เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
การเลี้ยงและการควบคุมโรคไก่พื้นเมือง
กองปศุสัตว์สัมพันธ์ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
การเลี้ยงแม่ไก่และลูกไก่
เมื่อลูกไก่ออกจากไข่หมดแล้วควรให้แม่ไก่เลี้ยงลูกเองโดยการย้ายทั้งแม่ไก่และลูกไก่ลงมาขังในสุ่มหรือกรงบนพื้นดินที่แห้ง ในระยะแรกควรมีถาดอาหารสำหรับใส่รำ ปลายข้าวหรือเศษข้าวสุกให้ลูกไก่กิน และมีถ้วยหรืออ่างน้ำตื้น ๆ ใส่น้ำสะอาดให้กินตลอดเวลา
เมื่อลูกไก่อายุประมาณ 2 อาทิตย์
ลูกไก่แข็งแรงดีแล้วก็เปิดสุ่มออกปล่อยให้ลูกไก่ไปหากินกับแม่ไก่ได้
ซึ่งโดยธรรมชาติแม่ไก่จะเลี้ยงลูกประมาณ 1-2 เดือน
จึงจะแยกจากลูกเพื่อผสมพันธุ์และวางไข่ใหม่
หรือถ้าต้องการให้แม่ไก่เตรียมตัวไข่รุ่นต่อไปเร็วขึ้น หลังจากปล่อยให้เลี้ยงลูกได้
2 อาทิตย์ ก็ให้แยกลูกออกจากแม่นำไปเลี้ยงในกรงต่างหาก
เพื่อให้แม่ไก่พักตัวแล้วเตรียมตัวไข่รุ่นต่อไป
ลูกไก่อายุ 2 อาทิตย์ที่แยกจากแม่ใหม่ ๆ ยังหาอาหารไม่เก่งและยังป้องกันตัวเองไม่ได้ ต้องเลี้ยงในกรงต่างหากเพื่อให้ลูกไก่แข็งแรง ปราดเปรียวจนอายุได้เดือนครึ่งถึงสองเดือนจึงจะปล่อยเลี้ยงได้
ลูกไก่ระยะนี้เป็นช่วงที่ล่อแหลมมาก มักจะมีการตายมากที่สุดเจ้าของต้องดูแลเอาใสใส่อย่างใกล้ชิดเรื่องน้ำ อาหารและการป้องกันโรค
ในกรณีที่มีแม่ไกเลี้ยงลูกขนาดต่าง ๆ กันหลายแม่ ควรจะมีสุ่มที่ขนาดตาถี่หรือตาห่างหลาย ๆ ขนาด มีอาหารและน้ำใส่ไว้ข้างในเพื่อเป็นการป้องกันไก่เล็กถูกเหยียบหรือเตะตาย เพราะไก่เล็กจะเข้าสุ่มที่มีรูเล็ก ลูกไก่รุ่นใหญ่ก็จะเข้าสุ่มที่มีตาใหญ่ ไก่รุ่นโตแล้วจะอยู่ข้างนอกเข้าไปไม่ได้ ซึ่งวิธีนี้จะเป็นการช่วยให้ลูกไก่เล็กได้กินอาหารเต็มที่ โตเร็วขึ้นและตายน้อยลง
กรณีที่เกษตรกรมีไก่รุ่น อายุ 3-4 เดือน จำนวนมาก ๆ ควรนำมาเลี้ยงขังกรงขุนให้กินอาหารเต็มที่ลัก 1 เดือน จะทำให้ไก่อ้วนขายได้ราคาดีซึ่งจะเป็นวิธีการช่วยให้มีรายได้เพิ่มขึ้น
»
คุณสมบัติที่ดีของไก่พื้นเมือง
»
การเลี้ยงไก่พื้นเมือง
»
อาหารไก่พื้นเมือง
»
การฟักไข่
» การเลี้ยงแม่ไก่และลูกไก่
»
การคัดเลือกพันธุ์ไก่
»
วิธีเลี้ยงไก่พื้นเมืองไว้กินไข่
»
การป้องกันและรักษาโรคไก่พื้นเมือง