สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
รองศาสตราจารย์สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์
พฤติกรรมเชิงการเมืองกับความผิดทำนองครองธรรม
(The Pervasiveness of Political Behaviors)
เมอร์เรย์ และแกนซ์ (Murray and Gandz) ได้ทำการศึกษาวิจัยผู้บริหารจำนวน 428 คน เกี่ยวกับการรับรู้ที่มีต่อพฤติกรรมเชิงการเมืองในองค์การ พบว่า ผู้บริหารหนึ่งในสามที่เชื่อว่า พฤติกรรมเชิงการเมืองมีผลต่อการตัดสินใจเรื่องเงินเดือน ส่วนอีก 28 เปอร์เซ็นต์ เชื่อว่า มีผลต่อการตัดสินใจในการจ้างงาน และมีผู้บริหารมากถึง 75 เปอร์เซ็นต์ เชื่อว่ามีพฤติกรรมเชิงการเมืองอยู่ในกลุ่มผุ้บริหารระดับสูงมากกว่าในระดับล่าง ผู้บริหารกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ที่เห็นว่า พฤติกรรมเชิงการเมืองเป็นเรื่องที่ไม่ยุติธรรมขาดหลักการของความมีเหตุมีผล และเป็นสิ่งบั่นทอนทำลายองค์การ แต่ก็ยอมรับว่าผู้บริหารที่จะประสบความสำเร็จได้นั้น จะต้องมีความเป็นนักการเมืองที่ดีต้องมี พฤติกรรมเชิงการเมือง จึงจะสามารถก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงานได้ งานวิจัยชิ้นนี้ยังพบว่า ส่วนใหญ่ของผู้บริหารเห็นว่า พฤติกรรมเชิงการเมืองเป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา แต่ก็เป็นเรื่องที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้ตลอดชีวิตการทำงานอยู่ในองค์การ (Yukl, 1998)
ในความรู้สึกของคนทั่วไปส่วนหนึ่งมองภาพของการเมืองในแง่ลบ กล่าวคือ เป็นเรื่องการใช้เล่ห์เหลี่ยมกลโกงที่สกปรกเอาชนะกัน ใช้วิธีลอบทำลายกันลับหลังอย่างน่ารังเกียจและก็ยอมรับว่าพฤติกรรมเชิงการเมืองเป็นสิ่งไม่ถูกต้องตามทำนองครองธรรมที่ส่งผลกระทบต่อทุกคนในองค์การอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นแทนที่ผู้นำจะปฏิเสธหรือพยายามที่จะขจัดพฤติกรรมเชิงการเมืองให้หมดไป จึงควรที่จะศึกษาหาวิธีที่ได้ผลในการใช้พฤติกรรมเชิงการเมืองที่เกิดขึ้นในหน่วยงานของตนให้เป็นไปในแนวทางที่สร้างสรรค์แทน
พฤติกรรมเชิงการเมืองกับความผิดทำนองครองธรรม
สาเหตุของการเกิดพฤติกรรมเชิงการเมือง
ยุทธศาสตร์และกลยุทธ์เชิงการเมือง
กลยุทธ์เชิงการเมืองแบบมีจริยธรรม
กลยุทธ์ทางการเมืองแบบไร้จริยธรรม