เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>

ข้อมูลการเกษตร

วิทยาการเกษตร

การผลิตเมล็ดพันธุ์ผัก

» การผลิตเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีน
» การปลูกข้าวโพดหวานเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์
» การปลูกผักกาดหอมเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์
» การปลูกแตงกวาเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์

การปลูกข้าวโพดหวานเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์

โรคที่สำคัญของข้าวโพดหวาน

1.  โรคราน้ำค้างหรือโรคใบลาย
       สาเหตุ   เกิดจากเชื้อราเพอโรโนสเคอโรสปอร่า  ชอใจ (Peronosclerspora sorghi) ซึ่งสามารถติดไปกับเมล็ดพันธุ์ได้
       ลักษณะอาการ  ในระยะต้นกล้าจะสังเกตได้จากใบมีทางสีขาวเขียวอ่อนหรือเหลือง  เห็นได้ชัดจากฐานใบถึงปลายใบ ทำให้ต้นกล้าตายได้ แต่ถ้าเป็นระยะที่ข้าวโพดเติบโตแล้วต้นข้าวโพดจะแห้งตายก่อนออกดอกและฝัก โรคนี้จะระบาดมากในฤดูฝนตั้งแต่เดือนพฤษภาคมไปจนถึงสิ้นสุดฤดูฝน
       การป้องกันกำจัด
       - หมั่นตรวจไร่ข้าวโพดตั้งแต่เริ่มปลูก ถ้าพบข้าวโพดแสดงอาการให้ถอนเผาทำลายทันที เพื่อป้องกันการระบาดของเชื้อโรค
       - ใช้พันธุ์ต้านทานปลูก เช่น พันธุ์ซุปเปอร์สวีท ดีเอ็มอาร์
       - ใช้สารเคมีป้องกันโรค เช่น เอพรอน 35 เอสดี คลุกเมล็ดก่อนปลูกในอัตรา 7 กรัมต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม จะสามารถป้องกันโรคราน้ำค้างได้

2.  โรคใบไหม้แผลเล็ก
          สาเหตุ  เกิดจากเชื้อราเฮลมินโทสปอเรี่ยม เมย์ดิส (Helminthosporium maydis) ซึ่งสามารถติดไปกับเมล็ดจากแหล่งหนึ่งไปยังอีกแหล่งอื่นๆ ได้
          ลักษณะอาการ      ระยะแรกจะเกิดจุดเล็ด ๆ สีเขียวฉ่ำน้ำ ต่อมาจุดจะขยายออกตามความยาวของใบ โดยจำกัดด้านกว้างของแผลขนานไปตามเส้นใบ ตรงกลางแผลจะมีสีเทา ขอบแผลมีสีน้ำตาลขนาดของแผลไม่แน่นอน แผลใหญ่เต็มที่ขนาดกว้าง 6-12 มิลลิเมตร ยาว 6-27 มิลลิเมตร อาการของโรคเมื่อเกิดกับต้นกล้าอาจจะทำให้ต้นกล้าแห้งตายภายใน 3-4 สัปดาห์หลังปลูก โรคนี้ระบาดในฤดูฝนเช่นกัน และสร้างคอนิเดีย ๖(conidia) ปลิวไปตามลมทำลายต้นอื่นต่อไป
          การป้องกันกำจัด
            -  หมั่นตรวจแปลงเสมอตั่งแต่ระยะกล้า เมื่อพบโรคเริ่มระบาดให้ถอนทิ้งแล้วเผาทำลาย
            -  หลีกเลี่ยงการใช้เมล็ดจากแหล่งที่มีโรคระบาดมาทำพันธุ์
            -  ใช้สารเคมีไซเนบ โปรบิเนบ หรือมาเนบ ในอัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 7 วัน จำนวน 4 ครั้ง

3.  โรคใบไหม้แผลใหญ่
          สาเหตุ     เกิดจากเชื้อราเฮลมินโทสปอเรียม เทอชิคัม (Helminthosporium turcicum)  ซึ่งมีชีวิตข้ามฤดูได้ในซากของข้าวโพดที่ทิ้งอยูในไร่ทำให้เป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคในฤดูกาลต่อไป
          ลักษณะอาการ      ระยะแรกจะเกิดเป็นแผลขนาดใหญ่สีเทาหรือสีน้ำตาลยาวไปตามใบ หัวท้ายเรียวคล้ายรูปกระสวย แผลมีขนาด 2.5-5 เซนติเมตร จะเกิดที่ใบล่างๆ ก่อนแล้วลุกลามไปยังใบบนทั่วต้นเมื่อมีอาการรุนแรงแผลจะขยายตัวรวมกันเป็นแผลใหญ่ ทำให้ใบไหม้และแห้งตายในที่สุด โรคนี้จะระบาดในที่ๆมีความชื้นสูง อุณหภูมิประมาณ 20-22 องศาเซลเซียส มักพบในฤดูหนาวทางภาคเหนือของประเทศไทย การแพร่กระจายขของกลุ่มสปอร์จะปลิวไปโดยลมเข้าทำลายต้นอื่นต่อไป
        การป้องกันกำจัด
         -  หลีกเลี่ยงการปลูกข้าวโพดในแหล่งที่มีโรคระบาดโดยเฉพาะในช่วงเดือนพฤศจิกายน-มกราคม ซึ่งเป็นช่วงที่มีอากาศหนาวเย็นและมีน้ำค้างมาก
         -  ใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดเช่นเดียวกับโรคใบไหม้แผลเล็ก

4.   โรคสมัทหรือราเขม่าสีดำ
          สาเหตุ     เกิดจากเชื้อยูสทิลลาโก เมย์ดิส (Ustilago maydis) พบระบาดมากในสภาพที่แห้งแล้ง  อุณหภูมิระหว่าง 25-34 องศาเซลเซียส เชื้อโรคมักเข้าทำลายพืชทางบาดแผล เช่น บาดแผลที่เกิดจากเครื่องมือในการเขตกรรมหรือการถอดยอดเกสรตัวผู้ในแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์
          ลักษณะอาการ     ส่วนใหญ่จะพบบนฝัก รองลงมาพบบนเกสรตัวผู้และลำต้นโดยเฉพาะตรงข้อ เชื้อราจะสร้างปมขนาดใหญ่อาการระยะแรกจะมีสีขาวทั้งภายนอกและภายใน  หลังจากปมแก่ภายในจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีดำ จนในที่สุดจะมีลักษณะดำทั้งปม เมื่อแก่เต็มที่ผนังหุ้มปมจะแตกมองเห็นสปอร์สีดำของเชื้อราซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวแพร่กระจายโรคโดยปลิวไปกับลมและสปอร์นี้จะสามารถทนทานกับสภาพที่แห้งแล้งหรือมีความร้อนสูงได้
          การป้องกันกำจัด
          -  เผาทำลายต้นที่พบว่าเป็นโรคเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคต่อไป
          -  ระมัดระวังอย่าให้ต้นข้าวโพดเกิดบาดแผลเพราะเชื้อโรค แล้วปลูกพืชอื่นหมุนเวียนประมาณ 1-2 ปี แล้วจึงเปลี่ยนมาปลูกข้าวโพดใหม่

»» โรคที่สำคัญของข้าวโพดหวาน
»» แมลงศัตรูที่สำคัญของข้าวโพดหวาน
»» การตรวจแปลงปลูก
»» การเก็บเกี่ยวฝักแก่และการคัดฝัก
»» การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว
»» การปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย