สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
วิกฤตศรัทธาผู้นำไทย
โดย รองศาสตราจารย์ ดร.อุไรวรรณ ธนสถิตย์
การศึกษาเรื่องการเมือง (Politics) คือ การศึกษาความสัมพันธ์ของมนุษย์ในแง่การบังคับบัญชา และการถูกบังคับบัญชา การควบคุม และการถูกควบคุม การเป็นผู้ปกครอง และการถูกปกครอง สิ่งดังกล่าวมาทั้งหมดเกี่ยวพันกับอำนาจ หรืออาจเรียกได้ว่าอำนาจทางการเมือง ความเกี่ยวพันนี้เป็นความเกี่ยวพันในแง่ของการได้มาซึ่งอำนาจ และการรักษาไว้ซึ่งอำนาจดังกล่าวว่าทำอย่างไรจึงจะได้อำนาจนี้มา และเมื่อได้มาแล้วจะรักษาไว้ได้อย่างไร
หน้าที่หลักจะถูกดำเนินไปโดยรัฐบาล ซึ่งมีหัวหน้าคณะรัฐบาล คือ นายกรัฐมนตรี เป็นผู้นำสูงสุดในการบริหาร โดยมีองค์กร สมาคม สถาบันต่างๆ ทางการเมือง และกลุ่มผลประโยชน์เคียงคู่ไปด้วย สถาบันหลักคือ พรรคการเมือง การเมืองโดยตัวของมันเองแล้วไม่ใช่สิ่งดีหรือชั่ว แต่เป็นที่น่าเสียใจที่ประชาชนจะเสียความรู้สึกเมื่อนักการเมืองส่วนใหญ่ตกอยู่ในวังวนของการแสวงหาอำนาจ และการขยายอำนาจมากกว่าจะเป็นการเมืองในด้านบวกที่มุ่งแต่กิจกรรมในด้านการยกระดับการพัฒนาชีวิต เพื่อความสุขและสวัสดิภาพของคนส่วนใหญ่ในสังคม
Hans J. Morgenthau ได้เคยกล่าวย้ำว่า การเมืองทุกชนิดนั้นเป็นเรื่องของการต่อสู้กันเพื่ออำนาจ การเมืองเป็นเรื่องการรวมกันของเป้าหมาย หรือนโยบายและอำนาจซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการบรรลุเป้าหมายนั้น สิ่งที่ดำเนินไปพร้อม ๆ กับความเป็นสถาบันที่เป็นทางการของรัฐก็คือ ระบบการเมือง ซึ่งเป็นระบบที่เป็นกลไกของตนเองอันค่อนข้างยุ่งยาก เพราะต้องไปเกี่ยวข้องกับทัศนคติ และผลประโยชน์ของบุคคล กลุ่มองค์กร กระบวนการเลือกตั้ง การสนับสนุนและการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย
การเมืองของแต่ละประเทศ จะมีความผันผวนไปตามสภาพแวดล้อม ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม สภาพภูมิศาสตร์ และอิทธิพลของผู้นำในแต่ละประเทศ ซึ่งผู้นำประเทศบางคนจะนำหลักการทางรัฐศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว หรือ พวกพ้องบริวาร หรืออาจจะเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ และประชาชนก็เป็นได้
ผู้นำทางการเมือง
วิเคราะห์ผู้นำทางการเมืองของประเทศไทย
ทฤษฎีและแนวความคิดทางรัฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
แนวทางแก้ไข
***นำเสนอเป็นครั้งแรก ในการประชุมวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 9 วันที่ 2 ธันวาคม 2551 ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย