เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>

ข้อมูลการเกษตร

ปศุสัตว์

ยอดอ้อยอาหารหยาบทดแทนในฤดูแล้ง

ยอดอ้อย เป็นผลพลอยได้จากการปลูกอ้อยเพื่อทำน้ำตาล ในแต่ละปีระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มีนาคม ยอดอ้อยจำนวนไม่น้อยกว่า 10 ตัน ที่ถูกเผาหรือฟันทิ้งหลังฤดูกาลตัด อ้อยมีคุณค่าทางโภชนะใกล้เคียงกับฟางข้าวมีโปรตีนประมาณ 4-6% แต่มีเยื่อใยส่วนที่ใช้ประโยชน์ดีกว่ามีความหวานและน่ากินมากกว่าฟางข้าว ช่วงแล้งขาดแคลนหญ้าสด เป็นระยะที่มียอดอ้อยจำนวนมาก สามารถนำยอดอ้อยสดมาสับให้มีขนาดเล็กลงเพื่อเสริมหญ้าหรือใช้เป็นอาหารหยาบหลักแทนหญ้า และเสริมด้วยอาหารข้นหรือใบพืชตระกูลถั่วต่างๆ เช่นเดียวกับการใช้หญ้าเป็นอาหารหลัก ถ้ามียอดอ้อยปริมาณมากๆ สามารถนำมาหมัก ซึ่งอาจจะใส่หรือไม่ใส่กากน้ำตาลลงไปด้วยก็ได้ โดยมีวิธีหมักเช่นเดียวกับหมักหญ้า และสามารถนำออกมาใช้ในช่วงที่ขาดแคลนอาหารหยาบจะสามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนพืชอาหารสัตว์และเป็นการนำผลพลอยได้การเกษตรมาใช้ประโยชน์ได้เป็นอย่างดี

ยอดอ้อยสามารถใช้เป็นอาหารโค-กระบือได้ทั้งในลักษณะสด แห้ง และหมัก แต่ต้องใช้ร่วมกับอาหารข้นหรือวัตถุดิบอาหารอื่นๆ เพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาให้สูงขึ้น ดังนั้นจึงควรต้องปรับปรุงคุณค่าโภชนะให้ใกล้เคียงหรือเท่ากับหญ้าโดยวิธี

1. วิธีทางกายภาพ
เป็นการทำให้ลักษณะรูปร่างเปลี่ยนแปลงให้มีขนาดเล็กลง สัตว์จะได้กินได้มากอัตราการไหลผ่านของอาหารจากกระเพาะเร็วขึ้น

2. วิธีใช้สารเคมี
ซึ่งอาจมีผลทำให้ลักษณะรูปร่างและส่วนประกอบทางเคมีเปลี่ยนแปลงอาจทำให้สัตว์กินได้มากขึ้น

3. การใช้ร่วมกันระหว่างวิธีกายภาพ และสารเคมี
เช่นการสับ และบดร่วมกับสารเคมี

4. ใช้ยอดอ้อยร่วมกับอาหารเสริมโปรตีน
เช่นอาหารข้นและพืชตระกูลถั่วต่างๆ เช่น ใบกระถิน ใบมันสำปะหลัง เป็นต้น

ตารางแสดงส่วนประกอบทางเคมีของยอดอ้อยเปรียบเทียบกับฟางข้าว และหญ้ารูซี่ (%วัตถุแห้ง)

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย