เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
เครื่องพ่นยา
แบบสะพายหลังชนิดสูบโยก
ส่วนประกอบและการทำงาน
เครื่องพ่นยาแบบสะพายหลังชนิดสูบโยก เป็นเครื่องพ่นยาขนาดเล็กที่นิยมใช้กันแพร่หลายแบบหนึ่ง (รูปที่ 1) เครื่องพ่นยาแบบนี้ประกอบด้วยถังน้ำยา ซึ่งวางตั้งบนพื้นได้ ทำให้การเทน้ำยาเคมีที่ใช้กำจัดศัตรูพืชลงไปในถังได้สะดวก อีกทั้งยังมีรูปร่างที่เหมาะสมสำหรับใช้สะพายหลังผู้ทีพ่นยา นอกจากนั้นยังประกอบด้วย ปั้ม ห้องเก็บความดัน ก้านฉีดพร้อมมือบีบพ่นน้ำยา และหัวฉีด
ถังน้ำยาอาจจะทำมาจากสเตนเลส ทองเหลือหรือเหล็กเคลือบสังกะสี แต่ในปัจจุบันถังที่ทำจากโลหะเหล่านี้มีราคาสูงขึ้น ความนิยมใช้จึงลดลงและเปลี่ยนไปใช้ถังที่ทำจากพลาสติกแทน ทั้งนี้เพราะเมื่อสะพายหลังแล้วรู้สึกสบายและเบากว่าถังที่ทำจากโลหะ ถังน้ำยาส่วนใหญ่มีความจุประมาณ 15 ลิตร และที่ด้านข้างถังจะมีขีดบอกระดับน้ำยาเป็นเครื่องหมายไว้ด้วย เมื่อบรรจุน้ำยาแล้วน้ำหนักรวมทั้งหมดไม่ควรเกิน 20 กิโลกรัม ไม่เช่นนั้นแล้วผู้ใช้จะแยกน้ำหนักมากเกินไป
โดยทั่วไปปากถังจะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่ต่ำกว่า 10 เซนติเมตร เพื่อความสะดวกในการเทน้ำยา หรือใช้มือล้วงลงไปทำความสะอาดภายในถัง นอกจากนั้นยังมีฝาที่ปิดปากถังได้สนิทไม่ให้น้ำยากระเด็นออกมากถูกหลังผู้ที่กำลังพ่นยา และมีตะแกรงกรองซึ่งเกี่ยวไว้กับปากถัง โดยยื่นลงไปภายในถังไม่ต่ำกว่า 5 เซนติเมตร สำหรับกรองสิ่งสกปรกที่อาจจะติดมากับน้ำยา
ปั้มที่ใช้เครื่องพ่นยาชนิดสูบโยกนี้มี 2 แบบ คือแบบลูกสูบ และแบบแผ่น (รูปที่ 2) แบบลูกสูบใช้กับหัวแดที่ต้องการความดันสูงเหมาะสำหรับพ่นยาฆ่าแมลงและยากำจัดเชื้อรา ส่วนแบบแผ่นนั้นนิยมใช้สำหรับนำยาที่มีตะกอนซึ่งอาจจะขูดข่วนทำความสึกหรอแก่ตัวปั้มได้ ปั้มนี้ต่อเข้ากับระบบกลไกของคันโยกซึ่งติดตั้งอยู่ด้านบนใกล้กับปากถัง หรือด้านล่างข้างพัง เวลาพ่นยาก็ใช้มือจับคันโยกและแขนจะต้องยกสูงอยู่ตลอดเวลา เครื่องพ่นยาที่ใช้คันโยกแบบนี้เหมาะสำหรับแถวพืชที่ไม่สูง และปลูกห่างกันพอควร เพราะเวลาโยก คันโยกจะได้ไม่ไปชนกับกิ่งหรือใบของพืชที่อยู่ในแถวข้างเคียง อย่างไรก็ตามเมื่อโยกคันโยกบ่อย ๆ ผู้พ่นยาจะรู้สึกชาและล้า เนื่องจากเลือดภายในร่างกายขึ้นไปหล่อเลี้ยงลำแขนไม่ทัน ดังนี้จึงมีการนิยมใช้เครื่องพ่นยาที่มีคันโยกติดอยู่ด้านล่างข้างถัง ซึ่งอยู่ในระดับเอวกันมาก โดยมีแบบให้เลือกใช้ทั้งชนิดที่มีคันโยกติดอยู่ด้านซ้ายหรือด้านขาว แล้วแต่ความถนัดของผู้ใช้
การใช้คันโยกให้ได้ประสิทธิภาพดีที่สุดนั้น เครื่องพ่นยาต้องแนบพอดีกับหลังของผู้พ่นยา ดังนั้นสายสะพายทั้งคู่จึงต้องแน่นพอดี สายสะพายที่ดีต้องปรับความยาวได้ และมีความกว้างพอที่จะแนบกับไหลโดยไม่สินไถลไปรัดคอ สายสะพายที่ทำจากผ้าทอจะดีกว่าในล่อนหรือพลาสติกเพราะไม่ลื่น โดยปกติปลายสายทั้งสองของสายสะพายหนึ่งควรจะยึดติดกับเครื่องพ่นยา ถอดแยกออกจากกันไม่ได้แต่ปรับความยาวได้ ส่วนอีกสายหนึ่งนั้นควรจะแยกออกจากกันได้ตรงกลาง หรือมีตะขอติดไว้ที่ปลายสายเกี่ยวติดกับก้นถัง เพื่อความรวดเร็วในการถอดเอาเครื่องพ่นยาออกจากหลังในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน
ในจังหวะแรกที่โยกคันโยกขึ้นขณะที่พ่นยานั้น ภายในห้องปั๊มจะเกิดสูญญากาศ ทำให้ลิ้นเปิด น้ำยาจะไหลผ่านลิ้นเข้าไปในห้องปั๊ม เมือโยกคันโยกกลับลงไปในตำแหน่งเดิมน้ำยาในห้องปั๊มจะถูกดันผ่านลิ้นอีกตัวหนึ่งเข้าไปในห้องเก็บความดัน ลิ้นตัวแรกซึ่งอยู่ระหว่างปั้มกับถังจะปิดเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำยาไหลกลับเข้าไปยังถังยา ในขณะเดียวกัน อากาศที่อยู่ภายในห้องเก็บความดันจะถูกอัดโดยน้ำยาที่มาจากห้องปั้ม เมื่อผู้พ่นยาบีบมือบีบพ่นยา อากาศที่ถูกอัดนี้จะทำหน้าที่ดันน้ำยาออกจากห้องเก็บความดัน ผ่านท่อและหัวฉีดออกไปสู่ภายนอก เมื่อโยกคันโยกไปมาเรื่อย ๆ อย่างสม่ำเสมอ น้ำยาก็จะถูกดันไปยังหัวฉีดได้สม่ำเสมอเช่นเดียวกัน
ส่าหรับลิ้นทั้งสองที่กล่าวมาข้างต้นนั้น มีทั้งแบบลูกปืนและแบบแผ่น บางคนนิยม ใช้แบบลูกปืนที่ทำขึ้นด้วยสแตนเลส แต่ถ้าลูกปืนสึกหรือมีสิ่งสกปรกเข้าไปติดจะทำให้เกิดการรั่วไหลของน้ำยา นอกจากนั้นลูกปืนยังหล่นหายง่ายในขณะที่ซ่อมแซมในแปลงปลูก ส่วนลิ้นแบบแผ่นนั้นโดยมากทำจากยางหรือพลาสติก ซึ่งบางครั้งก็ทำปฎิกิริยากับน้ำยาเกิดการบวมขึ้นทำให้ลิ้นติดขัดและขวางทางเดินของน้ำยา
เครื่องพ่นยาบางเครื่องอาจจะมีใบพายต่อกับคันโยกอยู่ภายในถัง เพื่อทำหน้าที่กวนน้ำยาและสูบโยก หรือไม่ก็อาจจะมีน้ำยาส่วนหนึ่งถูกดันกลับเข้าไปภายในถัง ทำให้น้ำยาหมุนวนเกิดการกวนขึ้น ซึ่งการกวนนี้เป็นสิ่งที่จำเป็นมากในกรณีที่ใช้กับสารเคมีที่ตกตะกอนง่ายเมื่อผสมกับน้ำ
เครื่องพ่นยาแบบนี้บางเครื่องมีห้องเก็บความดันและปั้มติดตั้งอยู่ภายนอกถังน้ำยาทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการซ่อมแซมและบำรุงรักษา แต่ก็มีข้อเสยคือเมื่อเครื่องพ่นยาตกลงกระแทกพื้นจะทำให้ห้องเก็บความดันและปั้มแตกหักได้ง่าย
โดยทั่ว ๆ ไปก้านฉีด 1 ก้าน จะมีหัวฉีด 1 หัว แต่ก็อาจจะมี 2 หัวหรือมากกว่าได้ และถ้าต้องการก้านฉีดยาว ๆ เพื่อใช้พ่นต้นไม้สูง ๆ ก็อาจจะใช้ท่อต่อออกไปได้ ส่วนที่มือบีบปล่อยน้ำยานั้น เครื่องพ่นยาบางเครื่องจะติดตั้งกระเดื่องสำหรับล๊อคมือบีบไว้ ผู้พ่นยาไม่จำเป็นต้องบีบตลอดเวลาขณะพ่นยา
ก่อนใช้งาน ผู้พ่นยาจำเป็นต้องโยกคันโยกไปมาหลาย ๆ ครั้ง โดยที่ยังไม่พ่นยา ทั้งนี้เพื่อทำให้เกิดความดันขึ้นภายในห้องเก็บความดันก่อน แต่หลังจากใช้มือบีบพ่นยาออกมาแล้ว ผู้พ่นยาต้องทำการโยกค้นโยกขึ้นลงเป็นจังหวะคงที่ เพื่อทำให้ละอองยาที่ถูกพ่นออกมากระจายตัวอย่างสม่ำเสมอ
» ส่วนประกอบและการทำงาน
»
การพ่นยา
»
การบำรุงรักษา
»
ข้อขัดข้องและการแก้ไขเครื่องพ่นยาแบบสะพายหลัง