ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม >>

เพลงพื้นบ้าน

นายบุญเสริม แก่นประกอบ ครู โรงเรียนบ้านชงโค

ลักษณะของเพลงพื้นบ้าน

เพลงพื้นบ้านโดยทั่วไปมีลักษณะเด่น คือ

1.การร้องเล่นไม่ต้องใช้อุปกรณ์ประกอบมากมาย อาจใช้เพียงการปรบมือ ใช้ฉิ่งกรับ โทน ในบางครั้ง ไม่มีข้อบังคับ

2.การแต่งกายแบบพื้นบ้าน

3.ฉันทลักษณ์ ของเพลงพื้นบ้านอาจมีตั้งแต่ 1-18 คำ ไม่แน่นอน มีลักษณะคล้องจองกันแต่ไม่ยึดถือว่าเป็นฉันทลักษณ์ของกลอน หรือคำประพันธ์ชนิดใด

4.นิยมใช้กลอนที่ลงท้ายด้วยสระเดียวกัน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กลอนหัวเดียว เช่น เสียงใครมาเรียกแม่ตั้งแต่เช้า จะธุระเรื่องราว ก็ อะไร (กลอนไร)พอเรียกก็ขาน แต่พอวานก็เอ่ย หนูน้องไม่นิ่งกันทำเฉย ให้มันช้า(กลอนลา)อันเป็นการง่ายต่อการใส่ทำนองดนตรี

5.มีการใช้คำ สำนวนไทยที่เรียบง่ายในเพลงพื้นบ้าน ไม่มีศัพท์ยาก บางโอกาสจะมีนัยแฝงอยู่

6.มีคำ สำนวน ตลกขบขัน มีสำนวนเสียดสีด้านสังคมทุกระดับตั้งแต่ระดับท้องถิ่นไปถึงระดับชาติ

7.มีการตัดเติมเสริมความ เช่นในการร้องโต้ตอบกันระหว่างผู้เล่นสองฝ่ายซึ่งอาศัยไหวพริบปฎิภาณ เพื่อความรวดเร็วไม่ให้การเล่นหยุดชะงัก จึงอาจตัดความ เสริมความเพื่อให้พอดีกับจังหวะ โอกาส และเวลา

8.สอดแทรกวิถีชีวิตชาวบ้าน ความเชื่อ ค่านิยม ประเพณีวัฒนธรรมอยู่มาก

9.มีการใช้สำนวนสูตรสำเร็จ เช่น ขึ้นต้นอย่างนี้แล้วจะต้องต่ออย่างนั้น ตัวอย่าง “ขอให้ขึ้นคล่องและลงคล่อง” หรือ “จะต้องต่อว่า”อย่างกับช่องน้ำไหล”

10.ไม่ปรากฎหลักฐานว่า มีต้นกำเนิดจากใคร ที่ไหน ดังนั้น การจะถามถึงที่มาจะบอกว่า จำสืบต่อกันมาหรือ มาจากครูพักลักจำ

ลักษณะเนื้อร้องเพลงพื้นบ้าน

เนื้อร้องและทำนองของเพลงพื้นบ้าน ไม่มีระเบียบแบบแผนว่าจะต้องใช้เสียงใด สูงต่ำแค่ไหน ในแต่ละท้องถิ่นจะประดิษฐ์แบบแผนการร้องของตนไปตามความนิยม ส่วนมากเป็นการเกี้ยวพาราสี หรือการซักถามโต้ตอบกันระหว่างพ่อเพลงกับแม่เพลง ความดีเด่นของเพลงพื้นบ้านอยู่ที่ความไพเราะของคารมหรือถ้อยคำที่ง่ายๆ แต่มีความหมายกินใจ และไหวพริบปฏิภาณในการร้องกล่าวแก้กัน

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย