สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
เงิน
เงินกับระบบธนาคาร( Money and Banking Systemy )
จากเหตุผลที่ว่า มนุษย์ไม่สามารถผลิตสิ่งของที่ตนต้องการได้ทุกอย่าง จึงจำเป็นต้องเลือกผลิตเฉพาะสิ่งที่ตนมีความต้องการ แล้วนำไปแลกเปลี่ยนกับสิ่งของที่บุคคลอื่นผลิตขึ้น เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งของที่ต้องการ เรียกว่าระบบการแลกเปลี่ยนสิ่งของต่อสิ่งของหรือการแลกเปลี่ยนสินค้ากับสินค้า ( Barter System ) ต่อมาได้ใช้สิ่งของเป็นสื่อ ( Commodity ) เช่น เปลือกหอย ผ้าขนสัตว์ หนังสัตว์ เกลือ ใบชา ใบยาสูบ ฯลฯ สำหรับทำการแลกเปลี่ยน จนกระทั่งมนุษย์ได้ก้าวเข้ามาสู่ยุคของการใช้เงิน ( Money ) และเครดิต ( Credit ) เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการจนถึงทุกวันนี้
วิวัฒนาการของระบบเศรษฐกิจและการเงิน
1. ระยะที่ใช้สิ่งของต่อสิ่งของหรือสินค้ากับสินค้าแลกเปลี่ยน ( Baeter Economy )
เป็นระบบเศรษฐกิจที่นำสิ่งของต่อสิ่งของ หรือสินค้ากับสินค้ามาทำการแลกเปลี่ยนกัน เช่น นายแช่ม ต้องการไก่ จึงนำหมูไปแลกกับนายชวน ปรากฏว่านายชวน ไม่ต้องการหมู หรืออาจจะต้องการหมู แต่มูลค่าของมีมากกว่าไก่ การแลกเปลี่ยนจึงมีข้อจำกัด และไม่สะดวกเพราะว่าความต้องการไม่สอดคล้องกัน มูลค่าของสิ่งของที่แลกเปลี่ยนไม่เท่ากัน ต่อมาได้นำเอาสิ่งของ เช่น หนังสัตว์ เขาสัตว์ เปลือกหอย เกลือ ฯลฯ เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนแทนมูลค่าของสิ่งของต่อสิ่งของ หรือสินค้ากับสินค้า แต่ก็ประสบความยุ่งยาก เพราะสื่อกลางที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนมีคุณภาพเสื่อม เก็บไว้นานไม่ได้
2. ระยะที่ใช้เงินตราเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ ( Money Economy )
จากระบบการแลกเปลี่ยนสิ่งของต่อสิ่งของ และระบบใช้สิ่งของเป็นสื่อ มีข้อจำกัดและไม่สะดวกในการแลกเปลี่ยน มนุษย์จึงคิดค้นเงินตราขึ้นมาใช้เป็นสื่อกลางสำหรับทำการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ ปัจจุบันเงินตราบางสกุลมีบทบาทสำคัญ ในระบบเศรษฐกิจแบบเสรี การเปลี่ยนแปลงค่าของเงินตราบางสกุล เช่น ดอลล่าร์ มาร์คเยอรมัน เงินเยน ของญี่ปุ่น มีผลกระทบกระเทือนภาวะเศรษฐกิจของประเทศอื่น ๆ อย่างกว้างขวาง ถ้าประเทศนั้นทำการค้าขายซึ่งกันและกัน และนำเงินไปผูกไว้กับเงินสกุลนั้น ๆ ที่ทำการเปลี่ยนแปลง เช่น ประเทศไทย นำเงินบาทไปอิงหรือไปผูกไว้กับ เงินสกุลดอลล่าร์ของสหรัฐอเมริกากระเทศทั้งสองทำการค้ากัน เมื่อดอลล่าร์เพิ่มค่าขึ้น มีผลทำให้เงินสกุลบาทต้องลดค่าลงมาซึ่งจะกล่าวถึงในเรื่องดุลการชำระเงิน และดุลการค้า ระยะที่ใช้เครดิตเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ ( Credit Economy )เศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรม ขยายตัวเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ละครั้ง มีการซื้อขายกันเป็นจำนวนมาก ไม่สะดวกและปลอดภัยที่จะนำเงินติดตัวไปเป็นจำนวนมาก จึงมีผู้นำเครดิตหรือความเชื่อถือมาใช้ในการซื้อขายสินค้าและบริการ โดยผ่านระบบธนาคาร เช่นใช้ระบบเช็ค ระบบบัตรเครดิต หรือบัตรเอนกประสงค์
ความหมายของเงิน
1. เงินคือสิ่งที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางในการชำระค่าสินค้า
หรือในการปลดเปลื้องพันธะทางธุรกิจอย่างอื่น ๆ
2.
เงินเป็นทรัพย์สินที่เจ้าของสามารถใช้ชำระหนี้สินจำนวนใดจำนวนหนึ่งได้อยน่างแน่นอนและโดยไม่ล่าช้า
ถึงแม้ว่าจะเป็นการติดต่อกับผู้ที่ตนไม่รู้จัก
3. เงินคือสิ่งที่ทำหน้าที่เป้นเครื่องวัดทั่วไป เพื่อทราบราคาสินค้า
หน้าที่และความสำคัญของเงินคือ การใช้เงินเป็นเกณฑ์ในการวัด
ซึ่งจะช่วยให้ทราบค่าของสิ่งที่ใช้แลกเปลี่ยนกันได้
4. เงินคืออะไรก็ได้ที่คนทั่วไปในสังคมนั้นยอมรับว่า
เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนขณะนั้น
5. เงินเป็นสิ่งที่มีราคากำหนดไว้ตายตัว เป็นหน่วยเงิรตรา
และเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปภายในสังคมหนึ่ง เพื่อชำระหนี้หรือสินค้าและบริการ
6. เงินหมายถึงเหรียญกษาปณ์ ธนบัตร และเงินฝากเผื่อเรียก
ซึ่งเป้นสิ่งที่ประชาชนโดยทั่วไปยิมรับชำระหนี้ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนด้วย
ลักษณะของเงินที่ดี
1. เป็นสิ่งที่ทุกคนยอมรับกันโดยทั่วไป เช่น ยอมรับเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
2. มีสภาพคงทนถาวรพอสมควร เช่น ไม่เสื่อมคุณภาพได้ง่าย
3. สามารถแบ่งแยกออกมาเป็นหน่วยย่อย ๆ ได้ เช่น เงินบาท แบ่งออกเป็นใบละ 10 บาท 20
บาท 100 บาท ทำให้มูลค่าแต่ละหน่วยต่างกัน
4. มีความสะดวกที่สามารถพกพาไปในที่ค่าง ๆ ได้
มีขนาดพอสมควรในการนำไปตามสถานที่ต่าง ๆ
5. เป็นสิ่งหายาก สิ่งของที่นำใช้ทำต้องมีค่าสูงพอสมควร
6. มีเสถียรภาพในคุณค่า ค่าของเงินจะต้องคงที่ไม่ขึ้นลงรวดเร็ว
7. มีลักษณะที่เหมือนกัน สิ่งของที่ใช้ทำจะต้องมีคุณภาพเหมือนกัน เช่น เงินบาทใบละ
10 บาท กระดาษที่ใช้ทำต้องมีคุณภาพเหมือนกันทุกใบ
8. เป็นสิ่งที่เห็นแล้วทุกคนจำได้ทันทีว่าเป็นเงินดีหรือเงินปลอม
ถ้าไม่ทราบในระยะเวลานั้น ต่อไปก็ต้องทราบแน่นอน
9. เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องแสวงหาอยากได้ ในระบบเศรษฐกิจแบบเสรี
หน้าที่ของเงิน
เงินจะทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสมบูรณ์ จะต้องเป็นไปในลักษณะของเงินที่ดีด้วย
1. เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
เงินจะทำหน้าที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ
และช่วยให้ผู้ถือเงินซื้อสินค้าและบริการ ณ
เวลาใดก็ได้ตามข้อตกลงระหว่างผู้ซื้อและขาย
2. เงินเป็นเครี่องมือที่ใช้วัดมูลค่า
เงินเป็นมาตรฐานที่ใช้วัดมูลค่าของสินค้าและบริการและเงินยังเป็นหน่วยที่แสดงมูลค่าออกมาเป็นตัวเงินทั้งหมด
3. เงินเป็นเครื่องมือที่ใช้ชำระหนี้ในอาณาคต
เงินจะช่วยอำนวยความสะดวกในการชำระหนี้จากปัจจุบันไปสู่อนาคตได้
4. เงินเป็นเครื่องมือรักษามูลค่า
เงินเป็นสิ่งที่อำนวยความสะดวกในการเก็บมูลค่าของการสะสมทรัพย์
เพราะเงินเป็นสิ่งที่มีอำนาจในการซื้อ
ชนิดของเงิน
ชนิดของเงินแบ่งตามสภาพของสิ่งของที่นำมาผลิตเงิน แบ่งตามแหล่งที่ผลิตเงินหรือสถาบันการเงิน เช่นธนาคารชาติ ธนาคารพาณิชย์ แบ่งตามความสัมพันธ์ระหว่างมูลค่าของเงินกับเงิน และมูลค่าของสินค้าหรือบริการกับเงิน จำแนกชนิดของเงินออกเป็น 3 ชนิด
1. เงินเหรียญกษาปณ์ ทำจากโลหะหลายชนิดเช่น ทองคำ โลหะเงิน ดีบุก นิเกิ้ล
เป็นต้น
2. เงินกระดาษ ทำจากวัสดุที่เป็นกระดาษ
3. เงินฝากในระบบบัญชีธนาคาร
เงินฝากในระบบบัญชีธนาคารเป็นการสัญญาว่าผู้มีอำนาจเต็มของธนาคาร
ปริมาณของเงิน
ความหมายปริมาณของเงินทั้งหมด คือปริมาณแห่งธนบัตร และเหรียญกษาปณ์
ตลอดทั้งเงินฝาก
กระแสรายวันทั้งหมด นำออกมาใช้หมุนเวียนอยู่ในมือของมหาชน ขณะใดขณะหนึ่ง
โดยไม่นับรวมกับปริมาณการเงินที่อญุ่นระบบธนาคาร
เงินที่อยู่ในมือของรัฐเพราะปริมาณเงินเหล่าไม่ได้ออกมาใช้หมุนเวียน
วัตถุประสงค์ในการจัดทำงบประมาณประจำปี
1. เพื่อจักสรรการใช้ทรัพยากรของประเทศให้เกิดผลประโยชน์มากที่สุด
2. เพื่อลดความไม่เท่าเทียมของรายได้ของบุคคลแต่ละกลุ่มให้มีน้อยที่สุด
3. เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและรายได้ให้อยู่ในระดับสุง
และมิให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ ภาวะเงินฝืด
4. เพื่อส่งเสริมให้มีการจ้างงานอย่างเต็มที่
เป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่ตนเองและสังคม
แหล่งที่มาของงบประมาณรายได้
1. ภาษีอากร เป็นรายได้ส่วนใหญ่ของงบประมาณ
2. รายได้จากกาขายสิ่งของหรือบริการ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าเช่าทรัพย์สิน
3. รายได้จากรัฐวิสาหกิจ
4. รายได้จากค่าปรับ
5. เงินกู้จากภายในประเทศ
6. เงินกู้จากภายนอกประเทศ
7. เงินคงคลังเหลือใช้จาก งบประมาณปีก่อน
ข้อมูลจาก
http://www.wt.ac.th/~kanjana/work/work2/