เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>

ข้อมูลการเกษตร

ปศุสัตว์

โรคที่สำคัญในโคนม

พยาธิตัวกลมในทางเดินอาหาร

พยาธิตัวกลมในทางเดินอาหารโคมีมากกว่า 5 ชนิด และมีบทบาทสำคัญมากในโคทุกวัย ลูกโคแรกเกิดอาจได้รับตัวอ่อนของพยาธิตัวกลมจากนมน้ำเหลือง และเมื่อโคเริ่มกินหญ้าก็จะได้พยาธิที่ปะปนมากับหญ้า พยาธิเหล่านี้ระคายเคืองต่อกระเพาะและลำไส้ ทำให้ทางเดินอาหารอักเสบ

ลักษณะและอาการเด่นชัดของโคที่เป็นโรคพยาธิ ได้แก่

  1. ผอม แคระแกร็น ทั้ง ๆ ที่กินอาหารและหญ้าที่ดี
  2. ขนหยาบหยอง ไม่เป็นมัน
  3. อุจจาระเหลวและอาจมีมูกเลือดปน ในลูกโคมักมีกลิ่นเหม็น
  4. อ่อนแอ ป่วยง่ายและให้ผลผลิตต่ำ

การป้องกันและแก้ไข

  1. ถ่ายพยาธิแม่โคก่อนคลอดประมาณ 1 เดือน เพื่อให้ผลผลิตสูงและสม่ำเสมอ
  2. ถ่ายพยาธิลูกโคเมื่ออายุ 3-6 เดือน และถ่ายซ้ำปีละ 2 ครั้ง
  3. เมื่อมีโคมาจากแหล่งอื่น ให้กักและถ่ายพยาธิก่อนนำเข้าฝูง

ยาถ่ายพยาธิตัวกลม ได้แก่

  1. ไทอาเบนดาโซล ให้กินขนาด 50-100 มิลลิกรัมตัวยา/100 กิโลกรัมน้ำหนักสัตว์
  2. ซิตาริน-แอล 10% ฉีดขนาด 1 ซีซี./20 กิโลกรัมน้ำหนักสัตว์

» วัคซีนโค
» ประเภทของเวชภัณฑ์
» ตู้ยาประจำคอกโคนม
» การใช้ปรอทวัดไข้
» โรค
» โรคปอดบวมในลูกโค
» ฝี
» ปัสสาวะแดง
» วัณโรค
» โรคแท้งติดต่อ(บรูเซลโลซีส)
» โรคปากและเท้าเปื่อย
» โรคคอบวมหรือโรคคอดัง
» โรคกาลีหรือโรคแอนแทรกซ์
» โรคเต้านมอักเสบ
» โรคไข้น้ำนม
» หูดโค
» ขี้กลากโค
» ท้องอืดในโค
» พยาธิภายในของโคนม
» พยาธิตัวกลมในทางเดินอาหาร
» พยาธิตัวตืด
» พยาธิใบไม้ในตับ
» หน่วยงานที่ให้คำแนะนำเกี่ยวกับโรคพยาธิ
» การเก็บอุจจาระเพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
» การให้ยาโคนม
» การให้ยาทางปากแก่โค
» การฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อโคนม
» การฉีดยาเข้าใต้ผิวหนัง
» การให้ยาภายนอก
» การให้ยาสอดเต้านม
» การทำลายซากโค

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย