เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
โรคที่สำคัญในโคนม
ท้องอืดในโค
ท้องอืดในโคนมมักพบในต้นฤดูฝน หญ้าผลิใบอ่อนอวบน้ำมาก
โรคนี้เกิดขึ้นได้กับโคทุกวัย
และถ้าโคนั้นเป็นโรคพยาธิด้วยก็จะยิ่งเป็นปัญหาเรื้อรังหรือรุนแรงยิ่งขึ้น
การแก้ไขนั้นขึ้นกับความรุนแรง กล่าวคือ
- ถ้าบริเวณสวาปซ้ายพองขยายขึ้น โคหยุดกินและหยุดเคี้ยวเอื้องซึมลง หายใจขัด ผลุดลุกผลุดนอน ควรแก้ไขโดยการจูงเดินและวิ่ง แล้วกรอกน้ำมันพืชให้ 200-800 มิลลิลิตรแล้วแต่ขนาดโค
- ถ้าอาการรุนแรงและฉับพลัน โคล้มนอน น้ำลายไหลยืด หายใจลำบาก ชักเกร็ง เนื่องจากกระเพาะขยายใหญ่เบียดอวัยวะในช่องอกและแก๊สที่เกิดขึ้นในกระเพาะซึมเข้าสู่กระแสเลือดเป็นพิษต่อร่างกาย สัตว์อาจตายได้ เกษตรกรอาจต้องแก้ไขเองโดยเจาะแทงกระเพาะตรงจุดกลางสวาปซ้ายด้วยเหล็กกลวงแหลม หรือใช้มีดปอกผลไม้ก็ได้ถ้าจำเป็น ขยับให้แก๊สออกมากที่สุด
หากไม่รีบร้อนมากนัก ควรโกนขนและทำความสะอาดบริเวณที่จะแทงเสียก่อน ก็จะเป็นการดี พยายามกดให้ผิวหนังแนบชิดกับกระเพาะให้มากที่สุดตลอดเวลา เพื่อป้องกันอาหารทะลักเข้าไปในช่องท้อง และหลังการเจาะแทงกระเพาะทุกครั้ง จะต้องแจ้งให้สัตวแพทย์มาฉีดยารักษาแผลอักเสบนั้น และป้องกันช่องท้องอักเสบด้วย นอกจากนี้ เกษตรกรต้องรักษาแผลและแก้ไขสาเหตุร่วมด้วย
»
วัคซีนโค
»
ประเภทของเวชภัณฑ์
»
ตู้ยาประจำคอกโคนม
»
การใช้ปรอทวัดไข้
»
โรค
»
โรคปอดบวมในลูกโค
»
ฝี
»
ปัสสาวะแดง
»
วัณโรค
»
โรคแท้งติดต่อ(บรูเซลโลซีส)
»
โรคปากและเท้าเปื่อย
»
โรคคอบวมหรือโรคคอดัง
»
โรคกาลีหรือโรคแอนแทรกซ์
»
โรคเต้านมอักเสบ
»
โรคไข้น้ำนม
»
หูดโค
»
ขี้กลากโค
» ท้องอืดในโค
»
พยาธิภายในของโคนม
»
พยาธิตัวกลมในทางเดินอาหาร
»
พยาธิตัวตืด
»
พยาธิใบไม้ในตับ
»
หน่วยงานที่ให้คำแนะนำเกี่ยวกับโรคพยาธิ
»
การเก็บอุจจาระเพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
»
การให้ยาโคนม
»
การให้ยาทางปากแก่โค
»
การฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อโคนม
»
การฉีดยาเข้าใต้ผิวหนัง
»
การให้ยาภายนอก
»
การให้ยาสอดเต้านม
»
การทำลายซากโค