เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
ความรู้เกี่ยวกับอาหารสัตว์
วัตถุดิบอาหารที่ให้พลังงาน
จะให้แป้งหรือพลังงานแก่สัตว์เป็นส่วนใหญ่ (ประมาณ 70 - 80 %)
แต่มีโปรตีนค่อนข้างต่ำ (ประมาณ 8 - 12%) ได้แก่
ข้าวโพด
การใช้เลี้ยงสัตว์และข้อจำกัด
- ใช้ผสมในอาหารข้นเป็นวัตถุดิบหลัก ระดับสูงถึงร้อยละ 80 ในสูตร
- ใช้ได้ทุกระยะของสัตว์เคี้ยวเอื้อง
- กรณีโคขุนระยะปลาย (2 - 3 เดือนสุดท้ายก่อนขาย) ให้ข้าวโพดบดเสริมประมาณวันละ 1 - 2 กก. / ตัว จะเร่งให้โคเพิ่มน้ำหนักและสะสมไขมันโดยโคขุนต้องได้รับอาหารหยาบและอาหารข้นตามปกติ
ข้อแนะนำการใช้
- ควรบดเมล็ดข้าวโพดก่อนใช้ เพื่อให้สัตว์กินและย่อยได้มากขึ้นแต่ไม่จำเป็นต้องบดให้ละเอียดเกินไป
- ข้าวโพดเมล็ดจะสังเกตสิ่งปลอมปนได้ง่ายกว่าข้าวโพดบดแล้ว สิ่งปลอมปนได้แก่ ซังข้าวโพด แกลบบด หินฝุ่น หรือดินป่น ซึ่งทำให้คุณภาพต่ำ
- ควรใช้ข้าวโพดที่แห้งสนิท (ความชื้นไม่เกิน 13 เปอร์เซ็นต์) ไม่ขึ้นรา ไม่มีมอด
มันสำปะหลัง (มันเส้น)
การใช้เลี้ยงสัตว์และข้อจำกัด
- ใช้เป็นวัตถุดิบหลักในอาหารข้น ระดับสูงถึงร้อยละ 70 - 80 ในสูตรอาหารโดยต้องมีแหล่งโปรตีนชนิดอื่น ๆ ร่วมด้วย เพราะมันเส้นมีโปรตีนต่ำ
- หัวมันสดมีสารพิษ คือกรดไฮโดรไซยานิคสูง ไม่ควรใช้เลี้ยงสัตว์โดยตรงจะเกิดพิษต่อสัตว์
- มันเส้นสามารถใช้ร่วมกับยูเรียได้ดี
ข้อแนะนำการใช้
- วิธีการลดสารพิษในมันสำปะหลัง ทำได้โดยการหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วตากแห้ง (มันเส้น) หรือนำไปหมัก
- มันเส้นคุณภาพดี ต้องผลิตจากส่วนของหัวมันล้วน ไม่มีรากหรือต้นหั่นปน และต้องไม่ขึ้นรา (สังเกตสีเขียวคล้ำ)
รำละเอียด
การใช้เลี้ยงสัตว์และข้อจำกัด
- ใช้ผสมอาหารข้น โดยทั่วไปใช้ระดับ 20 - 30% ในสูตร เนื่องจากราคาค่อนข้างแพง
- ใช้กับสัตว์ได้ทุกระยะ
- มีไขมันสูง เก็บไว้ไม่ได้นาน จะเหม็นหืน
ข้อแนะนำการใช้
- ควรใช้รำที่ใหม่ ไม่เหม็นหืน ไม่ปลอมปน
- รำที่ได้จากการสีข้าวนาปรัง พึงระวังพิษตกค้างของยาฆ่าแมลง จะมีผลต่อสัตว์ขนาอเล็กหรือแม่พันธุ์ที่อุ้มท้อง
กากน้ำตาล
คุณสมบัติ
- เป็นของเหลวข้น สี้น้ำตาลเข้ม มีกลิ่นหอม สัตว์ชอบกิน ได้จากโรงงานผลิตน้ำตาล
- ช่วยลดความเป็นฝุ่น เพิ่มรสชาดให้อาหาร
การใช้เลี้ยงสัตว์และข้อจำกัด
- ใช้ผสมในอาหารข้น ลูกสัตว์เล็กใช้ได้ไม่เกิน 8 - 9% ในสัตว์ขนาดใหญ่ใช้ได้ไม่เกิน 10 - 20%
- ใช้เร่งปฏิกิริยาและเพิ่มคุณภาพในการทำหญ้าหมัก อัตราที่ใช้คือ กากน้ำตาล 30 กก. ต่อหญ้าสดหรือพืชสด 1 ตัน
- ใช้ในรูปสารละลายยูเรีย กากน้ำตาลราดฟางข้าว เพื่อเพิ่มความน่ากินและคุณค่าทางอาหาร อัตราที่ใช้คือ ยูเรีย : กากน้ำตาล : น้ำ : ฟาง เท่ากับ 1.5 : 7.5 : 80 : 100 หน่วยน้ำหนักเดียวกัน
- ใช้ทำอาหารเสริมอัดแท่ง (UMMB) ตั้งไว้ให้สัตว์เลี้ยงกิน เหมาะสำหรับหน้าแล้งที่อาหารหยาบมีคุณภาพต่ำ
- กรณีโคขุนระยะปลาย (2 - 3 เดือนสุดท้ายก่อนขาย) ให้กากน้ำตาลเสริมให้เลียกินที่ละน้อย หลังจากให้อาหารหยาบและอาหารข้นตามปกติแล้ว จะช่วยเพิ่มน้ำหนักตัวและสะสมไขมันแทรกได้สูง
- อาหารที่ผสมกากน้ำตาลในระดับสูงไม่ควรเก็บไว้ใช้นานเกินไปจะมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยวหรือเกิดเชื้อรา เป็นเหตุให้สัตว์ท้องเสีย
» การผลิตเมล็ดพันธุ์หญ้ารูซี่
» การผลิตเมล็ดพันธุ์หญ้ากินนีสีม่วง
» การผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วฮามาต้า
» การผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเกรแฮมสไตโล
» การผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเซนโตรซีมา
» การปลูกและการจัดแปลงหญ้า
» แปลงหญ้าประเภทใดที่ควรปลูก
» ควรปลูกหญ้าพันธุ์ใด
» ควรปลูกถั่วอาหารสัตว์พันธุ์ใด
» การปลูกและจัดการแปลงหญ้าเลี้ยงสัตว์
» การใช้แปลงหญ้าเลี้ยงสัตว์
» ควรปลูกหญ้ากี่ไร่ต่อสัตว์ 1 ตัว
» การปลูกหญ้าสลับกับพืชไร่
» การสำรองอาหารสัตว์สำหรับช่วงฤดูแล้ง
» การทำหญ้าหมักในถุงพลาสติก
» การทำฟางปรุงแต่ง
» วัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นและการนำมาใช้เลี้ยงสัตว์
» วัตถุดิบอาหารที่ให้พลังงาน
» วัตถุดิบอาหารที่ให้โปรตีน
» วัตถุดิบอาหารประเภทแร่ธาตุ
» วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและอุตสาหกรรม