วรรณกรรม สุภาษิต ข้อคิด คำคม สำนวน โวหาร งานเขียน >>

กวีนิพนธ์

(ร่าย กาพย์ กลอน โคลง ฉันท์)

ฉันท์

คณะฉันท์

คำที่เกิดขึ้นจากพยัญชนะผสมกับสระซึ่งเรียกว่า แม่ ก กา ก็ดี คำที่ผสมกับพยัญชนะซึ่งจัดเป็นมาตราหรือแม่ เช่น แม่กก แม่กด เป็นต้นก็ดี เรียกว่า คำ หรือ พยางค์ คำหรือพยางค์นั้น จะเป็นเสียงสั้นหรือเสียงยาวก็ตาม เมื่อกันเข้าได้ ๓ คำ จัดเป็นคณะฉันท์คณะหนึ่ง ในวรรณพฤติ แต่ในมาตราพฤติ ม คณะมีเพียง ๒ คำ น คณะมีถึง ๔ คำ อีก ๖ คณะมีจำนวนคำเท่ากับวรรณพฤติ คณะฉันท์ทั้งในวรรณพฤติและในมาตราพฤติ มี ๘ คณะ กำหนดชื่อสั้น ๆ อย่างเดียวกัน ซึ่งย่อมาจากคำหลักที่สำคัญ โดยย่อเอาจากสิ่งที่พราหมณ์เคารพบูชา ดังนี้

ย คณะ ย่อมาจากคำว่า ยชมานะ (พราหมห์บูชายัญ)
ร คณะ ย่อมาจากคำว่า รวิ (พระอาทิตย์)
ส คณะ ย่อมาจากคำว่า โสมะ (พระจันทร์)
ภ คณะ ย่อมาจากคำว่า ภูมิ (แผ่นดิน)
ช คณะ ย่อมาจากคำว่า ชลนะ (ไฟ)
น คณะ ย่อมาจากคำว่า นภะ (ฟ้า)
ต คณะ ย่อมาจากคำว่า โตยะ (น้ำ)
ม คณะ ย่อมาจากคำว่า มารุตะ (ลม)

แต่ในอธิการนี้ จะกล่าวเฉพาะคณะฉันท์ในวรรณพฤติเท่านั้น โดยที่ในคัมภีร์ฉันทวุตติปทีป ท่านยกเป็นคำหลักไว้ว่า

สพฺพญฺญู โม สุมุนิ โน
สุคโต โส มุนินฺท โช
มาราริ โต มารชิ โภ
นายโก โร มเหสี โย

ถือเอาความว่า

ม คณะ เป็นครุล้วน น คณะ เป็นลหุล้วน
ส คณะ มีลหุอยู่หน้าสองคำ ช คณะ มีครุตัวเดียวอยู่กลาง
ต คณะ มีลหุตัวเดียวอยู่ท้าย ภ คณะ มีลหุสองตัวอยู่ท้าย
ร คณะ มีลหุตัวเดียวอยู่กลาง ย คณะ มีลหุตัวเดียวอยู่หน้า

คำว่า สพฺพญฺญู โม เป็นต้น ต้องท่องจำให้ขึ้นใจและศึกษาความหมายให้เข้าใจอย่างแจ่มแจ้งชัดเจน

อนึ่ง นักปราชญ์โบราณท่านแต่งเป็นโคลงสุภาพไว้ว่า

ม น ครุ อุ ล้วน ดับกัน
ภ ย ครุ อุ สรรค์ เสกหน้า
ช ร ครุ อุ พลัน เนาท่าม กลางนา
ส ต ครุ อุ อ้า ว่าไว้หนหลัง

รูปแบบคณะฉันท์

คณะฉันท์ทั้ง ๘ คณะนั้น ถ้าวางให้เป็นรูป จะได้รูปแบบดังนี้

คณะฉันท์
ครุและลหุ
ศัพท์ลอย
ยัติภังค์
สัมผัส

- ตนุมัชฌาฉันท์ ๖
- กุมารลลิตาฉันท์ ๗
- จิตรปทาฉันท์ ๘
- วิชชุมมาลาฉันท์ ๘
- มาณวกฉันท์ ๘
- สมานิกาฉันท์ ๘
- ปมาณิกาฉันท์ ๘
- หลมุขีฉันท์ ๙
- ภุชคสุสุสฏาฉันท์ ๙
- สุทธวิราชิตฉันท์ ๑๐
- ปณวฉันท์ ๑๐
- รุมมวดีฉันท์ ๑๐
- มัตตาฉันท์ ๑๐
- จัมปกมาลาฉันท์ ๑๐
- มโนรมาฉันท์ ๑๐
- อุพภาสกฉันท์ ๑๐
- อุปัฏฐิตาฉันท์ ๑๑
- อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
- อุเปนทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
- อุปชาติฉันท์ ๑๑
- สุมุขีฉันท์ ๑๑
- โทธกฉันท์ ๑๑
- สาลินีฉันท์ ๑๑
- วาโตมมีฉันท์ ๑๑
- สิรีฉันท์ ๑๑
- รโถทธฏาฉันท์ ๑๑
- สวาคตาฉันท์ ๑๑
- ภัททิกาฉันท์ ๑๑
- อินทรวงศ์ฉันท์ ๑๒
- วังสัฏฐฉันท์ ๑๒
- โตฎกฉันท์ ๑๒
- ทุตวิลัมพิตฉันท์ ๑๒
- ปุฏฉันท์ ๑๒
- กุสุมวิจิตตาฉันท์ ๑๒
- ภุชงคประยาตฉันท์ ๑๒
- ปิยังวทาฉันท์ ๑๒
- ลลิตาฉันท์ ๑๒
- ปมิตักขราฉันท์ ๑๒
- อุชชลาฉันท์ ๑๒
- เวสสเทวีฉันท์ ๑๒
- ตามรสฉันท์ ๑๒
- กมลาฉันท์ ๑๒
- ปหัสสิณีฉันท์ ๑๓
- รุจิราฉันท์ ๑๓
- อปราชิตาฉันท์ ๑๔
- ปหรณกลิกาฉันท์ ๑๔
- วสันตดิลกฉันท์ ๑๔
- สสิกลาฉันท์ ๑๕
- มณิคุณนิกรฉันท์ ๑๕
- มาลินีฉันท์ ๑๕
- ปภัททกฉันท์ ๑๕
- วาณินีฉันท์ ๑๖
- ปัฐยาวัตรฉันท์ ๑๖
- จปลาวัตตฉันท์ ๑๖
- วัตตฉันท์ ๑๖
- สิขริณีฉันท์ ๑๗
- หริณีฉันท์ ๑๗
- มันทักกันตาฉันท์ ๑๗
- กุสุมิตลตาเวลลิตาฉันท์ ๑๘
- เมฆวิปผุชชิตาฉันท์ ๑๙
- สัททูลวิกกีฬิตฉันท์ ๑๙
- วุตตฉันท์ ๒๐
- เวควดีฉันท์ ๒๑
- เกตุมดีฉันท์ ๒๑
- ภัททวิราชฉันท์ ๒๑
- สัทธราฉันท์ ๒๑
- ภัททกฉันท์ ๒๒
- อุปจิตตฉันท์ ๒๒
- อาขยานกีฉันท์ ๒๒
- วิปริตาขยานกีฉันท์ ๒๒
- ทุตมัชฌาฉันท์ ๒๓
- หริณปลุตาฉันท์ ๒๓
- อปรวัตตฉันท์ ๒๓
- ปิงคลวิปุลาฉันท์ ๒๔
- ปุปผิตัคคาฉันท์ ๒๕
- ยวมดีฉันท์ ๒๕
- นการวิปุลาฉันท์ ๓๒
- ตการวิปุลาฉันท์ ๓๒
- ภการวิปุลาฉันท์ ๓๒
- รการวิปุลาฉันท์ ๓๒
- วิปรีตปัฐยาวัตรฉันท์ ๓๒
- อุปัฏฐิตาฉันท์ ๑๐
- อินทรลีลาศฉันท์ ๑๑
- อุปชาติฉันท์ ๑๒
- อินทรวงศลีลาศฉันท์ ๑๒
- เหมันตดิลกฉันท์ ๑๓
- ติลกัฏฐฉันท์ ๑๓
- อุปชาติฉันท์ ๑๓
- เหมันตลีลาศฉันท์ ๑๓
- อุปดิลกฉันท์ ๑๔
- อุปชาติฉันท์ ๑๔
- วสันตลีลาศฉันท์ ๑๔
- สุรางคนางค์ฉันท์ ๒๘

โวหาร
ประเภทกวีนิพนธ์
ฉันทลักษณ์
สระ
พยัญชนะ
เครื่องประกอบอื่น
การอ่านคำประพันธ์
ร่าย
กาพย์
กลอน
โคลง
ฉันท์

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย