เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
ผักหวานป่า
ศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติ สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
ผักหวานป่าเป็นพืชในวงศ์ Opiliaceae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Melientha suavis
Pierre ชาวบ้านแถวจังหวัดสุรินทร์เรียก ผักหวานชื่อที่เรียกกันทั่วไป คือ ผักหวาน
ซึ่งอาจสับสนกับผักหวานบ้านที่จะกล่าวถึงในตอนท้าย
ผักหวานป่า เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ต้นที่โตเต็มที่อาจสูงถึง 13 เมดร
แค่ที่พบโดยทั่วไปมักมีลักษะเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก หรือเป็นไม้พุ่ม
เนื่องจากมีการหักกิ่ง เด็ดยอด
เพื่อกระตุ้นให้เกิดกิ่งและยอดอ่อนซึ่งเป็นส่วนที่ใช้บริโภค
ใบของผักหวานป่าเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับกัน ใบอ่อนรูปร่างแคบรี ปลายใบแหลม
สีเขียวอมเหลือง ใบแก่เต็มที่รูปร่างรีกว้าง ถึงรูปไข่หรือรูปไข่กลับ ใบสีเขียวเข้ม
เนื้อใบกรอบ ขอบใบเรียบ ปลายใบมน ขนาดของใบประมาณ 2.5-5 ซม. x 6- 12 ซม. ก้านใบสั้น
ช่อดอกแตกกิ่งก้านคล้ายช่อดอกมะม่วงหรือลำใย และเกิดตามกิ่งแก่
หรือตามลำต้นที่ใบร่วงแล้ว ดอกมีขนาดเล็กเป็นตุ่มสีเขียวอัดกันแน่นเป็นกระจุก
ขณะที่ยังอ่อนอยู่ ผลเป็นผลเดี่ยว ติดกันเป็นพวง เหมือนช่อผลของมะไฟหรือลางสาด
แต่ละผลมีขนาดประมาณ 1.5 x 2.5 ซม. ผลอ่อนสีเขียวมีนวลเคลือบ
และเปลี่ยนเป็นสีเหลืองถึงหลืองอมส้ม เมื่อผลสุกแต่ละผลมีเมล็ดเดียว
มีพืชอีกชนิดหนึ่งอาจเรียกว่าผักหวานด้วยเช่นกัน ชนิดนี้มีชื่อใน 3-6
เมล็ดผักหวานชนิดนี้รับประทานยอดอ่อนได้เช่นเดียวกัน มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น
มะยมป่า ผักหวาน ผักหวานบ้าน ผักหวานใต้ใบ เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีพืชอีกชนิดหนึ่งที่มี
ยอดอ่อนลักษณะเหมือนยอดอ่อนของผักหวานป่ามากจนมีการเก็บผิดอยู่เสมอ
และเมื่อกินเข้าไปจะเกิดอาการเมาเบื่อ พืชนี้มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Urobotrya
siamensis hiepko คนลำปาง เรียก แกก้องหรือนางแย้ม ชาวเชียงใหม่เรียกนางจุม
จันทบุรีเรียก ผักหวานเขา กาญจนบุรีและชลบุรีเรียก ผักหวานดง สระบุรีเรียก
ผักหวานเมา หรือช้าผักหวาน ภาดอีสานเรียก เสน หรือ เสม
ส่วนทางประจวบคีรีขันธ์เรียกว่า ดีหมี อย่างไรก็ตามหากสังเกตต้นและใบที่แก่
»
การขยายพันธุ์
»
การปลูกและบำรุงรักษา
»
การกระตุ้นยอดอ่อนเพื่อเก็บจำหน่าย
»
การย้ายต้นกล้าแบบล้างราก
»
คุณค่าทางโภชนาการของผักหวานป่า
»
อาหารที่ปรุงด้วยผักหวานป่า
เอกสารประกอบการเรียบเรียง
- จินตนา ศรีศันสนีย์. 2538. ผลของวัสดุปลูกต่อการงอกและการเจริญเติบโตของผักหวานป่า, ปัญหาพิเศษปริญญาตรี ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. นครปฐม.
- นิรนาม. 2536. สัมผัสผู้ปลูกผักหวานป่าแซมลำไยเป็นพืชเศรษฐกิจรายแรกของเมืองไทย. เกษตรพัฒนา. 143: 22-25
- ยิ่งยง ไพสุขศานติวัฒนา และวันชาติ นิติพันธ์. 2537. ผลของแสงและความลึกของการเพาะต่อการงอกและการเจริญเติบโตของกล้าผักหวานป่า รายงานผลการวิจัย โครงการ KIP 17.1.36 ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม
- Hiep, N.T. 1993. Melientha suavis Pierre, In, pp. 205-206 : J.S. Siemonsma, and Kasem Piluek (eds.). PROSEA : Wageningen, Netherlands.
โครงการวิจัย KIP 17.36 : การอนุรักษ์และปลูกเลี้ยงผักพื้นบ้าน
เรียบเรียงโดย
ผศ.ดร.เกษม พิลึก
ผศ.ยิ่งยง ไพสุขศานติวัฒนา
อ.จำลอง เจียมจำนรรจา
รศ.ฉลองชัย แบบประเสริฐ
นายรักเกียรติ ชอบเกื้อ
น.ส.พินิจ กรินท์ธัญญกิจ
นายปิยะวุฒิ พูลสงวน