เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>

ข้อมูลการเกษตร

วิทยาการเกษตร

การผลิตเมล็ดพันธุ์ผัก

» การผลิตเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีน
» การปลูกข้าวโพดหวานเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์
» การปลูกผักกาดหอมเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์
» การปลูกแตงกวาเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์

การปลูกข้าวโพดหวานเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์

แมลงศัตรูที่สำคัญของข้าวโพดหวาน

1.   มอดดินหรือมอดช้าง
         มอดดินเป็นตัวงวงขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ในดิน  โดยจะกัดกินใบและต้นข้าวโพดที่เพิ่งงอกจนกระทั่งอายุ 2 สัปดาห์ให้เสียหายได้ ทำให้เกษตรกรต้องปลูกหรือหยอดเมล็ดใหม่ซ้ำหลายครั้ง มอดดินเป็นแมลงศัตรูข้าวโพดที่สำคัญชนิดหนึ่ง ในเขตสภาพดินร่วนปนทรายของอำเภอลำนารายณ์ จังหวัดลพบุรี เริ่มพบมอดดินประมาณเดือนมิถุนายน เพราะเป็นช่วงที่เกษตรกรเริ่มไถดินปลูกพืชและจะเพิ่มปริมาณขึ้นเรื่อย ๆ และพบมากที่สุดในเดือนสิงหาคม
        การป้องกันกำจัด
 การ ใช้สารเคมีกำจัดแมลงจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดเพราะมอดดินระบาดเข้าทำลายข้าวโพดตั้งแต่งอกถึงประมาณ  10 วันเท่านั้น การทำลายจะรุนแรงเนื่องจากต้นพืชยังเล็ก ดังนั้นก่อนปลูกควรคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารเคมีกำจัดแมลง ได้แก่ ฟูราไทโอคาร์บ (โบรเมื 40เอสดี) ในอัตรา 10-15 กรัมต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม หรือคาร์โบซัลแฟน (พอสซ์ 20% เอสที) อัตรา 20 กรัมต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม

2.  หนอนกระทู้หอมหรือหนอนหลอดหอม
        หนอนกระทู้หอมเป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็ก เป็นศัตรูอันดับหนึ่งของหอมแดงและผักทั่วไป แต่ก็พบหนอนกระทู้หอมทำลายกล้าข้าวโพดที่ปลูกในแถบอำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ทำให้ข้าวโพดในระยะต้นกล้าเสียหายอยู่เสมอ โดยหนอนจะกัดกินตั้งแต่ข้าวโพดงอกได้ประมาณ 3-5 วัน จนถึงอายุ 3 สัปดาห์ ทำให้ข้าวโพดที่ถูกกัดกินตายในที่สุด
        การป้องกันกำจัด
        -  ใช้เชื้อไวรัสเอ็นพีวี อัตรา 12 มิลลิเมตร ฉีดพ่น 3 ครั้ง ตอนเย็น แต่ละครั้งห่างกัน 7 วัน
         -  ใช้สารเคมีกำจัดแมลงไตรฟูมูรอน (อัสซิสติน 25% ดับบลิวพี) ในอัตรา 30 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือไซเปอร์เมทริน (5%อีซี) ผสมโมโนโครฟอส (20 % ดับบลิวเอสซี) อัตรา 40 มิลลิเมตรต่อน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่น จะให้ผลในการป้องกันกำจัดได้ดีในช่วง 2 สัปดาห์

3.  หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด
        หนอนเจาะลำต้นข้าวโพดเป็นแมลงศัตรูข้าวโพดฝักอ่อนชนิดหนึ่ง จะเข้าทำลายตั้งแต่ข้าวโพดอายุ 20 วันเป็นต้นไป โดยปกติแล้วหนอนชนิดนี้จะเป็นศัตรูสำคัญของข้าวโพดไร่ เพราะมีระบาดอยู่เป็นประจำ และจะทำให้ผลผลิตลดลง 10-15 เปอร์เซ็นต์ ส่วนในข้าวโพดฝักอ่อนนั้นจะทำให้คุณภาพของฝักเสียไป ถึงแม้ว่าหนอนจะชอบเข้าทำลายลำต้นมากกว่าฝักก็ตามแต่เมื่อมีการระบาดมากหนอนจะเข้าทำลายฝักด้วย
        การป้องกันกำจัด
        -   ใช้สารเคมีกำจัดแมลงคาร์โบฟูแรน (ฟูราดาน 3%จี) หยอดที่ยอดอัตรา 8 กิโลกรัมต่อไร่ จำนวน 2 ครั้ง ในช่วงที่ข้าวโพดมีอายุ 30 และ 45 วัน ส่วนข้าวโพดในระยะออกดอกออกไหม ควรใช้ไตรฟูมูรอน (อัลซิสติน 25%ดับบลิวพี) อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่น

4.  หนอนเจาะฝักข้าวโพด
    หนอนเจาะฝักข้าวโพดจะทำลายโดยการกัดกินไหมและเจาะปลายฝัก ทำให้ข้าวโพดหวานเสียหาย ส่วนข้าวโพดไร่ถ้าหนอนระบาดในระยะที่ฝักยังไม่ได้รับการผสมเกสรเต็มที่จะทำให้ฝักติดเมล็ดน้อย ถ้าระบาดในระยะฝักได้รับการผสมเกสรแล้วจะไม่มีผลกระทบต่อผลผลิตเพราะหนอนกัดกินที่ปลายฝักเท่านั้น
        การป้องกันกำจัด
        -  ในสภาพข้าวโพดไร่ทั่วไปไม่จำเป็นต้องพ่นสารเคมีกำจัดแมลงเพราะความเสียหายจะเกิดที่ส่วนของปลายฝักเพียงเล็กน้อย แต่ถ้าเป็นข้าวโพดหวานแม้มีหนอนเจาะเพียง 1 ตัวต่อฝักก็จะทำให้เสียราคาได้ ดังนั้นควรทำการป้องกันกำจัดโดยใช้เมโธมิล (แลนเนท 90% ดับบลิวพี) และโมโนโครโตฟอส (อโซดริน 56 % อีซี) ฉีดพ่นเฉพาะที่ฝัก

»» โรคที่สำคัญของข้าวโพดหวาน
»» แมลงศัตรูที่สำคัญของข้าวโพดหวาน
»» การตรวจแปลงปลูก
»» การเก็บเกี่ยวฝักแก่และการคัดฝัก
»» การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว
»» การปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย