เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
การเพาะเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย
กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
การเพาะผสมเทียมปลาดุกบิ๊กอุย
1. การเลี้ยงพ่อ-แม่พันธุ์
ควรเลี้ยงในบ่อดินที่มีขนาดตั้งแต่ 100 ตารางเมตรขึ้นไป โดยปล่อยในอัตรา 20-30
ตัว/ตรม. ที่ระดับความลึกของน้ำประมาณ 1.0-1.5 เมตร ควรมีการถ่ายเทน้ำบ่อย ๆ
เพื่อกระตุ้นให้ปลากินอาหารได้ดี
และพัฒนาระบบสืบพันธุ์ของปลาให้มีไข่และน้ำเชื้อดียิ่งขึ้นจะใช้เวลาประมาณ 3-4
เดือน
ฤดูกาลผสมพันธุ์ปลาดุก จะอยู่ในช่วงเดือนมีนาคม- ตุลาคมก่อนฤดูกาลผสมพันธุ์
ในช่วงเดือนกุมภาพันธุ์
ควรเริ่มคัดปลาที่มีไข่แก่สมบูรณ์บางส่วนมาเริ่มดำเนินการผสมเทียม
2. การคัดเลือกพ่อ - แม่พันธุ์
พ่อแม่พันธุ์ปลาดุกที่นำมาใช้ควรเป็นปลาที่สมบูรณ์ ไม่บอบช้ำ และควรมีอายุตั้งแต่ 1
ปีขึ้นไป การสังเกตลักษณะปลาเพศเมียที่ดีในการเพาะพันธุ์ดูได้ จากส่วนท้องจะอูมเป่ง
ไม่นิ่มหรือแข็งจนเกินไป ติ่งเพศจะมีลักษณะกลมมีสีแดง หรือชมพูอมแดง
ถ้าเอามือบีบเบา ๆ ที่ท้องจะมีไข่ลักษณะเป็นเม็ดกลมสีน้ำตาลอ่อนใสไหลออกมา
ส่วนปลาดุกเพศผู้จะมีติ่งเพศยาวเรียว มีสีชมพูเรื่อ ๆ
ปลาไม่ควรมีขนาดอ้วนหรือผอมจนเกินไป ขนาดพ่อ-แม่พันธุ์ปลาดุก
ควรมีขนาดน้ำหนักมากกว่า 200 กรัมขึ้นไป หรือปลาที่มีอายุประมาณ 7-8 เดือน หรือ 1
ปี ให้อาหารที่มีคุณภาพดี เพื่อให้มีไข่แก่ จะใช้เวลา 3-4 เดือน มีการถ่ายเทน้ำบ่อย
ๆ เพื่อกระตุ้นให้ปลาถึงวัยเจริญพันธุ์เร็วขึ้น ส่วนปลาดุกเทศเพศผู้นิยมใช้
ขนาดน้ำหนักตัวมากกว่า 500 กรัมขึ้นไป และควรเป็นปลาที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 1 ปี
ลำตัวเพรียวยาวและไม่อ้วนจนเกินไป
3. อุปกรณ์และวิธีการผสมเทียม
1. พ่อ-แม่พันธุ์ปลา
2. ฮอร์โมนต่อมใต้สมองปลา หรือฮอร์โมนสังเคราะห์ชนิดต่าง ๆ
3. โกร่งบดต่อมใต้สมอง
4. เข็มฉีดยา
5. เครี่องชั่งน้ำหนัก สามารถชั่งได้ถึงจุดทศนิยม 2 ตำแหน่ง
6. ภาชนะสำหรับผสมไข่ปลากับน้ำเชื้อ ได้แก่ กะละมังพลาสติก และขนไก่
7. น้ำเกลือและน้ำกลั่น
8. อุปกรณ์ในการกกไข่ปลา เช่น กระชัง อวนมุ้งเขียว
9. อุปกรณ์ในการอนุบาลลูกปลา
4. ชนิดและวิธีการฉีดฮอร์โมน
ฮอร์โมนที่ใช้ในการฉีดเร่งให้แม่ปลาดุกมีไข่แก่เพื่อที่จะรีดไข่ผสมกับน้ำเชื้อนั้นมีหลายชนิดซึ่งสามารถแยกได้
ดังนี้
1. ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง (pituitary gland) ได้แก่
ต่อมใต้สมองปลาชนิดต่าง ๆ เช่น ต่อมใต้สมองปลาจีน ปลาโรฮู่ ปลาสวาย ปลาไน เป็นต้น
การฉีดฮอร์โมนผสมเทียมปลาดุกอุย โดยใช้ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองจะต้องฉีดสองครั้ง
ครั้งแรกฉีดที่ระดับความเข้มข้น 1 โดส ทิ้งระยะห่าง 6 ชั่วโมง
จึงฉีดครั้งที่สองที่ระดับความเข้มข้น 2 โดส หลังจากนั้นประมาณ 9 - 10 ชั่วโมง
เมื่อสังเกตเห็นว่ามีไข่ตกออกมาจากช่องท้องของแม่ปลาบางตัวแล้ว
จึงรีดไข่ผสมกับน้ำเชื้อได้
การฉีดฮอร์โมนผสมเทียมปลาดุกเทศ สามารถไข้ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองฉีดเร่งให้แม่ปลามีไข่สุก โดยไข้ความเข้มข้นของฮอร์โมนได้เช่นเดียวกับการฉีดปลาดุกอุย แต่ระยะเวลาการรีดไข่หลังการฉีดเข็มสองจะใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง ซึ่งต่างจากปลาดุกอุย 5-6 ชั่วโมง
การใช้ต่อมใต้สมองฉีดเร่งให้แม่ปลาวางไข่ อาจใช้ร่วมกับฮอร์โมนสกัดเพื่อให้การฉีดไข่สะดวกขึ้น โดยใส่ฮอร์โมนสกัดในระดับความเข้มข้น 100-300 ไอยู/แม่ปลาน้ำหนัก 1 กก. ร่วมกับการใช้ต่อมใต้สมองในอัตราเท่าเดิม
ส่วนปลาเพศผู้สามารถกระตุ้นให้มีน้ำเชื้อมากขึ้น โดยใช้ต่อมใต้สมองที่ระดับความเข้มข้น 0.5 โดส ฉีดให้กับพ่อปลาพร้อมกับการฉีดฮอร์โมนให้กับแม่ปลาครั้งที่สอง
2. ฮอร์โมนสกัด (Extract hormone) ได้แก่ เอช ซี จี HCG (Human chorionic Gonadotropin) มีหน่วยความเข้มข้นเป็นไอ.ยู. (l.U. - lnternational unit)
การฉีดฮอร์โมนผสมเทียมปลาดุกอุย โดยใช้ฮอร์โมนสกัด (HCE) สามารถฉีดเร่งให้แม่ปลามีไข่สุกได้โดยการฉีดครั้งเดียวที่ระดับความเข้มข้น 3,000-5,000 ไอยู/แม่ปลาน้ำหนัก 1 กก. หลังจากฉีดฮอร์โมนสกัดเป็นเวลาประมาณ 15 -16(1/2) ชั่วโมง สามารถรีดไข่ผสมน้ำเชื้อได้
การฉีดฮอร์โมนผสมเทียมปลาดุกเทศ โดยใช้ฮอร์โมนสกัด (HCG) ฉีดเร่งให้แม่ปลามีไข่สุกได้ โดยการฉีดครั้งเดียวเหมือนกับปลาดุกอุยที่ระดับความเข้มข้น 2,000 -4,000 ไอยู/แม่ปลาน้ำหนัก 1 กก.หลังจากฉีดฮอร์โมนเป็นเวลาประมาณ 9(1/2) - 11 ชั่วโมง สามารถรีดไข่ผสมเทียมได้
ในเพศผู้การกระตุ้นให้พ่อพันธุ์มีน้ำเชื้อมากขึ้น โดยการฉีดฮอร์โมนสกัดครั้งเดียวที่ระดับความเข้มข้น 200 - 400ไอยู/พ่อปลาน้ำหนัก 1 กก.ประมาณ 6 ชั่วโมง ก่อนผ่าเอาถุงน้ำเชื้อออกมาไข้ในการผสมเทียม
3. ฮอร์โมนสังเคราะห์ (Synthetic hormone) ได้แก่ LHRHa หรือ LRH-a มีหน่วยความเข้มข้นเป็นไมโครกรัม (ug) ซึ่งในการฉีดกับปลาดุกต้องใช้ร่วมกับสารระงับการทำงานของระบบการหลั่งฮอร์โมนคือ โดมเพอริโดน (Domperidone) หรือมีชื่อทางการค้าว่าโมทีเลียม (Motilium) ซึ่งมีหน่วยเป็น มิลลิกรัม (mg) ขนาดที่มีขายโดยทั่วไปคือ เม็ดละ 1O มิลลิกรัม
การฉีดฮอร์โมนผสมเทียมปลาดุกอุย โดยไข้ฮอร์โมนสังเคราะห์สามารถฉีดเร่งให้แม่ปลาดุกอุยมีไข่สุกได้ โดยการฉีดครั้งเดียวที่ระดับความเข้มข้น 20-30 ไมโครกรัมแม่ปลาน้ำหนัก 1 กก. ร่วมกับการใส่โดมเพอริโดนที่ระดับความเข้มข้น 5 มิลลิกรัม/ แม่ปลาน้ำหนัก 1 กก.หลังจากฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์นี้เป็นเวลาประมาณ 16 ชั่วโมง สามารถรีดไข่ผสมน้ำเชื้อได้
การฉีดฮอร์โมนผสมเทียมปลาดุกเทศ โดยใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์สามารถฉีดเร่งให้แม่ปลาดุกเทศมีไข่สุกได้โดยการฉีดครั้งเดียวที่ระดับความเข้มข้น 15-30 ไมโครกรัม / แม่ปลาน้ำหนัก 1 กก. ร่วมกับการใส่โดมเพอริโดนที่ระดับความเข้มข้น 5 มิลลิกรัม/แม่ปลาน้ำหนัก 1 กก. หลังจากฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์เป็นเวลาประมาณ 10 ชั่วโมง สามารถรีดไข่ผสมน้ำเชื้อได้
ในปลาเพศผู้การกระตุ้นให้พ่อพันธุ์มีน้ำเชื้อมากขึ้น โดยการฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์ที่ระดับความเข้มข้น 5 ไมโครกรัม/พ่อปลาน้ำหนัก 1 กก.ร่วมกับโดมเพอริโดน 5 มิลลิกรัม/พ่อปลาน้ำหนัก 1 กก.ก่อนผ่าถุงน้ำเชื้อประมาณ 10 ชั่วโมง
5. ปริมาณสารละลายที่ใช้
หลังจากที่เตรียมฮอร์โมนที่จะฉีดให้กับพ่อ-แม่พันธุ์ปลาดุกแล้ว
การคำนวณสารละลายที่จะผสมกับฮอร์โมนเพื่อฉีดให้กับพ่อ-แม่พันธุ์ปลาเป็นเรื่องที่ควรคำนึง
คือ จะต้องใช้น้ำกลั่นหรือน้ำสะอาดเติมในปริมาณที่เหมาะสม โดยการฉีดปลาดุกขนาด
200-500 กรัม จะใช้ปริมาณสารละลายผสมแล้ว ประมาณ 0.3-0.7 ซีซี ส่วนปลาดุกขนาด
500-2,000 กรัม ควรใช้ปริมาณสารละลายผสมประมาณ 0.4 -1.2 ซีซี ส่วนปลาดุกขนาด 2,000
กรัมขึ้นไปใช้ สารละลายประมาณ 1.0-2.5 ซีซี
6. ตำแหน่งที่ฉีดฮอร์โมน
การฉีดฮอร์โมนปลาดุกนั้น ตำแหน่งที่เหมาะสมที่สุดคือ
บริเวณกล้ามเนื้อใต้ครีบหลังส่วนต้นเหนือเส้นข้างตัว โดยใช้เข็มเบอร์ 22-24
แทงเข็มเอียงทำมุมกับลำตัวประมาณ 30 องศา แทงลึกประมาณ 1 นิ้ว/(2 เซนติเมตร)
ในกรณีที่ต้องฉีดสองครั้ง
ควรฉีดครั้งที่สองสลับข้างกับการฉีดครั้งแรกหลังจากฉีดฮอร์โมนปลาดุก
แล้วขังในภาชนะที่มีระดับน้ำเพียงท่วมหลังพ่อ-แม่พันธุ์ปลาเท่านั้น
เพราะถ้าใส่น้ำมากเกินไปปลาจะบอบช้ำมาก
ในกรณีที่ต้องฉีดสองครั้ง ควรฉีดครังที่สองสลับข้างกับการฉีดครั้งแรก
หลังจากฉีดฮอร์โมนปลาดุกแล้วขังในภาชนะที่มีระดับน้ำเพียงท่วมหลังพ่อ-แม่พันธุ์ปลาเท่านั้น
เพราะถ้าใส่น้ำมากเกินไปปลาจะบอบช้ำมาก
7. การรีดไข่ผสมน้ำเชื้อ
การรีดไข่ของปลาดุกเพื่อผสมกับน้ำเชื้อนั้นใช้วิธีกึ่งเปียก
เป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุด
นำแม่ปลาที่ได้รับการฉีดฮอร์โมนและมีไข่แก่เต็มที่แล้วมารีดไข่ใส่ในภาชนะผิวเรียบ
เช่น กะละมังเคลือบ พร้อมกันนี้ผ่าเอาถุงน้ำเชื้อจากพ่อปลา นำมาวางบนผ้ามุ้งเขียว
แล้วขยี้ให้ละเอียดพร้อมกับเทน้ำเกลือเข้มข้นประมาณ 0.7 %
หรือน้ำสะอาดลงบนผ้ามุ้งเขียวที่ขยี้ถุงน้ำเชื้อให้น้ำไหลผ่านเพื่อให้น้ำเชื้อลงไปผสมกับไข่
ผสมไข่กับน้ำเชื้อให้เข้ากันโดยการคนเบา ๆ ด้วยขนไก่ประมาณ 2-3 นาที
จึงนำไข่ที่ได้รับการผสมแล้วไปล้างน้ำสะอาด 1 ครั้ง แล้วนำไปฟัก
น้ำเชื้อจากปลาตัวผู้หนึ่งตัวสามารถผสมกับไข้ที่ได้จากการรีดปลาเพศเมียประมาณ 10
ตัว
8. การฟักไข่
ไข่ปลาดุกอุยเป็นไข่ติด ไข่ที่ดีควรมีลักษณะกลม มีน้ำตาลเข้ม
ไข่ของปลาดุกเทศก็เป็นไข่ติด เช่นเดียวกับปลาดุกอุย
ไข่ที่ดีควรมีลักษณะกลมและมีสีเขียวเข้ม
นำไข่ปลาดุกที่ได้รับการผสมกับน้ำเชื้อแล้วไปฟัก โดยโรยไข่บนผ้ามุ้งเขียวเบอร์ 20
ที่ขึงตึงที่ระดับต่ำกว่าผิวน้ำประมาณ 5-10 เซนติเมตร
โดยระดับน้ำในบ่อที่ขึงผ้ามุ้งเขียวนั้นมีระดับน้ำลึกประมาณ 20-30 เซนติเมตร
เปิดน้ำไหลผ่านตลอดเวลาและควรมีเครื่องเพิ่มอากาศใส่ไว้ในบ่อกกไข่ปลาด้วย
ไข้ปลาดุกที่ได้รับการผสมจะพัฒนาและฟักเป็นตัวโดยใช้เวลาประมาณ 21-26 ชั่วโมง
ที่อุณหภูมิของน้ำ 28-30 องศาเซลเซียส ลูกปลาดุกที่ฟักออกเป็นตัว
จะหลุดลอดตาของมุ้งเขียวลงสู่พื้นก้นบ่อด้านล่าง
หลังจากลูกปลาหลุดลอดลงสู่พื้นก้นบ่อหมดแล้วจึงย้ายผ้ามุ้งเขียวที่ใช้ฟักไข่ออกจากบ่อฟักจะใช้เวลา
6-8 ชั่วโมง ลูกปลาจะค่อย ๆ พัฒนาเจริญขึ้นเป็นลำดับจนมีอายุประมาณ 48 ชั่วโมง
จึงเริ่มกินอาหาร
บ่อเพาะฟักลูกปลาดุกควรมีหลังคาปกคลุมป้องกันแสงแดดและน้ำฝนได้แม่ปลาขนาดประมาณ 1
กิโลกรัม จะได้ลูกปลาประมาณ 5,000 -20,000 ตัว
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฤดูกาลและขนาดแม่ปลา
» การเพาะผสมเทียมปลาดุกบิ๊กอุย
»
การอนุบาลลูกปลา
»
การเลี้ยงปลาขนาดตลาด
»
ขั้นตอนการเลี้ยง
»
วิธีป้องกันการเกิดโรคในปลาดุกลูกผสมที่เลี้ยง
»
โรคของปลาดุกเลี้ยง