เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
โรคที่สำคัญในโคนม
โรคปากและเท้าเปื่อย
เป็นโรคระบาดที่ติดต่อได้อย่างรวดเร็วของสัตว์กีบคู่ เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง
ทำให้เกิดเม็ดตุ่มในช่องปาก เช่น ลิ้น เพดานปาก เหงือกและริมฝีปาก
และอาจลุกลามไปบริเวณจมูกและเต้านม โคจะหงอยซึม น้ำลายไหลฟูมปาก
เม็ดตุ่มนี้จะแตกออกและลอกหลุดใน 1 สัปดาห์ นอกจากนี้จะพบการบวมของผิวหนังที่เท้า
พื้นกีบบวมเต่งมีน้ำเหลืองขังอยู่ภายในแล้วแตกออกภายหลัง ทำให้โคลุกเดินไม่ได้
โรคนี้ทำความเสียหายให้เกษตรกรเป็นอย่างมาก
สุขภาพสัตว์ทรุดโทรมและฟื้นตัวได้ช้าแม้ว่าอัตราการตายต่ำ การผลิตน้ำนมหยุดชะงัก
และโรงงานจะไม่รับน้ำนมเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคและป้องกันการแพร่กระจายไปสู่ฟาร์มอื่น
ๆ
เมื่อโคของท่านเกิดโรคปากและเท้าเปื่อยขึ้น
ต้องรีบแจ้งให้สัตวแพทย์ประจำท้องที่ของท่านทราบโดยด่วน
เพื่อจะได้รีบหาทางป้องกันการแพร่ระบาดของโรค
การรักษาตุ่มแผลที่เกิดขึ้นอาจรักษาโดยใช้เกลือผสมสารส้มป่น อัตราส่วน 1 ต่อ 1
ป้ายตามตุ่มแผลในปากและกีบ
การป้องกันโรคที่ได้ผลดี คือ การฉีดวัคซีนปากและเท้าเปื่อยชนิดต่าง ๆ ที่ผลิตโดยกรมปศุสัตว์ให้แก่โคนมที่มีอายุ 6 เดือนขึ้นไปเป็นประจำทุกปี ๆ ละ 2 ครั้ง และทุกครั้งที่นำสัตว์เข้ามาใหม่ก็ต้องกักดูอาการและฉีดวัคซีนเสียก่อน
»
วัคซีนโค
»
ประเภทของเวชภัณฑ์
»
ตู้ยาประจำคอกโคนม
»
การใช้ปรอทวัดไข้
»
โรค
»
โรคปอดบวมในลูกโค
»
ฝี
»
ปัสสาวะแดง
»
วัณโรค
»
โรคแท้งติดต่อ(บรูเซลโลซีส)
» โรคปากและเท้าเปื่อย
»
โรคคอบวมหรือโรคคอดัง
»
โรคกาลีหรือโรคแอนแทรกซ์
»
โรคเต้านมอักเสบ
»
โรคไข้น้ำนม
»
หูดโค
»
ขี้กลากโค
»
ท้องอืดในโค
»
พยาธิภายในของโคนม
»
พยาธิตัวกลมในทางเดินอาหาร
»
พยาธิตัวตืด
»
พยาธิใบไม้ในตับ
»
หน่วยงานที่ให้คำแนะนำเกี่ยวกับโรคพยาธิ
»
การเก็บอุจจาระเพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
»
การให้ยาโคนม
»
การให้ยาทางปากแก่โค
»
การฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อโคนม
»
การฉีดยาเข้าใต้ผิวหนัง
»
การให้ยาภายนอก
»
การให้ยาสอดเต้านม
»
การทำลายซากโค