เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>

ข้อมูลการเกษตร

ปศุสัตว์

โรคที่สำคัญในโคนม

การทำลายซากโค

โคนมเป็นสัตว์ที่ค่อนข้างง่ายต่อการติดโรค เมื่อมีโคป่วยตายด้วยโรคอันน่าสงสัยว่าเป็นโรคระบาดหรือเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต ควรแจ้งแก่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นและเมื่อจำเป็นต้องทำลายซาก เกษตรกรก็ควรกระทำโดยเคร่งครัด

การทำลายซากโคทำได้ 2 วิธี คือ

  1. การเผาซาก เนื่องจากโคมีขนาดใหญ่ต้องใช้เชื้อเพลิงมาก จึงไม่สะดวกนัก ควรขุดเป็นหลุมหรือร่องลึกประมาณครึ่งเมตรต่อโคหนึ่งตัวใช้ไม้ฟืนวางซ้อนกัน แล้วเอาซากสัตว์วางไว้ข้างบน แล้วจึงเผา การเผาอาจใช้น้ำมันเชื้อเพลิงหรือยางรถยนต์เก่า ๆ ช่วยด้วยก็ได้ การกำจัดซากแบบนี้เป็นวิธีที่ดีมาก
  2. การฝังซาก ควรเลือกที่ห่างจากแหล่งน้ำ เพื่อป้องกันการกระจายเชื้อโรค ขุดหลุมกว้างและยาวพอเหมาะกับซาก ลึกประมาณสองเมตรครึ่งรองก้นหลุมด้วยปูนขาวก่อนนำซากโคลงและโรยปูนขาวทับซากอีกครั้งก่อนกลบซาก ดินที่กลบซากควรสูงกว่าหนึ่งเมตรครึ่ง และควรกั้นหรือทำสิ่งกีดขวางบริเวณที่ฝังซากป้องกันสัตว์อื่นขุดคุ้ย

ในการกำจัดซากโคนั้น ให้พยายามกำจัดเลือดและสิ่งขับถ่ายอื่น ๆ เท่าที่จะทำได้ด้วย หากมีการตกค้างอยู่ก็ควรทำลายเชื้อโรคด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณคอกสัตว์ และควรพักคอกไว้ระยะหนึ่งก่อนนำสัตว์เข้ามาเลี้ยง

» วัคซีนโค
» ประเภทของเวชภัณฑ์
» ตู้ยาประจำคอกโคนม
» การใช้ปรอทวัดไข้
» โรค
» โรคปอดบวมในลูกโค
» ฝี
» ปัสสาวะแดง
» วัณโรค
» โรคแท้งติดต่อ(บรูเซลโลซีส)
» โรคปากและเท้าเปื่อย
» โรคคอบวมหรือโรคคอดัง
» โรคกาลีหรือโรคแอนแทรกซ์
» โรคเต้านมอักเสบ
» โรคไข้น้ำนม
» หูดโค
» ขี้กลากโค
» ท้องอืดในโค
» พยาธิภายในของโคนม
» พยาธิตัวกลมในทางเดินอาหาร
» พยาธิตัวตืด
» พยาธิใบไม้ในตับ
» หน่วยงานที่ให้คำแนะนำเกี่ยวกับโรคพยาธิ
» การเก็บอุจจาระเพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
» การให้ยาโคนม
» การให้ยาทางปากแก่โค
» การฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อโคนม
» การฉีดยาเข้าใต้ผิวหนัง
» การให้ยาภายนอก
» การให้ยาสอดเต้านม
» การทำลายซากโค

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย