สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

การเมืองการปกครอง

ความหมายการเมืองการปกครอง
รัฐ (State)
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม
รัฐธรรมนูญ (Constitution)
กฎหมาย (Law)
อำนาจอธิปไตย
รัฐสภา พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง
ประชาชนกับบทบาททางการเมือง
ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
การเมืองการปกครองไทย
ระบบเศรษฐกิจและระบบการปกครอง
ธรรมาภิบาล
บรรณานุกรม

การเมืองการปกครองไทย

มูลเหตุที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475

การเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทยในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ คนไทยเราก็มิได้ถือว่ามีความสำคัญอะไรมากนัก เพราะยังอยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์อยู่เหมือนเดิม คือ กษัตริย์ยังมีอำนาจเด็ดขาดในการจัดการปกครองประเทศ หรือแม้แต่การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประชาชนคนไทยยังถือว่าเป็นเพียงความก้าวหน้าของการจัดการปกครองชั้นหนึ่งภายใต้การปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เท่านั้น ส่วนการเปลี่ยนแปลงที่ถือว่ามีความสำคัญยิ่งต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของคนไทยทั้งประเทศและเป็นเหตุการณ์ที่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้ยอมรับว่าการเปลี่ยนแปลงวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นี้เป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทยที่สำคัญยิ่ง เพราะเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยซึ่ง มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ แต่ทรงอยู่ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญการปกครองของไทย ส่วนมูลเหตุของการเปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งนี้ ได้มาจากหลายทาง เช่น การไหลเข้าแห่งวัฒนธรรมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ประชาชนได้รับการศึกษามากขึ้น สภาพเศรษฐกิจตกต่ำ ความไม่เป็นธรรมในสังคมและความผันผวนทางการเมืองในประเทศ เป็นต้น

กระมล ทองธรรมชาติ และคณะ ได้อธิบายถึงมูลเหตุของการก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองเกิดขึ้นเมื่อ 24 มิถุนายน 2475 ไว้ดังนี้

2.1 ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศตกต่ำ
สภาพเศรษฐกิจในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ถือว่า รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นระยะที่เศรษฐกิจเฟื่องฟูที่สุดหลังจากการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดิน แต่หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้ประเทศต่าง ๆ ได้รับผลกระทบจากสงครามทำให้เศรษฐกิจตกต่ำ ทั้งนี้เนื่องจากหลายประเทศได้หยุดการผลิตสินค้าหันมาผลิตอาวุธแทน การเปลี่ยนแปลงโดยวิธีนี้ทำให้ประเทศอเมริกาได้รับผลประโยชน์มาก แต่ผลเสียกลับตกไปลู่ประเทศต่าง ๆ ตลอดถึงประเทศไทย ในสมัยของรัชกาลที่ 6 และ 7 พระองค์ก็ได้พยายามอย่างยิ่งที่จะแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ จึงทำให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงใช้วิธีการหลายประการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ เช่น การยุบหน่วยงานของทางราชการที่พระองค์เห็นว่าไม่มีความจำเป็นและเป็นหน่วยงานที่มีความซ้ำซ้อนกับหน่วยงานอื่น และให้ข้าราชการบางส่วนออกจากราชการจนเป็นเหตุให้ผู้ที่ออกจากงานเกิดความไม่พอใจ เพราะตนได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก
ความยุ่งยากทางเศรษฐกิจของประเทศนี้ คณะบุคคลผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองหรือ “คณะราษฎร” ได้กล่าวโจมตีว่าเป็นเพราะระบบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ล้าสมัย ไม่มีประสิทธิภาพ ประกอบทั้งรัฐบาลอ่อนแอไม่มีความสามารถจึงไม่สามารถจะแก้ปัญหาเศรษฐกิจให้เกิดผลดีได้ จึงจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศให้ทันสมัยเช่นนานาประเทศ มิฉะนั้นราษฎรจะเดือดร้อนมากขึ้น

2.2 ปัญหาความไม่เป็นธรรมของสังคม
การเลื่อนชั้นเลื่อนตำแหน่งในวงราชการย่อมจะมีปัญหา แม้แต่ 2 ขั้นของเงินเดือนข้าราชการยังมีปัญหาทุกหน่วยงานทุกวงการว่าทำกันอย่างนั้นไม่เป็นธรรม ไม่ยุติธรรม แล้วแต่จะว่าไป สำหรับผู้สร้างความหวังว่าจะได้แต่ไม่ได้ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็เหมือนกัน บรรดาผู่ที่ไม่ได้รับการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งหรือผู้ที่ถูกถอดถอนออกจากตำแหน่ง เกิดความไม่พอใจเห็นถึงความไม่เป็นธรรมในวงราชการ
อีกอย่างหนึ่งผู้ที่รับราชการเป็นเชื้อพระวงศ์ย่อมจะมีโอกาสได้ตำแหน่งที่สำคัญ ๆ กว่าสามัญชนที่รับราชการ จึงทำให้คนบางคนบางกลุ่มประจบสอพลอทำการทุจริตฉ้อราษร์บังหลวงเกิดขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นกลุ่มบุคคลที่มีความคิดก้าวหน้ายังเห็นถึงความเลื่อมล้ำต่ำสูงทางสังคมของชนชั้นปกครอง อันได้แก่พวกเจ้าและขุนนางข้าราชการชั้นผู้ใหญ่กับชนชั้นที่อยู่ใต้ปกครอง อันได้แก่ประชาชนทั่ว ๆ ไปว่ามีชีวิตความเป็นอยู่ที่แตกต่างกัน พวกชนชั้นปกครองนั้นมีชีวิตความเป็นอยู่อย่างหรูหราฟุ่มเฟือย ในขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่มีชีวิตอยู่อย่างแร้นแค้นแสนทุกข์สาหัส สภาพความทุกข์ยากของสังคมดังกล่าวเป็นมูลเหตุของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

2.3 ปัญหาความตื่นตัวทางการเมืองแบบตะวันตกของคนรุ่นใหม่
พวกคนรุ่นใหม่ที่ได้รับการศึกษาจากประเทศตะวันตก และนิยมชมชอบลัทธิการเมืองการปกครองแบบเสรีนิยมและแบบประชาธิปไตยของประเทศตะวันตก ต่างก็มองเห็นความล้าหลังของการจัดการปกครองของไทยที่ยังเป็นแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อยู่ ซึ่งทำให้ผู้ปกครองเพียงคนเดียวเท่านั้นมีอำนาจเด็ดขาดในการปกครอง

การปกครองแบบนี้ทำให้ประเทศชาติไม่เจริญรุ่งเรือง ไม่ทันต่อสภาพการณ์เปลี่ยนแปลงของโลกอย่างรวดเร็ว พวกคนหนุ่มรุ่นใหม่ที่ได้รับการศึกษาเห็นว่า การเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบประชาธิปไตยเท่านั้นจึงจะทำให้ประเทศเจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับอารยประเทศ แนวความคิดอันนี้จึงเป็นแรงผลักดันก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองปี 2475 ดังกล่าว
สรุปได้ว่าสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้น เนื่องมาจากความอดอยากของไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ การไม่ได้รับความเป็นธรรมในสังคมและการไหลเข้ามาซึ่งวัฒนธรรมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยจากประเทศตะวันตก

 

การปกครองไทยสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์
สมัยกรุงสุโขทัย
ลักษณะการปกครอง
พ่อขุนรามคำแหงปรับปรุงการปกครอง
สมัยกรุงศรีอยุธยา
ลักษณะการปกครอง
การจัดการปกครองสมัยพระบรมไตรโลกนาถ
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
การปกครองสมัยรัชกาลที่ 5
การปฏิรูปการปกครองส่วนกลาง
การปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น
การปกครองสมัยรัชกาลที่ 6
การปรับปรุงโครงสร้างการปกครอง
การปกครองรัชกาลที่ 7
ทรงปรับปรุงการปกครอง
การปกครองในสมัยประชาธิปไตย
กระแสความคิดการปกครองแบบประชาธิปไตย
มูลเหตุที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475
หลัก 6 ประการของคณะราษฎร
เค้าโครงเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐ์ธรรมนูญ
พื้นฐานประชาธิปไตยของคณะราษฎร
รัฐสภาในระบอบประชาธิปไตยของไทย
รัฐสภาไทย
บทบาทและอำนาจหน้าที่รัฐสภา
การใช้อำนาจของรัฐสภา
การเสนอร่างพระราชบัญญัติ
การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของสภาผู้แทนราษฎร
การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของวุฒิสภา
การเสนอญัตติ
การตั้งกระทู้ถามและตอบกระทู้ถาม
การปฏิบัติหน้าที่ในฐานะกรรมาธิการ
หลักประกันของสมาชิกรัฐสภา
ประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2521
สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
หน้าที่ของชนชาวไทย
แนวนโยบายแห่งรัฐ
รัฐสภา
วุฒิสภา
สภาผู้แทนราษฎร
สมัยประชุมสามัญของรัฐสภา
ที่มาของคณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีกับอำนาจทางการเมือง
คณะรัฐมนตรีกับฝ่ายบริหาร
การสิ้นสุดของคณะรัฐมนตรี
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ตุลาการรัฐธรรมนูญ
รัฐบาลในระบอบประชาธิปไตย

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย