ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม >>
-
เครื่องดีด
เครื่องสี
เครื่องตี
เครื่องเป่า
เครื่องดีด
จะเข้
สัณนิษฐานว่า ได้รับอิทธิพลจากมอญ เดิมทำเป็น รูปร่างเหมือน จระเข้
ไทยใช้จะเข้มาตั้งแต่สมัยอยุธยา และคงเล่นอย่างบรรเลงเดียว ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ
พระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้นำจะเข้เข้ามาผสมแทนกระจับปี่
เพราะเสียงดีกว่าและดีดได้สะดวกกว่า
จะเข้เป็นเครื่องดนตรีที่วางดีดตามแนวนอน ทำด้วยไม้ท่อนขุดเป็นโพรงอยู่ภายใน
นิยมใช้ไม้แก่นขนุน เพราะให้เสียงกังวาลดี ด้านล่างเป็นพื้นไม้ ซึ่งมักใช้ไม้ฉำฉา
เจาะรูไว้ให้เสียงออกดีขึ้น มีขาอยู่ตอนหัว 4 ขา ตอนท้าย 1 ขา มีสาย 3 สาย คือ
สายเอก(เสียงสูง) สายกลาง(เสียงทุ้ม) ทั้งสองสายนี้ทำด้วยเอ็นหรือไหมฟั่นเป็นเกลียว
สายที่สามเรียก สายลวด(เสียงต่ำ) ทำด้วยลวดทองเหลือง
ทั้งสามสายนี้ขึงจากหลักตอนหัวผ่าน โต๊ะ (กล่องทองเหลืองกลวง) ไปพาดกับ "หย่อง"
แล้วสอดลงไปพันกันด้านลูกบิด(ปักทำด้วยไม้หรืองา) สายละลูก
โต๊ะนี้ทำหน้าที่ขยายเสียงของจะเข้ให้คมชัดขึ้น ระหว่างราง ด้านบนกับสายจะเข้
จะมีชิ้นไม้เล็ก ๆ ทำเป็นสันหนาเรียกว่า "นม" 11 นม วางเรียงไปตามแนวยาว
เพื่อรองรับการกด จากนิ้วมือขณะบรรเลง นมเหล่านี้มีขนาดสูงต่ำลดหลั่นกันไป
ทำให้เกิดเสียงสูง-ต่ำ เวลาดีดจะใช้ไม้ดีดที่ทำด้วยงาหรือเขาสัตว์ กลึงเป็นท่อนกลม
ปลายเรียวแหลมมน ดีดปัดสายไปมา ไม้ดีดนี้จะพันติดกับนิ้วชี้มือขวา
ส่วนมือซ้ายใช้กดนิ้วบนสายถัดจากนม ไปทางซ้ายเล็กน้อย
เพื่อให้เกิดเสียงสูงต่ำตามที่ต้องการ
กระจับปี่
จะเข้
พิณน้ำเต้า