เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
การเลี้ยงกระต่าย
ศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติ
สำนักงานส่งเสริมและฝึกอบรม
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม
โดย ชมรมกระต่าย คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โรงเรือนและอุปกรณ์การเลี้ยง
1. โรงเรือน
ลักษณะของโรงเรือนที่ดีควรตั้งอยู่ในแนวทิศตะวันออกกับตะวันตก มีลวดตาข่ายล้อม
รอบเพื่อป้องกันแมลงและสัตว์ ซึ่งจะทำอันตรายและนำโรคมาสู่กระต่าย
หลังคาของโรงเรือนจะ ต้องกันแดดและฝนได้ดี พื้นภายในโรงเรือนควรเป็นพื้นคอนกรีต
เพื่อไม่ให้เปียกชื้นและทำ ความสะอาดได้ง่าย
กรณีที่ผู้เลี้ยงมีพื้นที่ในบ้านหรือใต้ชายคาบ้านมากพอสมควร และกระต่าย
ที่เลี้ยงมีจำนวนไม่มากนัก ก็อาจจะไม่จำเป็นต้องมีโรงเรือน
2. กรง
ขนาดของกรงขึ้นกับจำนวนกระต่าย ถ้าเป็นกรงเดี่ยวควรมีขนาดกว้าง 50-60 เชนติเมตร ยาว 60-90 เชนติเมตร สูง 45-60 เซนติเมตร ถ้าต้องการเลี้ยงกระต่ายหลายตัว อาจทำเป็นกรงตับและซ้อนกัน 2-3 ชั้น หรือถ้าจะขังหลายๆ ตัวรวมกัน กรงที่ใช้จะต้องใหญ่พอ ที่กระต่ายจะอยู่กันได้โดยไม่หนาแน่นเกินไป วัสดุที่ใช้ทำกรงอาจใช้ไม้ระแนง หรือลวดตาข่าย ที่มีช่องกว้างประมาณ 1/2 - 3/4 นิ้ว ถ้าเป็นกรงส่าหรับแม่กระต่ายเลี้ยงลูก ลวดตาข่ายที่ใช้บุพื้น ควรมีช่องขนาด 1/2 นิ้ว เพื่อป้องกันขาของลูกกระต่ายติดในร่องของลวด ถ้าเลี้ยงกระต่ายไม่กี่ตัว อาจชื้อกรงสำเร็จรูปที่มีขายตามร้านขายอุปกรณ์เลี้ยงสัตว์ทั่วไป แต่ต้องไม่ลืมว่ากรงที่ใช้จะต้อง มีขนาดใหญ่พอที่กระต่ายจะอยู่ได้อย่างสบาย และต้องแข็งแรงทนทาน มีอายุการใช้งานยาวนาน
3. อุปกรณ์การให้อาหาร
ควรใช้ถ้วยดินเผาขนาดเสนผ่าศูนย์กลาง 6 นิ้ว และมีน้ำหนักมาก พอที่กระต่ายจะ
ไม่สามารถทำล้มได้ อาจใช้กล่องใส่อาหารที่ทำด้วยอลูมิเนียมเป็นรูปสี่เหลี่ยม
หรือรูปครึ่ง วงกลมผูกแขวนติดกับข้างกรง ถ้าเป็นกระต่ายขุน
อาจใช้กล่องอาหารอัตโนมัติเพื่อที่กระต่าย จะได้กินอาหารตลอดทั้งวัน
4. อุปกรณ์การให้น้ำ
มีหลายแบบด้วยกัน เช่น ถ้วยดินเผาใส่น้ำ แต่มีข้อเสียคือ กระต่ายอาจถ่ายมูลหรือ
ปัสสาวะลงในถ้วยทำให้สกปรกได้ หรืออาจใช้ขวดอุดด้วยจุกยาง
ซึ่งมีรูส่าหรับสอดท่อทองแดง
วิธีใช้ให้นำขวดไปเติมน้ำจนเกือบเต็มขวดแล้วคว่ำขวดแขวนที่ข้างกรงกระต่ายให้ปลายท่อ
ทองแดงสูงระดับที่กระต่ายกินน้ำได้สะดวก ควรตัดท่อทองแดงให้โค้งพอเหมาะ น้ำจึงจะไหล
ได้ดีถ้าเลี้ยงกระต่ายเป็นจำนวนมาก ๆ อาจใช้อุปกรณ์ไห้น้ำแบบอัตโนมัติก็ได้
เพื่อประหยัด แรงงานและอุปกรณ์ แต่ค่าไซ้จ่ายค่อนข้างสูง
5. รังคลอด
ควรมีขนาดกว้างพอที่แม่กระต่ายและลูกกระต่ายอยู่ได้อย่างสบาย โดยทั่วไป
รังคลอดควรมีขนาดกว้าง 30 เชนติเมตร ยาว 40 เชนติเมตร สูง 15 เซนติเมตร พื้นรัง-
คลอดบุด้วยลวดตาข่ายขนาด 1/2 นิ้ว หรือใช้ไม้ตีปิดพื้นให้ทึบ
ปูพื้นด้วยฟางหรือหญ้าแห้ง
การทำความสะอาดโรงเรือนและกรงควรทำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง
เพี่อลดกลิ่นเหม็นที่เกิดจากมูลกระต่าย ส่วนภาชนะใส่น้ำและอาหารควรล้างทำความสะอาด
อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
» โรงเรือนและอุปกรณ์การเลี้ยง
»
อาหาร
»
ความต้องการโภชนะของกระต่าย
»
การให้อาหารกระต่าย
»
วิธีจับกระต่าย
»
การดูเพศกระต่าย
»
การขยายพันธุ์
»
การป้องกันและควบคุมโรค
»
โรคของกระต่าย
»
เกร็ดความรู้