สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้ >>

สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ

ส้วม (สิ่งปฏิกูลจากคน)

สิ่งขับถ่ายหรืออุจจาระจากคน เป็นของเสียที่ก่อให้เกิดปัญหาทางด้านสาธารณสุขเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะมีกลิ่นเหม็นเป็นที่น่ารังเกียจแล้วยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค ได้แก่ โรคอุจจาระร่วงอย่างแรง(อหิวาตกโรค) ไทฟอยด์ บิด ท้องร่วง และเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงนำโรค เช่น แมลงวัน อีกด้วย ฉะนั้นจึงต้องมีการกำจัดอุจจาระให้ถูกวิธีโดยการสร้างส้วมที่ถูกหลักการสุขาภิบาล

ประเภท / ชนิดของส้วม ปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ส้วมราดน้ำหรือส้วมซึม (นั่งยอง) และส้วมชักโครก (นั่งราบ)

ประโยชน์ของส้วมที่ถูกหลักการสุขาภิบาล

1. ช่วยลดอัตราการระบาดของโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร
2. ช่วยลดแหล่งเพาะพันธุ์พาหะนำโรค
3. ช่วยป้องกันกลิ่นและทัศนียภาพที่ไม่น่าดู
4. ช่วยป้องกันปัญหาดินและน้ำสกปรก(การปนเปื้อน)
5. ทำให้เกิดความสะดวกสบาย และแสดงถึงวัฒนธรรมอันดีงาม

ลักษณะของส้วมที่ถูกหลักการสุขาภิบาล

1. ไม่มีกลิ่น
2. น้ำไม่ขังบริเวณส้วม
3. พื้นส้วมเป็นคอนกรีตหรือวัสดุที่ทำความสะอาดได้ง่าย
4. มีการระบายอากาศภายในส้วมที่ดี
5. มีภาชนะสำหรับราดส้วมและมีภาชนะตักน้ำ รวมทั้งสบู่สำหรับบางมือด้วย
6. ตัวเรือนส้วมควรสูงอย่างน้อย 2 เมตร กว้าง 1.5 เมตร

การเลือกสถานที่สร้างส้วม

1. ควรห่างจากแหล่งน้ำดื่มน้ำใช้ (บ่อน้ำ แม่น้ำลำคลอง) 30 เมตรเพื่อไม่ให้เชื้อโรคจากอุจจาระซึมไปถึง
2. อยู่ใต้ทิศทางลม
3. เป็นที่ดอน น้ำท่วมไม่ถึง

พฤติกรรมการใช้ส้วม (โดยเฉพาะอย่างยิ่งส้วมซึม)

1. ราดโถส้วมก่อนถ่ายอุจจาระทุกครั้งเพื่อไม่ให้อุจจาระติดอยู่ที่โถส้วม
2. ถ่ายลงในตรงกลางช่อง
3. ใช้น้ำชำระหลังจากถ่ายอุจจาระแล้ว
4. ราดน้ำจนอุจจาระลงหมด
5. ล้างมือด้วยสบู่ทุกครั้งหลังใช้ส้วมแล้ว

การบำรุงรักษาส้วม

1.หมั่นทำความสะอาดส้วมให้สะอาดอยู่เสมอ
2 ระวังอย่าให้น้ำสบู่หรือผงซักฟอกลงในส้วม เพราะสารเคมีที่ลงไป
อาจจะทำลาย เชื้อจุลินทรีย์
3. ที่ย่อยสลายอุจจาระได้ ซึ่งจะมีผลทำให้ส้วมเต็มเร็ว
4. อย่าให้น้ำขังบริเวณส้วม

น้ำเสีย

หมายถึง น้ำทิ้งจากห้องน้ำ ห้องส้วม ห้องครัว น้ำทิ้งจากการซักล้าง การทำความสะอาดบ้านเรือน และกิจกรรมอื่นๆ ที่ทำให้เกิดน้ำเสีย
ประเภท / ชนิดของน้ำเสีย ได้แก่ น้ำเสียจากครัวเรือน และน้ำเสียจากกิจการ /อาคารใหญ่ๆ เช่น โรงพยาบาล โรงงาน โรงแรม ร้านอาหาร และสถานที่ต่างๆ เป็นต้น ซึ่งในแต่ละแห่งจะมีน้ำเสียออกมาในปริมาณและลักษณะที่แตกต่างกันตามแหล่งที่มา

การกำจัดน้ำเสีย โดยทั่วไปมีหลายวิธี ซึ่งสำหรับบ้านเรือนในชนบทจะมีปริมาณไม่มากนัก วิธีที่จำนำมาใช้ในการกำจัดได้อย่างเหมาะสมควรเป็นวิธีที่ก่อสร้างและดูแลรักษาง่าย วิธีดังกล่าวได้แก่ หลุมซึม (ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.60 เมตร ลึก 0.95 เมตร ใส่วงขอบขนาด 0.80 เมตร ยารอยต่อระหว่างวงขอบ ใส่หินหรืออิฐหักหรือกรวดที่ก้นหลุมสูงประมาณ 0.40 เมตร มีฝาปิด) ส่วนน้ำเสียจากกิจการ / อาคารใหญ่ จะมีระบบบำบัดโดยเฉพาะ เช่น บ่อเติมออกซิเจน (Oxidation pond) คลองวนเวียน (Oxidation dicth) และบ่อดักไขมัน สำหรับร้านอาหาร เป็นต้น

ที่มาข้อมูล กรมอนามัย โทร 0-2590-4257

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย