เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
การเลี้ยงนกกระจอกเทศ
กองบำรุงพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์
มีถิ่นกำเนิดในทวีปอัฟริกา สำหรับคนไทยแล้วจะพบเห็นนกกระจอกเทศก็เฉพาะตามสวนสัตว์เท่านั้น ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วนกกระจอกเทศเป็นสัตว์ที่ให้ผลตอบแทนหลายอย่างที่มีประโยชน์ เช่น หนังคุณภาพเยี่ยมดีกว่าหนังจระเข้เสียอีก เนื้อรสชาดอร่อยเหมือนเนื้อวัว แต่ไขมันและโคเลสเตอรอลต่ำกว่ามาก ขนทำเครื่องประดับ แถมไข่ยังใช้แกะสลัก หรือวาดลวดลายเป็นเครื่องประดับอีกด้วย ซึ่งประโยชน์ดังกล่าวเป็นคุณลักษณะของสัตว์เศรษฐกิจอย่างแท้จริง ซึ่งสามารถเปรียบเทียบการให้ผลผลิตของโคกับนกกระจอกเทศ ได้ดังนี้
อาจจะเป็นของแปลก ถ้าเมืองไทยจะตั้งฟาร์มเลี้ยงนกกระจากเทศแต่โดยความเป็นจริงแล้วในต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส อังกฤษ อิสราเอล ออสเตรเลีย เป็นต้น มีฟาร์มเลี้ยงนกกระจอกเทศมากมาย อย่างในอเมริกามีถึง 3,000 กว่าฟาร์ม แล้วยังตั้งเป็นสมาคมผู้เลี้ยงนกกระเทศอีกด้วย หนังของนกกระจอกเทศเป็นที่นิยมของผู้ผลิตชั้นนำ เช่น คริสเตียนดิออร์ เทสท์โตนี ฯลฯ เพื่อใช้ผลิตรองเท้าบู๊ต เข็มขัด กระเป๋าถือ กระเป๋าเดินทาง เป็นต้น ซึ่งประเทศที่นิยมสินค้าจากหนังนกกระจอกเทศ คือ ญี่ปุ่น เยอรมัน ฝรั่งเศส อเมริกา และอิตาลี สำหรับเนื้อนกกระจอกเทศก็มีแนวโน้มที่จะทดแทนเนื้อวัว เพราะเนื้อมีสีแดง เหมือนเนื้อวัว โดยเฉพาะในกลุ่มชนที่ไม่นิยมบริโภคเนื้อวัว เพราะรสชาดเหมือนเนื้อวัวแต่โปรตีนสูงกว่าและโคเลสเตอรอลต่ำกว่า ดังนั้น เพื่อเป็นข้อมูลแก่เกษตรกรไทยหรือผู้ที่สนใจเกี่ยวกับ การเลี้ยงนกกระจอกเทศ กลุ่มงานสัตว์ปีก กองบำรุงพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์ จึงได้รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ จากหนังสือของต่างประเทศมาเพื่อให้ท่านได้ศึกษาเป็นข้อมูลเบื้องต้น ซึ่งหวังว่าเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นประโยชน์แก่ท่านบ้าง
การเลี้ยงนกกระจอกเทศ ก็เหมือนกับการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจชนิดอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น โค สุกร เป็ด ไก่ ฯลฯ ย่อมจะต้องมีโรงเรือน อาหาร การจัดการเลี้ยงดู เป็นต้น ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญในการผลิตที่ผู้เลี้ยงจะต้องให้ความสนใจและศึกษาเพื่อจะได้จัดให้เหมาะสมกับพันธุ์สัตว์
»
ลักษณะของโรงเรือน
»
อัตราส่วนของพื้นที่
»
อาหารนกกระจอกเทศ
»
การฟักไข่นกกระจอกเทศ
»
การดูแลไข่ฟัก
»
อุณหภูมิและความชื้น
»
การส่องไข่
»
การกลับไข่
»
การเลี้ยงและการจัดการ
»
การเลี้ยงลูกนกกระจอกเทศอายุ 0-4 สัปดาห์
»
การเลี้ยงนกกระจอกเทศเล็ก (อายุ 1-3 เดือน)
»
การเลี้ยงนกกระจอกเทศรุ่น (อายุ 4-23 เดือน)
»
การเลี้ยงนกกระจอกเทศพ่อ-แม่พันธุ์ (อายุ 2 ปีขึ้นไป)
»
ผลผลิตจากนกกระจอกเทศ
- จัดทำโดย
ศิริพันธ์ โมราถบ ,สวัสดิ์ ธรรมบุตร ,ไสว นามคุณ