เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>

ข้อมูลการเกษตร

ปศุสัตว์

โรคที่สำคัญในโคนม

โรคกาลีหรือโรคแอนแทรกซ์

"ตุ่มปิ๊ด" เป็นชื่อที่เรียกในภาคเหนือ เป็นโรคระบาดที่ร้ายแรง ติดต่อถึงคนได้ทางบาดแผล ในท้องที่ที่เคยเกิดโรคนี้ขึ้นแล้วมักเกิดขึ้นอีก เนื่องจากสัตว์ที่ป่วยตายจะมีเลือดออกจากช่องเปิดของร่างกาย เช่น จมูก ปากและทวาร ในเลือดนั้นจะมีจุลินทรีย์อยู่ด้วย เชื้อนี้สามารถเปลี่ยนลักษณะเป็นสปอร์ทนอยู่ในดินได้นานนับเป็นปี ๆ และอาจปะปนไปในแหล่งน้ำหรือแปลงหญ้าสำหรับโคได้

ถ้าโคเป็นโรคอย่างเฉียบพลัน จะตายทันทีโดยไม่แสดงอาการ มีเลือดออกจากทวารต่าง ๆ หรือถ้าเป็นอย่างร้ายแรง โคจะตายภายใน 48 ชั่วโมง หรือแบบไม่ร้ายแรงโคอาจตายใน 3-5 วัน อาการอื่น ๆ ที่อาจพบได้ก็คือซึมลง กล้ามเนื้อสั่น ไข้สูง โคที่กำลังท้องจะแท้งหยุดให้น้ำนม อุณหภูมิลดลงต่ำกว่าปกติเมื่อใกล้ตาย เยื่อชุ่มคล้ำจัด ในรายที่ไม่รุนแรงนักอาจรักษาด้วยเพนนิซิลลินหรือเทอรามัยซินได้

เมื่อมีสัตว์ที่สงสัยว่าป่วยหรือตายด้วยโรคนี้ให้แจ้งต่อเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์หรือกำนันผู้ใหญ่บ้านทันที ห้ามชำแหละเด็ดขาด การวินิจฉัยโรคต้องอาศัยห้องปฏิบัติการร่วมด้วย เกษตรกรที่อยู่ในท้องที่ที่เคยมีโรคนี้ระบาดควรฉีดวัคซีนป้องกันให้โคนมทุกปี โดยปรึกษากับสัตวแพทย์ที่รับผิดชอบท้องที่นั้น

» วัคซีนโค
» ประเภทของเวชภัณฑ์
» ตู้ยาประจำคอกโคนม
» การใช้ปรอทวัดไข้
» โรค
» โรคปอดบวมในลูกโค
» ฝี
» ปัสสาวะแดง
» วัณโรค
» โรคแท้งติดต่อ(บรูเซลโลซีส)
» โรคปากและเท้าเปื่อย
» โรคคอบวมหรือโรคคอดัง
» โรคกาลีหรือโรคแอนแทรกซ์
» โรคเต้านมอักเสบ
» โรคไข้น้ำนม
» หูดโค
» ขี้กลากโค
» ท้องอืดในโค
» พยาธิภายในของโคนม
» พยาธิตัวกลมในทางเดินอาหาร
» พยาธิตัวตืด
» พยาธิใบไม้ในตับ
» หน่วยงานที่ให้คำแนะนำเกี่ยวกับโรคพยาธิ
» การเก็บอุจจาระเพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
» การให้ยาโคนม
» การให้ยาทางปากแก่โค
» การฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อโคนม
» การฉีดยาเข้าใต้ผิวหนัง
» การให้ยาภายนอก
» การให้ยาสอดเต้านม
» การทำลายซากโค

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย