เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>

ข้อมูลการเกษตร

ปศุสัตว์

โรคที่สำคัญในโคนม

โรคปอดบวมในลูกโค

ปอดบวมในลูกโคเกิดจากการติดเชื้อจุลินทรีย์ในทางเดินหายใจ สัตว์จะแสดงอาการซึม น้ำมูกไหล มีไข้ หายใจลำบาก และอาจมีความผิดปกติของระบบขับถ่ายร่วมด้วย โดยนี้มักเกิดในระยะที่อากาศเปลี่ยนแปลงและในฤดูฝนซึ่งมีความชื้นสูง ลูกโคที่เป็นโรคพยาธิจะมีสุขภาพอ่อนแอและง่ายต่อการป่วยด้วยโรคนี้

การรักษาที่ได้ผลดีต้องทำตั้งแต่ระยะเริ่มป่วยโดยใช้ปฏิชีวนะ เช่น เตตร้าไซคลิน คลอแรมฟินิคอล ฯลฯ หรือใช้ยาซัลฟา โรคปอดบวมในลูกโคมักเกิดจากเชื้อไวรัสร่วมกับแบคทีเรีย โดยมีเชื้อหนึ่งเป็นต้นเหตุ แล้วอีกเชื้อหนึ่งเข้าแทรกซ้อน จึงควรจัดการสิ่งแวดล้อมร่วมไปกับการรักษาด้วย และในรายที่มีพยาธิควรปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง เพราะลูกโคค่อนข้างอ่อนแอ

โรคนี้สามารถติดต่อกันภายในฝูงลูกโคได้ ฉะนั้น เมื่อมีสัตว์ป่วยเกษตรกรต้องรีบแยกออกจากฝูง ส่วนการควบคุมป้องกันโรคนี้ทำได้โดย

  1. เลี้ยงลูกโคในคอกที่สะอาดและปลอดโปร่ง ไม่แออัด ลมไม่โกรกจัดและฝนไม่สาด
  2. บริเวณรอบคอกลูกโคต้องปราศจากแหล่งหมักหมมความสกปรก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งขับถ่ายของลูกโคเอง
  3. ให้ลูกโคได้รับนมน้ำเหลือง และอาหารที่เหมาะสม
  4. เมื่อนำลูกโคมาจากแหล่งอื่น ควรกักไว้ดูความผิดปกติ 2-3 สัปดาห์ก่อนนำเข้าฝูง

» วัคซีนโค
» ประเภทของเวชภัณฑ์
» ตู้ยาประจำคอกโคนม
» การใช้ปรอทวัดไข้
» โรค
» โรคปอดบวมในลูกโค
» ฝี
» ปัสสาวะแดง
» วัณโรค
» โรคแท้งติดต่อ(บรูเซลโลซีส)
» โรคปากและเท้าเปื่อย
» โรคคอบวมหรือโรคคอดัง
» โรคกาลีหรือโรคแอนแทรกซ์
» โรคเต้านมอักเสบ
» โรคไข้น้ำนม
» หูดโค
» ขี้กลากโค
» ท้องอืดในโค
» พยาธิภายในของโคนม
» พยาธิตัวกลมในทางเดินอาหาร
» พยาธิตัวตืด
» พยาธิใบไม้ในตับ
» หน่วยงานที่ให้คำแนะนำเกี่ยวกับโรคพยาธิ
» การเก็บอุจจาระเพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
» การให้ยาโคนม
» การให้ยาทางปากแก่โค
» การฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อโคนม
» การฉีดยาเข้าใต้ผิวหนัง
» การให้ยาภายนอก
» การให้ยาสอดเต้านม
» การทำลายซากโค

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย