เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>

ข้อมูลการเกษตร

ปศุสัตว์

โรคที่สำคัญในโคนม

โรคไข้น้ำนม

โรคไข้น้ำนม (milk fever) มักจะพบในช่วงก่อนหรือหลังคลอดใหม่ ๆ จนถึงหลังคลอด 3 เดือน โดยเฉพาะแม่โคที่ให้น้ำนมมาก เนื่องจาก แม่โคสูญเสียแร่ธาตุแคลเซี่ยมไปในการเจริญเติบโตของลูกโคในท้องหรือใช้สร้างน้ำนมมาก จนกระทั่งร่างกายไม่สามารถทนได้ จึงแสดงอาการทางประสาท เช่น เสียการทรงตัว ตื่นเต้น ตกใจง่าย บางตัวหลังโกง เมื่อล้มจะลุกเองไม่ได้ นอนบนหน้าอกและหัวพับไปทางสวาป อุณหภูมิเกือบปกติในระยะท้ายโคจะนอนเหยียด ม่านตาขยาย ชีพจรเต้นเร็วแต่เบา ถ้าไม่รีบรักษา โคอาจตายได้

การรักษาที่ได้ผลดีที่สุด คือ การให้แร่ธาตุเข้าทางเส้นเลือดซึ่งเกษตรกรต้องอาศัยสัตวแพทย์ ดังนั้น เกษตรกรที่มีแม่โคที่ให้น้ำนมสูงในช่วงเวลาดังกล่าว จึงควรเอาใจใส่เป็นพิเศษ หากพบว่า แม่โคกินอาหารลดลง โดยไม่มีสาเหตุอื่นใด จงอย่าได้ชะล่าใจ ควรนึกถึงโรคนี้ไว้บ้าง แม่โคที่เป็นโรคนี้ไม่รุนแรงอาจปรับตัวโดยการดึงเอา แคลเซี่ยมจากอวัยวะอื่น เช่น กระดูก มาชดเชยทำให้หายจากอาการดังกล่าวได้เองโดยไม่ต้องรักษาแต่ผลผลิตน้ำนมที่ลดลงนั้นจะไม่ดีดังเดิม

อนึ่ง การผสมแร่ธาตุในอาหารโคนม โดยเฉพาะ พวกแคลเซี่ยมและฟอสฟอรัส ในอัตราส่วนที่ไม่เหมาะสม ก็เป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคนี้ขึ้นได้เช่นกัน

» วัคซีนโค
» ประเภทของเวชภัณฑ์
» ตู้ยาประจำคอกโคนม
» การใช้ปรอทวัดไข้
» โรค
» โรคปอดบวมในลูกโค
» ฝี
» ปัสสาวะแดง
» วัณโรค
» โรคแท้งติดต่อ(บรูเซลโลซีส)
» โรคปากและเท้าเปื่อย
» โรคคอบวมหรือโรคคอดัง
» โรคกาลีหรือโรคแอนแทรกซ์
» โรคเต้านมอักเสบ
» โรคไข้น้ำนม
» หูดโค
» ขี้กลากโค
» ท้องอืดในโค
» พยาธิภายในของโคนม
» พยาธิตัวกลมในทางเดินอาหาร
» พยาธิตัวตืด
» พยาธิใบไม้ในตับ
» หน่วยงานที่ให้คำแนะนำเกี่ยวกับโรคพยาธิ
» การเก็บอุจจาระเพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
» การให้ยาโคนม
» การให้ยาทางปากแก่โค
» การฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อโคนม
» การฉีดยาเข้าใต้ผิวหนัง
» การให้ยาภายนอก
» การให้ยาสอดเต้านม
» การทำลายซากโค

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย