เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
การเลี้ยงกระต่าย
ศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติ
สำนักงานส่งเสริมและฝึกอบรม
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม
โดย ชมรมกระต่าย คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เกร็ดความรู้
1. กระต่ายกินน้ำตายจริงหรือไม่ ?
ปกติแล้วกระต่ายเป็นสัตว์ที่มีความต้องการน้ำเช่นเดียวกับสัตว์ชนิดอื้น ๆ
ถ้ากระต่ายได้รับ น้ำน้อย จะทำให้เติบโตช้า
แต่การที่คนส่วนใหญ่เห็นว่ากระต่ายที่เลี้ยงกันนั้นไม่ได้ไห้น้ำเลยให้แต่ผัก หญ้า
ก็ยังเห็นกระต่ายปกติดี
เนื่องจากว่าในผักและหญ้านั้นมีน้ำมากเพียงพอที่จะทำให้กระต่าย มีชีวิตอยู่ได้
แต่ถ้าให้น้ำเพิ่มด้วยจะทำให้กระต่ายเติบโตเร็วยิ่งขึ้น การที่กระต่ายกินน้ำแล้วตาย
อาจเนื่องมาจากภาชนะที่ใส่น้ำเป็นชามที่กระต่ายสามารถทำล้มได้ง่ายทำให้น้ำหกเจิ่งนองพื้น
ซึ่งจะทำให้กระต่ายเป็นหวัดหรือปอดบวม และมีโรคอื่น ๆ แทรกช้อนจนทำให้ตายได้
2. จับท้องกระต่ายจะทำให้กระต่ายตายจริงหรือไม่ ?
การจับกระต่ายที่ถูกวิธีและทำด้วยความนุ่มนวลโอกาสที่กระต่ายจะตายนั้นมีน้อยมาก
แต่สัญชาติญาณของกระต่ายเมื่อโดนจับบริเวณท้องมันก็จะดิ้น
คนที่จับไม่เป็นหรือไม่รู์โดยเฉพาะ เด็ก ๆ
เมื้อเห็นมันดิ้นก็จะยิ่งจับหรือบีบให้แน่นยิ่งขื้นเพราะกลัวว่ากระต่ายจะหลุดจากมือ
ทำให้อวัยวะภายใน ได้รับอันตรายจนกระทั่งกระต่ายช๊อคตายได้
3. ทำไมกระต่ายสีขาวจะมีตาสีแดง?
การที่กระต่ายจะมีตาสีอะไรขึ้นกับเม็ดสี(Pigment) ที่อยู่ในตา
แต่ในกระต่ายสีขาวเช่น พันธุ์นิวซีแลนด์ไวท์หรือแคลลิฟอร์เนียน ไม่มีเม็ดสี
ทำให้เห็นเส้นเลือดสีแดงในตาซึ่งจะ สะท้อนแสงให้เราเห็นตากระต่ายเป็นสีแดง
ส่วนในกระต่ายพันธุ์พื้นเมืองนั้นมีตาสีดำ เนื่องจากมันมีเม็ดสีเป็นสีดำในตานั่นเอง
4. กระต่ายเป็นสัตว์ทื่จัดอยูในกลุ่มสัตว์ฟันแทะเช่นเดียวกับหนูใช่หรือไม่ ?
แต่ก่อนนักสัตววิทยาได้จัดให้กระต่ายอยู่ในกลุ่มสัตว์ฟันแทะเช่นเดียวกับหนู
ต่อมาได้พบว่ากระต่ายกับหนูนั้นมีข้อแตกต่างกันที่กระต่ายมีฟันตัดหน้าบน 4 ชี่
ส่วนหนู มีเพียง 2 ชี่ ทำให้มีการจัดกลุ่มใหม่ โดยให้กระต่ายอยู่ในอันดับกระต่าย
(Order Lagomorpha) และหนูจัดอยู่ในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Order Rodentia)
5. ทำไมช่วงที่อากาศร้อนจัด ๆ กระต่ายถืงช็อคตาย ?
เนื่องจากกระต่ายเป็นสัตว์ที่ไม่มีต่อมเหงื่อ
ทำให้การระบายความร้อนเป็นไปได้ยาก ในช่วงที่อากาศร้อน ๆ กระต่ายจะหายใจถี่ขึ้น
โดยสังเกตุที่จมูกจะ สั่นเร็วขึ้น และมีการ
ระบายความร้อนที่เส้นเลือดแดงใหญ่กลางหูมากขึ้น แต่ก็ยังระบายความร้อนไม่ทันทำให้
อุณหภูมิในร่างกายสูงมากจนถึงขั้นทำให้ช๊อคตายได้
บรรณานุกรม
- ชมรมกระต่าย. 2530. "การเลี้ยงกระต่าย" มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (โรเนียว)
- สังเวียน โพธิ์ศรี. 2528. "การเลี้ยงกระต ่าย" . มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
- สมศักดิ์ บัณฑุปัย. 2528. "การเลี้ยงกริะต่าย" สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- Dale L.Brooks, 1986. Rabbits. Mares, and Pikas (Lagomorpha). In Zoo and Wild Animal Medicine 2 nd edition, W.H. Saunders Company P.711-724.
- Donaled D., Holmes. 1984. Clinical Laboratory Animal Medicine: and introduction. The Iowa State University. Pas, Amcs. Iowa. p.45-58.
- National Reseach Council. 1977. Nutrient requirement of rabbits. 2 nd edition, National Academy of Science, Washington D.C.
»
โรงเรือนและอุปกรณ์การเลี้ยง
»
อาหาร
»
ความต้องการโภชนะของกระต่าย
»
การให้อาหารกระต่าย
»
วิธีจับกระต่าย
»
การดูเพศกระต่าย
»
การขยายพันธุ์
»
การป้องกันและควบคุมโรค
»
โรคของกระต่าย
» เกร็ดความรู้