เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
เพลี้ยไฟกล้วยไม้และการป้องกันกำจัด
เพลี้ยไฟที่ทำลายกล้วยไม้ในประเทศไทย มี 7 ชนิดด้วยกัน
ชนิดที่เป็นแมลงศัตรูที่สำคัญที่สุดในกล้วยไม้ ได้แก่ ชนิด Thrips palmi Karny
เพลี้ยไฟชนิดนี้พบทำลายดอกกล้วยไม้เป็นประจำ โดยการดูดน้ำเลี้ยงที่ดอกกล้วยไม้
ถ้าทำลายที่ตาดอกจะไม่มีดอก หรือดอกตูมที่ถูกดูดน้ำเลี้ยงจะหลุดร่วงจากช่อดอก
ดอกแย้มหรือดอกบานเมื่อถูกทำลายจะมีรอยด่างสีข่าวซีด และแห้งเป็นสีน้ำตาล
ในการส่งออกดอกกล้วยไม้เข้าไปบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น
และประเทศในเครือสหภาพยุโรป เช่น อิตาลี อังกฤษ เป็นต้น
หากด่านเจ้าหน้าที่ด่านตรวจพืชในประเทศเหล่านั้น ตรวจพบเพลี้ยไฟชนิดนี้แม้เพียง 1
ตัว ก็จะทำการเผาดอกกล้วยไม้ที่นำเข้าชุดนั้น ๆ หรือนำดอกกล้วยไม้รมด้วยสารเมทธิล
โบรไมด์ ทำให้ผู้ส่งออกจากไทยต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายเหล่นนี้อยู่เสมอ ๆ
นอกจากกล้วยไม้แล้ว เพลี้ยไฟชนิดนี้ยังสามารถระบาดรุนแรงในพืชอื่น ๆ เช่น ฝ้าย
ผักในตระกูลพริก - มะเขือ มันฝรั่ง แตงโม ถั่วฝักยาว โดยพบการระบาดในหลาย ๆ
ภูมิภาคเกือบทั่วโลก เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ อินเดีย ฮ่องกง ปากีสถาน
และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น
วงจรชีวิตของเพลี้ยไฟตั้งแต่ไข่จนเป็นตัวเต็มวัย กินเวลาประมาณ 7 - 10 วัน
ทำให้เพลี้ยไฟสามารถขยายแพร่พันธุ์ได้รวดเร็ว รุนแรง
และจำเป็นต้องใช้สารในการป้องกันกำจัดค่อนข้างถี่ในระยะระบาด
โดยเฉพาะในกล้วยไม้ซึ่งมีดอกดลอดปี ทำให้มีอาหารของเพลี้ยไฟตลอดเวลา
การสะสมของประชากรมีปริมาณเพิ่มขึ้นและรุนแรง
เพลี้ยไฟแทบทุกชนิด มีขนาดเล็กมาก กล่าวคือ มีลำตัวยาวประมาณ 1 - 2 มิลิเมตร
เท่านั้น ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดน้ำเลี้ยงพืชโดยมีปากแบบเขี่ยดูด
จะใช้ปากเขี่ยให้พืชส่วนนั้นช้ำและดูดน้ำเลี้ยงพืช
เพลี้ยไฟกล้วยไม้มีวงจรชีวิตดังภาพ
ตัวเต็มวัยมีลำตัวสีเหลือง ปีกทั้ง 2 คู่มีสีน้ำตาล วางไข่ในเนื้อเยื่อดอกกล้วยไม้
ซึ่งมองไม่เห็นแม้จะส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์ธรรมดา ระยะไข่ 2 - 4 วัน
และฟักเป็นตัวอ่อน มีสีข่าวและเปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้มขึ้น ตัวโตเต็มที่ประมาณ 0.7 -
1 มิลิเมตร ระยะตัวอ่อน 4 - 7 วัน ต่อมาเป็นดักแด้
มีลักษณะเหมือนตัวอ่อนแต่มีแผ่นปีกข้างลำตัว ระยะนี้ไม่กินอาหาร ไม่เคลื่อนไหว
ประมาณ 1 - 2 วัน และเจริญเป็นตัวเต็มวัย
ตัวเมียสามารถวางไข่ได้โดยไม่ต้องผสมกับตัวผู้หรือผสมก็ได้ ตัวเต็มวัยมีอายุยืนนาน
7 - 30 วัน วางไข่ได้หลายสิบฟอง
การป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟกล้วยไม้ เพื่อการส่งออกกล้วยไม้
1. การป้องกันกำจัดในสวนกล้วยไม้
เนื่องจากไม่มีวิธีการอื่น ๆ ที่จะนำมาใช้
จึงจำเป็นต้องพ่นสารเคมีในการป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟกล้วยไม้ สารเคมีที่ใช้ได้ผลดี
เช่น สารอิมิดาโคลพริด เช่น คอนฟิเดอร์ 10% เอสแอล อัตรา 10 มล. หรือ แอ็ดมายด์ 5%
อีซี อัตรา 20 มล. สารฟิโพรนิล เช่น แอสเซนด์ 5% เอสซีอัตรา 10 - 20 มล.
สารอะบาเมคทิน เช่น เวอร์ทิเมค 1.8% อีซี อัตรา 15 มล. สารไซเพอร์เมทริน + ฟอสชาโลน
เช่น พาร์ซอน 28.75% อีซี อัตรา 40 มล. สารคาร์โบซัลแฟน เช่น พอสส์ 20% อีซี อัตรา
50 มล. สารเบต้า - ไซฟลูทริน เช่น โฟลิเทค 2.5% อีซี อัตรา 20 มล. สารเมทธิโอคาร์บ
เช่น เมซูโรล 50% ดับบลิวพี อัตรา 30 กรัม สารเดลต้าเมทริน เช่น เดซิล 3% อีซี
อัตรา 20 มล. สารฟอร์มีทาเนต เช่น ไดคาร์โซล 25% เอสพี อัตรา 30 กรัม ผสมน้ำ 20
ลิตร ใช้ชนิดใดชนิดหนึ่งพ่นทุก 5 - 7 วัน แล้วแต่ความรุนแรงของการระบาด
2. การกำจัดเพลี้ยไฟก่อนการส่งออก
ก่อนการส่งออกกล้วยไม้ไปยังประเทศที่เข้มงวดกับการตรวจตราเพลี้ยไฟ
บริษัทผู้ส่งออกจำเป็นต้องรมดอกกล้วยไม้ (เพื่อฆ่าเพลี้ยไฟ) ด้วยสารเมทธิลโบรไมด์
โดยกรมวิชาการเกษตร มีคำแนะนำใช้สารรม มีอัตรา 24 กรัมต่อลูกบาศก์เมตร
เป็นระยะการเจริญเติบโตได้ภายในระยะเวลา 16 ชั่วโมง