เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
การเลี้ยงนกกระจอกเทศ
กองบำรุงพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์
การเลี้ยงนกกระจอกเทศรุ่น
(อายุ 4-23 เดือน)
การเลี้ยงและการจัดการในระยะนี้มีความสำคัญมาก เพราะเป็นช่วงที่นกกระจอกเทศมีการเจริญเติบโตเร็วมาก ซึ่งมีน้ำหนักตัวไม่สอดคล้องกับขานกที่มีขนาดเล็ก จึงมักจะเกิดปัญหาเกี่ยวกับขารับน้ำหนักไม่ไหว หรือขาผิดปกติ ดังนั้นเพื่อให้ได้นกกระจอกเทศที่ดีจึงต้องเอาใจใส่เป็นอย่างมาก ซึ่งมีแนวทางการเลี้ยงดู ดังนี้
- ใช้อาหารสำหรับนกกระจอกเทศรุ่นที่ประกอบด้วยพลังงาน 2,400 กิโลแคลลอรี่
โปรตีน 18% แคลเซียม 1.6% ฟอสฟอรัส 0.8% และเสริมด้วยหญ้าแห้งหรือหญ้าสด
นอกจากนี้ควรควบคุมน้ำหนักตัวนกกระจอกเทศ
อย่างให้น้ำหนักเพิ่มเร็วเกินไปเพราะขายังพัฒนาไม่เต็มที่ที่จะรับน้ำหนักตัวนกกระจอกเทศที่เพิ่มอย่างรวดเร็ว
- ควบคุมการระบายอากาศภายในโรงเรือน
ส่วนบริเวณภายนอกสำหรับให้นกกระจอกเทศเดินเล่น
จะต้องระมัดระวังอย่าให้มีเศษวัสดุ เช่น เศษผ้า เหล็ก ตะปู ฯลฯ ตกหล่นอยู่
เพราะนกจะจิกกินซึ่งอาจจะทำให้นกกระจอกเทศตายได้ (Hardware Disease)
- จัดอัตราส่วนพื้นที่ให้เหมาะสมกับจำนวนนกกระจอกเทศซึ่งกำหนดพื้นที่ให้ตัวละ
1.5 ตารางเมตร
สำหรับในบริเวณที่เป็นโรงเรือนและบริเวณด้านนอกที่วิ่งเล่นตัวละอย่างน้อย 200
ตารางเมตร และไม่ควรเลี้ยงรวมเป็นฝูงเดียวกันมากกว่า 40 ตัว
- เพิ่มภาชนะให้น้ำและอาหารให้เหมาะสมกับจำนวนนกกระจอกเทศ
ที่เลี้ยงในแต่ละฝูง และควรทำความสะอาดภาชนะที่ให้น้ำและอาหารเป็นประจำทุกวัน
- ไม่จำเป็นต้องให้แสงไฟในเวลากลางคืน
นกกระจอกเทศจะได้รับแสงสว่างตามธรรมชาติก็เพียงพอแล้ว
- จดบันทึกข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับการใช้อาหาร อัตราการตาย การเจริญโตและอาการผิดปกติต่าง ๆ
»
ลักษณะของโรงเรือน
»
อัตราส่วนของพื้นที่
»
อาหารนกกระจอกเทศ
»
การฟักไข่นกกระจอกเทศ
»
การดูแลไข่ฟัก
»
อุณหภูมิและความชื้น
»
การส่องไข่
»
การกลับไข่
»
การเลี้ยงและการจัดการ
»
การเลี้ยงลูกนกกระจอกเทศอายุ 0-4 สัปดาห์
»
การเลี้ยงนกกระจอกเทศเล็ก (อายุ 1-3 เดือน)
» การเลี้ยงนกกระจอกเทศรุ่น (อายุ 4-23 เดือน)
»
การเลี้ยงนกกระจอกเทศพ่อ-แม่พันธุ์ (อายุ 2 ปีขึ้นไป)
»
ผลผลิตจากนกกระจอกเทศ