เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>

ข้อมูลการเกษตร

ปศุสัตว์

การเลี้ยงกวาง

กวางเป็นสัตว์เศรษฐกิจตัวหนึ่งที่เกษตรกรเริ่มให้ความสนใจ เนื่องจากมีความเป็นไปได้มากในการเลี้ยงเป็นเชิงการค้า เพราะกวางสามารถให้ผลผลิตหลายอย่าง เช่น เขาอ่อน เนื้อที่มีโปรตีนสูง คลอเรสเตอรอลต่ำ หนังเมื่อฟอกแล้วมีความนิ่มมากและมีความเหนียวทนทาน หางและเอ็นสามารถขายได้ซึ่งมีคุณสมบัติรองจากเขาอ่อน

กวางเป็นสัตว์กีบ มีสี่กระเพาะ สามารถกินหญ้า ใบไม้ต่างๆ ได้หลายชนิด และยังสามารถแทะเปลือกต้นไม้เป็นอาหารได้ด้วย กวางไม่มีถุงน้ำดี

การเลี้ยงกวางเพื่อเป็นการค้าในต่างประเทศ ได้มีการพัฒนาในด้านวิชาการจัดการฟาร์มกวางตลอดด้านการตลาดและผลิตภัณฑ์ เช่น เนื้อ เขา หนัง และเอ็น ประเทศนิวซีแลนด์เป็นประเทศหนึ่งที่เลี้ยงกวางกันมาก พัฒนามากว่า 20 ปี มีกวางประมาณ 1.3 ล้านตัว สามารถส่งออกเนื้อกวางเป็นมูลค่า 1,900 ล้านบาท/ปี กวางที่เลี้ยงส่วนใหญ่เป็นพันธุ์กวางเขตหนาว เช่น กวางแดง (Red deer) กวางวาปิตี (Wapiti or Elk deer) และกวางฟอลโล (Fallow derr) ประเทศออสเตรเลียมีการเลี้ยงกวางคล้ายคลึงกันกับประเทศนิวซีแลนด์ แต่ได้มีการนำเข้ากวางเมืองร้อน คือ กวางโมลัดกันรูซ่า (Moluccan Rusa) จากเกาะโมลัดกันของประเทศอินโดเซียเข้าไป เลี้ยงบริเวณรัฐควีนสแลนด์ประมาณปี พ.ศ. 2455 ในยุโรปแถบสแกนดิเนเวียรวมทั้งรัฐเซียก็มีการเลี้ยงกวางเช่นกัน แต่เป็นพันธุ์กวางเขตหนาว (ยังไม่มีข้อมูลเฉพาะการทำฟาร์มกวาง ม้า (SAMBA)

ในทวีปเอเชีย ก็มีการเลี้ยงกวางในประเทศจีน ไต้หวัน เกาหลีใต้ เวียดนามและล่าสุดประเทศมาเลเซียได้นำเทคโนโลยีเข้ามาจากนิวซีแลนด์และนิวคาลิโดเนีย ซึ่งได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา สำหรับประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีขีดความสามารถในการพัฒนาด้านปศุสัตว์ การเลี้ยงกวางเนื้อเป็นการค้าจึงควรที่จะได้รับการส่งเสริมและพัฒนาให้เป็นอาชีพหนึ่ง

การเลี้ยงกวางในประเทศไทยได้ทำกันมานานแล้ว เป็นการเลี้ยงเพื่ออนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าซึ่งดำเนินการโดยกรมป่าไม้ และมีการเลี้ยงกวางในสวนสัตว์ ตามจังหวัดต่างๆ เกือบทั่วประเทศ การเลี้ยงกวางเพื่อเป็นการค้าเช่นเดียวกับการเลี้ยงปศุสัตว์อื่นมีอยู่น้อยมาก ทั้งนี้เนื่องมาจากในอดีตที่ผ่านมามีข้อจำกัดที่ว่า กวางเป็นสัตว์ป่ามีกฎหมายคุ้มครองซึ่งไม่สามารถนำมาเลี้ยงเพาะขยายพันธุ์ได้อย่างเปิดเผยเพราะผิดด้านตัวบทกฎหมาย ในปี พ.ศ. 2535 รัฐบาลได้มีพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฉบับใหม่ซึ่งอนุญาตให้เอกชนเพราะเลี้ยงสัตว์ป่าบางชนิดได้เช่น กวางม้า เนื้อทราย (Hog deer) เก้ง และกระจงเล็ก ฯลฯ แต่ทั้งนี้ต้องขออนุญาตจากกรมป่าไม้

» การจัดการเลี้ยงกวาง
» ความหนาแน่นในการเลี้ยงกวาง
» การให้อาหารกวาง
» พันธุ์กวาง
» ผลผลิต ราคาจำหน่าย และการตลาด
» การลงทุน
» ข้อจำกัดบางประการ
» โรคที่พบในกวาง
» การป้องกันโรค

  • จัดทำโดย
    กองปศุสัตว์สัมพันธ์ กรมปศุสัตว์

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย