เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>

ข้อมูลการเกษตร

ปศุสัตว์

โรคที่สำคัญในโคนม

โรค

โรค คือ การเปลี่ยนแปลงของร่างกายสัตว์ไปจากปกติ เป็นผลให้เกิดอันตรายต่อตัวสัตว์ การเปลี่ยนแปลงนี้หมายถึงการเปลี่ยนแปลงทา งอวัยวะและหน้าที่ของอวัยวะด้วย เช่น พยาธิใบไม้ในตับทำให้เนื้อตับและท่อน้ำดีอักเสบ เป็นต้น

สาเหตุโน้มนำที่ทำให้เกิดโรคในโคนม ได้แก่

  1. สภาพการเลี้ยงดู เช่น อาหารไม่เหมาะสม อยู่อย่างแออัด คอกสกปรก ฯลฯ
  2. สิ่งแวดล้อม เช่น อากาศร้อนจัด พื้นที่ลุ่มแฉะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค
  3. อายุ เพศและพันธุ์ของสัตว์ โรคบางโรคเป็นกรรมพันธุ์และบางโรคเกิดกับลูกโคได้ง่ายกว่าแม่โค นอกจากนี้อาจเป็นลักษณะเฉพาะตัวของโคเอง
  4. ความสามารถในการให้ผลผลิต เช่น โคที่ให้น้ำนมสูงย่อมสูญเสียแร่ธาตุอาหารไปกับน้ำนมมาก ทำให้อ่อนแอ เป็นต้น

สาเหตุที่แท้จริงของโรค ได้แก่

  1. การได้รับสารอาหารบางอย่างมากหรือน้อยเกินไป เช่น ลูกโคได้รับฟอสฟอรัสและแคลเซียมไม่พอเพียง ทำให้เกิดโรคกระดูกอ่อน เป็นต้น
  2. เกิดจากการติดเชื้อ เช่น แบคทีเรีย ไวรัส โปรโตซัว เชื้อราหรือพยาธิ
  3. อิทธิพลทางกายภาพ เช่น แสงแดด ความร้อน กระแสไฟฟ้า ฯลฯ

» วัคซีนโค
» ประเภทของเวชภัณฑ์
» ตู้ยาประจำคอกโคนม
» การใช้ปรอทวัดไข้
» โรค
» โรคปอดบวมในลูกโค
» ฝี
» ปัสสาวะแดง
» วัณโรค
» โรคแท้งติดต่อ(บรูเซลโลซีส)
» โรคปากและเท้าเปื่อย
» โรคคอบวมหรือโรคคอดัง
» โรคกาลีหรือโรคแอนแทรกซ์
» โรคเต้านมอักเสบ
» โรคไข้น้ำนม
» หูดโค
» ขี้กลากโค
» ท้องอืดในโค
» พยาธิภายในของโคนม
» พยาธิตัวกลมในทางเดินอาหาร
» พยาธิตัวตืด
» พยาธิใบไม้ในตับ
» หน่วยงานที่ให้คำแนะนำเกี่ยวกับโรคพยาธิ
» การเก็บอุจจาระเพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
» การให้ยาโคนม
» การให้ยาทางปากแก่โค
» การฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อโคนม
» การฉีดยาเข้าใต้ผิวหนัง
» การให้ยาภายนอก
» การให้ยาสอดเต้านม
» การทำลายซากโค

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย