วรรณกรรม สุภาษิต ข้อคิด คำคม สำนวน โวหาร งานเขียน >>
(ร่าย กาพย์ กลอน โคลง ฉันท์)
ร่าย
ร่ายสุภาพ
ร่ายสุภาพ เห็นจะมีความไพเราะเพราะพริ้งกว่าร่ายอื่น มีข้อกำหนดดังนี้ จำนวนคำที่ใช้ วรรคหนึ่ง ๕ คำ เกินกว่านั้นก็ได้ แต่ไม่ควรเกิน ๗ คำ หากจะเกิน ๗ คำ ควรจะเป็นคำผสม หรืออสาธารณนามที่สำคัญ ความยาวสั้นไม่บังคับ แต่ต้องจบลงด้วยโคลง ๒ สุภาพ การส่งสัมผัส คำสุดท้ายของวรรคแรกส่งไปยังคำที่ ๑, ๒ หรือ ๓ ของวรรคต่อไป โดยถ้าส่งด้วยคำที่ลงวรรณยุกต์ ก็ต้องรับด้วยคำที่ลงวรรณยุกต์ให้ตรงกัน ถ้าส่งด้วยคำหนักหรือเบา ก็ต้องรับโดยคำหนักหรือเบาให้ตรงตามคำส่ง คำสร้อย โดยปกติมีคำสร้อยตามลักษณะของโคลง ๒ สุภาพ จะมีหรือไม่ก็ได้ หรือจะมีสร้อยสลับไปทุกวรรคแต่ต้นจนจบก็ได้ ซึ่งสร้อยแบบนี้ เรียกว่า สร้อยสลับวรรค เห็นปรากฏในลิลิตที่แต่งแต่โบราณอยู่ มีแผนผังและตัวอย่าง ดังนี้
ตัวอย่าง
ฉันทลักษณ์ร่ายสุภาพ บอกให้ทราบงามผ่องภัสร์ ข้อบัญญัติงามล้ำค่า โปรดทราบว่าเกณฑ์มี เป็นของดีเลิศค่านัก ยึดเป็นหลักแต่งแต้ม ความอรรถชัดแฉล้ม เหมาะแท้ควรใจ แท้แล
จังหวะ ๓+๒ ๓+๒ ต่อไปก็ ๓+๒ ตลอด แต่ ๓ วรรคสุดท้ายต้องจังหวะ ๓+๒ ๓+๒ ๒+๒+(๒) ตามแบบโคลง ๒ สุภาพ
ร่ายสุภาพ
ร่ายโบราณ
ร่ายดั้น
ร่ายยาว
โวหาร
ประเภทกวีนิพนธ์
ฉันทลักษณ์
สระ
พยัญชนะ
เครื่องประกอบอื่น
การอ่านคำประพันธ์
ร่าย
กาพย์
กลอน
โคลง
ฉันท์