เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
การจัดการดินและการใช้ปุ๋ยในไร่อ้อย
โดย ปรีชา พราหมณีย์ ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี
สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ดินที่ผ่านการไถพรวนปลูกอ้อยมาเป็นเวลานาน ย่อมเสื่อมสภาพลงไม่ว่าจะเป็นทางด้านโครงสร้างหรือความอุดมสมบูรณ์ สิ่งเหล่านี้ทำให้การเจริญเติบโตและผลผลิตของอ้อยลดลง การจัดการดินและปุ๋ยที่ถูกวิธีสามารถปรับปรุงคุณสมบัติดังกล่าวของดินให้ดีขึ้น หรือช่วยให้ดินเสื่อมสภาพช้ากว่าที่ควรจะเป็น ทำให้ผลผลิตของอ้อยสูงขึ้น หรือรักษาระดับของผลผลิตไม่ให้ลดต่ำลง การใส่ปุ๋ยที่ถูกวิธี ถูกชนิดและปริมาณการใช้ ทำให้อ้อยใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการลงทุนที่คุ้มค่า มิฉะนั้นจะเหมือนกับเอาเงินไปหว่านทิ้ง เพราะราคาปุ๋ยในปัจจุบันค่อนข้างแพง ปุ๋ยที่ใช้กันอยู่ก็สูญเสียไปได้ง่าย ไม่ว่าจะถูกชะล้างลงลึกจนรากอ้อยดูดไม่ถึง หรือการระเหยขึ้นไปในอากาศ การใส่ปุ๋ยในขณะที่อ้อยไม่ต้องการธาตุอาหาร หรือต้องการน้อยก็เป็นการลงทุนที่ไม่ก่อประโยชน์ใดๆทั้งสิ้น
เกษตรกรจึงควรมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการจัดการดิน และการใช้ปุ๋ยอย่างถูกต้อง สิ่งเหล่านี้ต้องอาศัยหลักวิชาการและประสบการณ์บ้าง ตลอดจนหมั่นตรวจตราสังเกตลักษณะของดินและอาการของอ้อยที่แสดงออก เพื่อจะได้หาวิธีจัดการได้ถูกต้อง หวังว่าเอกสารฉบับนี้ จะช่วยให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยและผู้สนใจได้รับความรู้ความเข้าใจ เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงดินและการใช้ปุ๋ยเพื่อเพิ่มผลผลิตของอ้อยได้อย่างถูกต้องต่อไป
»
ชนิดของดินที่ใช้ปลูกอ้อย
»
หลักการพิจารณาคุณสมบัติของดิน
»
การจัดการดินทางด้านกายภาพ
»
การปรับปรุงและแก้ไขดินที่มีลักษณะทางกายภาพเลว
»
การปรับปรุงคุณสมบัติทางเคมีของดิน
»
การแก้ดินกรดและการใช้ปูน
»
การใช้ปุ๋ยเคมีกับอ้อย
»
ปริมาณปุ๋ยที่ใช้
»
การใส่ปุ๋ย