สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
รองศาสตราจารย์สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์
กลยุทธ์เชิงการเมืองแบบมีจริยธรรม
(Ethical political tactics)
เป็นกลยุทธ์ที่ผู้บริหารใช้เพื่อการได้มาซึ่งอำนาจและการรักษาไว้ซึ่งอำนาจโดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่น เป้นกลยุทธ์เพื่อช่วยให้ผู้นำสามารถปรับตัวได้กับภาวะการปฏิบัติงานซึ่งมิได้ขึ้นกับความมีเหตุมีผลอย่างที่คาดหมาย จึงเป็นกลยุทธ์เชิงการเมืองที่ช่วยลดช่องว่างระหว่างสิ่งที่ควรจะเป็นตามหลักการกับพฤติกรรมอันหลากหลายที่มาจากความต้อกงารของแต่ละคน กลยุทธ์เชิงการเมืองแบบมีจริยธรรมสามารถแบ่งออกตามวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้ได้ 3 แบบ ได้แก่
1) กลยุทธ์เพื่อแสวงหาอำนาจ
2) กลยุทธ์เพื่อการสร้างความสัมพันธ์ และ
3) กลยุทธ์เพื่อหลีกเลี่ยงความผิดพลาดเชิงการเมือง
1. กลยุทธ์เพื่อแสวงหาอำนาจโดยตรง (Tactics aimed directly at gaining power)
ซึ่งประกอบด้วยเทคนิคในเรื่องนี้อยู่ 6 ประการ ดังนี้
- การติดต่อผูกมิตรกับผู้มีอำนาจ (Develop power contact)
โดยการออกงานสังคมเพื่อพบปะสร้างความสนิทสนมคุ้นเคยกับผู้มีอำนาจ
การให้ความช่วยเหลือต่องานหรือกิจกรรมของคนเหล่านั้น
การหาโอกาสเชิญบุคคลดังกล่าวมาร่วมกิจกรรมในโอกาสสำคัญขององค์การ
- การควบคุมข้อมูลข่าวสารที่สำคัญ (Control vital information)
เพราะข่าวสารทำให้ผู้นั้นมีอำนาจ (Information is power)
จึงไม่น่าแปลกใจที่ผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญทาง
ราชการที่ควบคุมข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ทางธุรกิจ
หลังจากผู้นั้นเกษียณอายุ หรือลาออกจากราชการ
จึงเป็นที่ต้องการของภาคธุรกิจเอกชนสูง
จนภาคราชการต้องมีกฎห้ามบุคคลเหล่านี้ไปทำงานที่เกี่ยวข้องกับภาคเอกชนเป็นระยะหนึ่งหลังออกจากราชการ
เนื่องจากอาจส่งผลเสียหายแก่ทาง ราชการ และไม่เป็นธรรมต่อบริษัทคู่แข่งรายอื่น
- ต้องไวต่อการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร (Keep informed) อยู่เสมอ
การรู้เท่าทันกับเหตุการณ์ช่วยให้สามารถปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ใหม่ได้อย่างทันท่วงทีเมื่อปรากฎว่าฝ่ายตนเองอาจตกอยู่ในฐานะที่เสียเปรียบ
จึงเป็นการลดความสียหายที่เกิดขึ้นหรือเป็นการเปลี่ยนวิกฤติให้กลายเป็นโอกาส
- การควบคุมกลไกและเครือข่ายกลการสื่อสาร (Control lines of communication)
ดังจะเห็นในอดีตที่มีเหตุการณ์ต่อสู้ปฏิวัติรัฐประหาร
จะมีการเข้าควบคุมกลไกเครื่องมือและเครือข่ายการสื่อสาร เช่น วิทยุ โทรทัศน์
และหนังสือพิมพ์อย่างทันที
เพราะเป็นแหล่งเผยแพร่ข่าวสารอันทรงพลังต่อการแพ้ชนะในการดำเนินงานขององค์การก็มีลักษณะที่ไม่แตกต่างกัน
- การดึงผู้เชี่ยวชาญภายนอกเข้ามา (bringing in)
โดยเฉพาะผู้เชี่ยวชาญที่มีประวัติดี
เป็นที่ยอมรับของคนในองค์การว่าจะสามารถช่วยคลี่คลายปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์การได้
ทั้งยังช่วยเสริมบารมีให้กับผู้บริหารเพราะทำให้งานความสำเร็จและทุกฝ่ายรู้สึกพึงพอใจ
แต่มีข้อพึงระวังในการนำผู้เชี่ยวชาญภายนอกต้องใช้วิธีที่แยบยลต้องเป็นที่ยอมรับของฝ่ายต่าง
ๆ ที่เกี่ยวข้องและต้องมั่นใจในความเป็นกลางจริง
- การใช้วิธีปรากฎตัวขึ้นอย่างทันควัน (Making a quick showing) โดยเฉพาะเมื่อเกิดเหตุการณ์สำคัญเฉพาะหน้าขึ้น เช่น ผู้บริหารระดับสูงออกปรากฎตัวทันทีที่เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงการจับยาเสพติดรายใหญ่ เป็นต้น ซึ่งเป็นวิธีประชาสัมพันธ์ตนเองที่ดี ทำให้สาธารณะชนเห็นว่าเป็นคนเอาใจใส่งานและมีความสามารถสูง
2. กลยุทธ์เพื่อสร้างความสัมพันธ์ (Tactics aimed at building relations)
เป็นกลยุทธ์เพื่อสร้างสัมพันธภาพเชิงบวกกับบุคคลที่ต้องการ ตลอดจนเครือข่ายสมาชิกและผู้เกี่ยวข้องเพื่อหวังผลด้านความช่วยเหลือทั้งในปัจจุบันและต่อไปในอนาคต ซึ่งใช้กลยุทธ์การเมืองต่อไปนี้
- การแสดงความจงรักภักดี (Display loyalty)
เพราะพนักงานที่จงรักภักดีย่อมมีคุณค่าและสร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่องค์การได้มาก
แต่มีข้อระวังต้องไม่ให้จงรักภักดีจนเกินเลยเพราะจะทำให้เกิดหลงตัว สำคัญผิดว่า
องค์การของตนทำผิดไม่ได้
ซึ่งเป็นเรื่องเสียหายต่อองค์การที่ยังต้องการคำวิพากษ์วิจารณ์เพื่อนำมาปรับปรุงพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น
- นำเสนอสิ่งที่น่าปรับใจ (Manage your impression) เช่น
ใช้กิจกรรมหรือพฤติกรรมที่จะส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ตน
รวมถึงการปรับปรุงบุคลิกภาพและการแต่งกายที่เหมาะสม
วิธีการพูดจาที่ไพเราะน่าเชื่อถือและการนำเสนอความคิดที่เฉียบแหลมน่าสนใจ
การพูดถึงความสำเร็จหรือจุดยืนที่ดีขององค์การต่อส่วนรวม เช่น
การประกอบธุรกิจบนพื้นฐานของการมี จริยธรรมซื่อสัตย์ต่อลูกค้าเป็นต้น
- หาช่องทางให้ลูกค้าที่พึงพอใจผลงานของท่านมีโอกาสได้พบกับนาย (Ask
satisfied customers to contact your boss)
ข้อมูลที่นายได้รับโดยตรงจากลูกค้าจะมีน้ำหนักมากที่ส่งผลมาถึงตัวท่านมากกว่าการรับฟังจกาเพื่อนร่วมงานหรือจากลูกน้องของท่าน
ด้วยเหตุที่คนทั้งสองกลุ่มหลังก็อาจกำลังเล่นเกมส์การเมืองอยู่กับท่านได้เช่นกัน
- ใช้ความสุภาพอ่อนน้อม ความน่าคบหาและคุณลักษณะเชิงบวกที่ท่านมี (be
courteous, pleasant and positive) โดยมีความเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านบุคคลว่า
คุณสมบัติดังกล่าวคือเกณฑ์ข้อแรกในการพิจารณาจ้างคนเข้าทำงาน
และเช่นเดียวกันก็จะถือเป็นเกณฑ์ข้อสุดท้ายที่จะเลิกจ้างพนักงาน
(เมื่อพนักงานมีเกณฑ์ข้ออื่นครบถ้วน)
- ใช้วิธีการขอคำแนะนำ (Ask advice) ถ้าหัวหน้าขอคำแนะนำจากลูกน้อง
ลูกน้องก็จะเกิดความภูมิใจและรู้สึกว่าตนมีคุณค่า การขอคำแนะนำจากคนนอกวงการ
อาจได้มุมมองใหม่ที่มีประโยชน์
การขอคำแนะนำเป็นการ่งบอกถึงความไว้วางใจต่อการตัดสินใจและเป็นการให้เกียรติผู้อื่น
- ใช้วิธีการส่งบัตรถึงบุคคลต่าง ๆ ในวาระสำคัญ เช่น บัตรขอบคุณที่ให้คำแนะนำ หรือใช้บริการ ซึ่งเป็นกลยุทธ์เชิงการเมืองที่สำคัญถึงกับผู้บริหารบางคนยอมเขียนขอบคุณด้วยลายมือตนเองถึงพนักงานหรือลูกค้า เพื่อสร้างสายสัมพันธ์และความประทับใจขึ้น
3. กลยุทธ์เพื่อหลีกเลี่ยงการผิดพลาดง่าย ๆ เชิงการเมือง (Avoiding political blunders)
เป็นกลยุทธ์ที่ใช้ในการคงอำนาจหรือบารมีไว้ ด้วยการระมัดระวังการผิดพลาดในเรื่องง่าย ๆ แต่มีผลเชิงการเมืองสูง ซึ่งได้แก่
- เว้นการวิจารณ์นายต่อหน้าสาธารณชน (Criticizing the boss in a public
forum)
คนโบราณมักสอนให้รู้จักชมคนต่อสาธารณชนแต่วิพากษ์วิจารณ์กันเมื่อยู่ส่วนตัว
(Praise in public and criticize in private)
- อย่าปฏิบัติการข้ามหัวนาย (Bypassing the boss)
เพราะทำให้นายรู้สึกว่าลูกน้องกระด้างกระเดื่องไม่ให้เกียรติและความนับถือ
และที่สำคัญทำให้นายอาจเสียหน้า ถูกคนภายนอกมองว่านายไม่มีความสามารถ
และที่รุนแรงอาจกระทบต่อตำแหน่งของนายได้ แต่โดยรวมเกิดภาพลบต่อผู้กระทำด้วย
- หลีกเลี่ยงการปฏิเสธต่อข้อเสนอของฝ่ายบริหารระดับสูง (Declining an offer
from top management)
การปฏิเสธผู้บริหารของตนถือเป็นความผิดพลาดทางการเมืองที่สำคัญเพราะจะไม่ได้รับไว้วางใจจากหัวหน้าอีกต่อไป
ส่งผลกระทบต่ออาชีพและความก้าวหน้าในหน้าที่การงานตามมา
- อย่าเผาสะพานของตนเอง (Burning your bridge) ได้แก่ การตำหนิติเตียนนายคนเก่าที่หมดอำนาจหรือพ้นจากองค์การไปแล้ว ซึ่งความจริงยังอาจเป็นสะพานช่วยเชื่อมโยงกับนายคนใหม่ให้เกิดประโยชน์แก่ตน นอกจากนี้พฤติกรรมเช่นนี้อาจถูกมองในแง่ลบจากนายคนใหม่ว่าเป็นคนที่ไม่จริงใจต่อไปในอนาคต ก็จะปฏิบัติกับนายคนอื่นด้วยวิธีเดิม จึงดุเป็นคนไม่น่าคบหรือไว้วางใจ
พฤติกรรมเชิงการเมืองกับความผิดทำนองครองธรรม
สาเหตุของการเกิดพฤติกรรมเชิงการเมือง
ยุทธศาสตร์และกลยุทธ์เชิงการเมือง
กลยุทธ์เชิงการเมืองแบบมีจริยธรรม
กลยุทธ์ทางการเมืองแบบไร้จริยธรรม