สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

อำนาจและการเมืองในองค์การ

รองศาสตราจารย์สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์

        พฤติกรรมเชิงการเมืองมีความสัมพันธ์กับการใช้อำนาจในองค์การอย่างมากดังที่เฟฟเฟอร์ (Pfeffer, 1981) ได้ให้นิยามของการเมืองในองค์การว่าหมายถึง กิจกรรมทั้งหลายที่สมาชิกแสดงออกในการแสวงหาการสนับสนุน การใช้อำนาจ และการได้มาซึ่งทรัพยากร เพื่อให้ตนหรือกลุ่มได้รับตามที่ต้องการ ภายใต้สถานการณ์ที่มีความขัดแย้งและมีความไม่แน่นอนสูง ดังนั้นพฤติกรรมดังกล่าวที่บุคคลแสดงออกจึงเป็นพฤติกรรมเชิงการเมือง (Political behavior) ซึ่งต้องใช้อำนาจหรือความพยายามเพื่อการบรรลุเป้าหมายที่เป็นประโยชน์แก่ฝ่ายตน

 

กล่าวโดยสรุป พฤติกรรมเชิงการเมืองจึงมีลักษณะใน 3 ประเด็นต่อไปนี้

  1. เป็นพฤติกรรมที่อยู่นอกเหนืออำนาจตามกฎหมายหรือระบบอำนาจที่ยอมรับกันตามปกติขององค์การ
  2. เป็นพฤติกรรมที่แสดงออกเพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือหน่วยงานตน โดยไม่คำนึงถึงความชอบธรรมที่คนอื่นหรือหน่วยงานอื่นพึงได้รับ
  3. เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นด้วยความตั้งใจและจงใจใช้เพื่อแสวงหาอำนาจหรือการรักษาอำนาจของตน

พฤติกรรมเชิงการเมืองกับความผิดทำนองครองธรรม
สาเหตุของการเกิดพฤติกรรมเชิงการเมือง
ยุทธศาสตร์และกลยุทธ์เชิงการเมือง
กลยุทธ์เชิงการเมืองแบบมีจริยธรรม
กลยุทธ์ทางการเมืองแบบไร้จริยธรรม

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย