เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>

ข้อมูลการเกษตร

วิทยาการเกษตร

การพัฒนาไหมในไทย

เรียบเรียงโดย สมหญิง ชูประยูร ,ศิริพร บุญชู ,ดร.สฤษดิพร ชูประยูร

» สถานการณ์การผลิต
» การตลาด
» บทบาทของกรมส่งเสริมการเกษตร
» ผ้าไหม

บทบาทของกรมส่งเสริมการเกษตร

การพัฒนาการเลี้ยงไหม

การปรับปรุงและพัฒนาการเลี้ยงไหม โดยการส่งเสริมให้เกษตรกรผู้เลี้ยงไหมซึ่งเป็นเกษตรกรยากจนเลี้ยงไหมใต้ถุนบ้าน หันมาพัฒนาวิธีการเลี้ยงไหมในห้องเลี้ยงไหม ที่สามารถป้องกันแมลงวันลาย และแมลงศัตรูไหมได้ นอกจากนี้การเลี้ยงไหมในห้องเลี้ยงไหมยังทำให้เกษตรกร สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการเลี้ยงไหมได้ โดยการส่งเสริมการเกษตรจะสนับสนุนห้องเลี้ยงแบบประหยัด ซึ่งเป็นห้องเลี้ยงไหมใต้ถุนบ้านแก่เกษตรกรยากจนและเลี้ยงไหมเป็นอาชีพเสริม เพื่อเสริมให้เกษตรกรเห็นความสำคัญของห้องเลี้ยงไหม และการปฏิบัติตามวิชาการขั้นตอนการเลี้ยงไหมที่ถูกต้อง ซึ่งโครงการดังกล่าวดำเนินการในช่วงเริ่มต้นของกรมส่งเสริม และสิ้นสุดโครงการในปี พ.ศ. 2535

สำหรับเกษตรกรที่มีแปลงหม่อนตั้งแต่ 1 ไร่ขึ้นไป กรมส่งเสริมการเกษตรจะสนับสนุนห้องเลี้ยงไหมแบบถาวรโดยแยกเป็นห้องเลี้ยงไหมเอกเทศขนาด 6x8 ตารางเมตร สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงไหมเป็นอาชีพหลักซึ่งเกษตรกรสามารถใช้เลี้ยงไหมได้รุ่นละ 2 แผ่น โดยเกษตรกรจะได้รับไข่ไหมพันธุ์ไทยลูกผสม ซึ่งผลิตโดยศูนย์ขยายพันธุ์ไหมทั้ง 9 แห่ง นอกจากนี้กรมส่งเสริมการเกษตร ยังได้สนับสนุนสารเคมีในการอบโรงเลี้ยงไหม และสารเคมีในการโรยตัวไหมแก่เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ ซึ่งในพื้นที่ที่จะเข้าร่วมโครงการจะต้องมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการไม่ต่ำกว่า 10 คนต่อจุดที่ดำเนินการส่งเสริม เพื่อสะดวกในการแนะนำส่งเสริม และการจำหน่ายเส้นไหมโดยเกษตรกรที่ได้รับห้องเลี้ยงไหม จะต้องยินยอมให้ห้องเลี้ยงไหมเป็นแหล่งสาธิตวิธีการเลี้ยงไหมแผนใหม่แก่เกษตรกรใกล้เคียง

สำหรับเกษตรกรขนาดกลาง ซึ่งมีพื้นที่ปลูกหม่อน 5-15 ไร่ จะสนับสนุน และส่งเสริมให้เลี้ยงไหมในเชิงพาณิช ย์ โดยเลี้ยงไหมพันธุ์ลูกผสมต่างประเทศเพื่อจำหน่ายรังไหมให้แก่โรงสาวไหมจำนวนไม่ต่ำกว่า 10 โรง โดยกรมส่งเสริมการเกษตร จะให้คำแนะนำในการเลี้ยงไหมที่ถูกต้องตามหลักวิชาการตลอดจนเป็นตัวกลางในการจัดหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้แก่เกษตรกร เพื่อนำมาใช้ในกิจกรรมปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ซึ่งได้แก่ การสร้างโรงเรือนในการเลี้ยงไหม และการจัดทำสวนหม่อน

นอกจากนี้ยังได้ดำเนินการ จดทะเบียนเกษตรกรผู้เลี้ยงไหม เพื่อผลิตรังไหม และเส้นไหมจำหน่าย เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนประสานการจำหน่ายรังไหม และเส้นไหมให้แก่โรงงานสาวไหม และผู้ทอผ้าไหม เพื่อให้การดำเนินงานส่งเสริมการเลี้ยงไหมได้ผลดียิ่งขึ้น กรมส่งเสริมการเกษตรได้ดำเนินการสนับสนุนการจัดตั้งกลุ่มผู้เลี้ยงไหม เพื่อดำเนินการส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงไหม ในรูปแบบของการเลี้ยงไหมแผนใหม่ โดยจัดตั้งกลุ่มผู้เลี้ยงไหมวัยอ่อนโดยส่งเสริมให้มีระบบการเลี้ยงไหมวัยอ่อนในหมู่บ้าน เพื่อจำหน่ายไหมวันอ่อนแก่สมาชิกใกล้เคียง กลุ่มผู้เลี้ยงไหมวัยแก่ และกลุ่มพัฒนาคุณภาพไหมเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพเส้นไหมของเกษตรกร

» ขยายพันธุ์หม่อนพันธุ์ดี
» การพัฒนาการเลี้ยงไหม
» จัดตั้งศูนย์ขยายพันธุ์ไหม

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย