับด้วยคำสุดท้ายของบาทที่ ๑ คือคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒

  • ฉันท์ที่มีลักษณะเป็น ๓ วรรค ต้องรับด้วยคำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ และคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ แม้กาพย์ก็มีลักษณะอย่างนี้ ก็รับอย่างเดียวกัน

  • ฉันท์ที่มี ๔ บาท ๆ ละ ๑๐ คำ ต้องรับด้วยคำสุดท้ายของบาทที่ ๒

  • ฉันท์ที่มี ๒ บาท ๆ ละ ๑๐ คำ ต้องรับด้วยคำสุดท้ายของบาทที่ ๒

  • ฉันท์ที่มี ๔ บาท ๆ ละ ๖ – ๙ คำ ต้องรับด้วยคำสุดท้ายของบาทที่ ๒

  • ฉันท์ที่มี ๔ บาท ๆ ละ ๒ วรรค ต้องรับด้วยคำสุดท้ายของบาทที่ ๒ คือคำสุดท้ายของวรรคที่ ๔ แม้สุรางคนางค์ฉันท์ ๒๘ ก็ยึดถือตามนี้

คณะฉันท์
ครุและลหุ
ศัพท์ลอย
ยัติภังค์
สัมผัส

- ตนุมัชฌาฉันท์ ๖
- กุมารลลิตาฉันท์ ๗
- จิตรปทาฉันท์ ๘
- วิชชุมมาลาฉันท์ ๘
- มาณวกฉันท์ ๘
- สมานิกาฉันท์ ๘
- ปมาณิกาฉันท์ ๘
- หลมุขีฉันท์ ๙
- ภุชคสุสุสฏาฉันท์ ๙
- สุทธวิราชิตฉันท์ ๑๐
- ปณวฉันท์ ๑๐
- รุมมวดีฉันท์ ๑๐
- มัตตาฉันท์ ๑๐
- จัมปกมาลาฉันท์ ๑๐
- มโนรมาฉันท์ ๑๐
- อุพภาสกฉันท์ ๑๐
- อุปัฏฐิตาฉันท์ ๑๑
- อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
- อุเปนทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
- อุปชาติฉันท์ ๑๑
- สุมุขีฉันท์ ๑๑
- โทธกฉันท์ ๑๑
- สาลินีฉันท์ ๑๑
- วาโตมมีฉันท์ ๑๑
- สิรีฉันท์ ๑๑
- รโถทธฏาฉันท์ ๑๑
- สวาคตาฉันท์ ๑๑
- ภัททิกาฉันท์ ๑๑
- อินทรวงศ์ฉันท์ ๑๒
- วังสัฏฐฉันท์ ๑๒
- โตฎกฉันท์ ๑๒
- ทุตวิลัมพิตฉันท์ ๑๒
- ปุฏฉันท์ ๑๒
- กุสุมวิจิตตาฉันท์ ๑๒
- ภุชงคประยาตฉันท์ ๑๒
- ปิยังวทาฉันท์ ๑๒
- ลลิตาฉันท์ ๑๒
- ปมิตักขราฉันท์ ๑๒
- อุชชลาฉันท์ ๑๒
- เวสสเทวีฉันท์ ๑๒
- ตามรสฉันท์ ๑๒
- กมลาฉันท์ ๑๒
- ปหัสสิณีฉันท์ ๑๓
- รุจิราฉันท์ ๑๓
- อปราชิตาฉันท์ ๑๔
- ปหรณกลิกาฉันท์ ๑๔
- วสันตดิลกฉันท์ ๑๔
- สสิกลาฉันท์ ๑๕
- มณิคุณนิกรฉันท์ ๑๕
- มาลินีฉันท์ ๑๕
- ปภัททกฉันท์ ๑๕
- วาณินีฉันท์ ๑๖
- ปัฐยาวัตรฉันท์ ๑๖
- จปลาวัตตฉันท์ ๑๖
- วัตตฉันท์ ๑๖
- สิขริณีฉันท์ ๑๗
- หริณีฉันท์ ๑๗
- มันทักกันตาฉันท์ ๑๗
- กุสุมิตลตาเวลลิตาฉันท์ ๑๘
- เมฆวิปผุชชิตาฉันท์ ๑๙
- สัททูลวิกกีฬิตฉันท์ ๑๙
- วุตตฉันท์ ๒๐
- เวควดีฉันท์ ๒๑
- เกตุมดีฉันท์ ๒๑
- ภัททวิราชฉันท์ ๒๑
- สัทธราฉันท์ ๒๑
- ภัททกฉันท์ ๒๒
- อุปจิตตฉันท์ ๒๒
- อาขยานกีฉันท์ ๒๒
- วิปริตาขยานกีฉันท์ ๒๒
- ทุตมัชฌาฉันท์ ๒๓
- หริณปลุตาฉันท์ ๒๓
- อปรวัตตฉันท์ ๒๓
- ปิงคลวิปุลาฉันท์ ๒๔
- ปุปผิตัคคาฉันท์ ๒๕
- ยวมดีฉันท์ ๒๕
- นการวิปุลาฉันท์ ๓๒
- ตการวิปุลาฉันท์ ๓๒
- ภการวิปุลาฉันท์ ๓๒
- รการวิปุลาฉันท์ ๓๒
- วิปรีตปัฐยาวัตรฉันท์ ๓๒
- อุปัฏฐิตาฉันท์ ๑๐
- อินทรลีลาศฉันท์ ๑๑
- อุปชาติฉันท์ ๑๒
- อินทรวงศลีลาศฉันท์ ๑๒
- เหมันตดิลกฉันท์ ๑๓
- ติลกัฏฐฉันท์ ๑๓
- อุปชาติฉันท์ ๑๓
- เหมันตลีลาศฉันท์ ๑๓
- อุปดิลกฉันท์ ๑๔
- อุปชาติฉันท์ ๑๔
- วสันตลีลาศฉันท์ ๑๔
- สุรางคนางค์ฉันท์ ๒๘

โวหาร
ประเภทกวีนิพนธ์
ฉันทลักษณ์
สระ
พยัญชนะ
เครื่องประกอบอื่น
การอ่านคำประพันธ์
ร่าย
กาพย์
กลอน
โคลง
ฉันท์

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย