สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

การเมืองการปกครอง

ความหมายการเมืองการปกครอง
รัฐ (State)
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม
รัฐธรรมนูญ (Constitution)
กฎหมาย (Law)
อำนาจอธิปไตย
รัฐสภา พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง
ประชาชนกับบทบาททางการเมือง
ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
การเมืองการปกครองไทย
ระบบเศรษฐกิจและระบบการปกครอง
ธรรมาภิบาล
บรรณานุกรม

รัฐสภา พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง

การจัดตั้งพรรคการเมืองไทย

ตามที่ทราบตามความหมายของพรรคการเมืองโดยทั่ว ๆ ไปแล้วว่า พรรคการเมืองที่ได้จัดตั้งขึ้นมาจากเอกชนที่มีแนวคิด อุดมการณ์และผลประโยชน์ร่วมกันหรือผลประโยชน์คล้ายคลึงกัน แต่ที่จริงแล้วการจัดตั้งพรรคการเมืองของไทยเรามีพระราชบัญญัติออกมาควบคุมกำหนด ขั้นตอน หลักการและวิธีการจัดตั้งไว้ มิใช่ว่ามีแนวความคิดเหมือนกันมีผลประโยชน์ร่วมกันจะจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นได้ ชื่อพรรคการเมือง

นโยบายพรรคการเมืองขัดต่อพระราชบัญญัติพรรคการเมืองย่อมจะจัดตั้งไม่ได้ เช่น พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยหรืออย่าง “พรรคปฏิวัติ“ ของนายอุทัย พิมพ์ใจชน ที่เสนอตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2526 นั้น ที่ไม่ได้รับการอนุมัติจัดตั้งจนได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นพรรค “ก้าวหน้า“ จะเห็นได้ว่าทางด้านกระทรวงมหาดไทยผู้รับผิดชอบในการอนุญาตการตั้งพรรคการเมืองจะพิจารณาทุก ๆ ด้านอย่างรอบคอบและถี่ถ้วน เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติพรรคการเมือง

การจัดตั้งพรรคการเมืองได้อาศัยพระราชบัญญัติ และพระราชบัญญัติพรรคการเมืองไทย มีการแก้ไขปรับปรุงมาแล้วหลายครั้ง จนถึงพระราชบัญญัติพรรคการเมืองปี พ.ศ. 2524 ซึงมีเนื้อหาสระสำคัญดังนี้

1. ตามพระราชบัญญัติพรรคการเมือง 2524 กำหนดให้บุคคลที่มีสัญชาติไทยอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ ไม่เป็นภิกษุ สามเถร นักพรตและนักบวช จำนวนตั้งแต่ 15 คนขึ้นไป อาจรวมกันเป็นคณะ ผู้เริ่มจัดตั้งพรรคการเมือง

2. พรรคต้องมีแนวนโยบายที่ไม่ก่อให้เกิดความแตกแยกต่าง ๆ ภายในชาติ ไม่ขัดต่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยศีลธรรมอันดีของประชาชน และไม่ขัดต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

3.คณะผู้เริ่มจัดตั้งพรรคการเมืองจะดำเนินการโฆษณาเชิญชวนผู้อื่นเข้าเป็นสมาชิกโดยต้องมีหนังสือเชิญชวน ซึ่งประกอบด้วยสาระสำคัญ คือ ชื่อพรรคการเมือง ภาพเครื่องหมายพรรคการเมือง (ชื่อ ภาพเครื่องหมายพรรคการเมืองจะต้องไม่ซ้ำหรือพ้องกับพรรคการเมืองพรรคอื่น) แนวนโยบายพรรคการเมือง ชื่อ อาชีพ และที่อยู่ของผู้ซึ่งเป็นคณะผู้เริ่มตั้งพรรคการเมือง หนังสือเชิญชวนนั้นจะต้องแจ้งต่อนายทะเบียน
เมื่อนายทะเบียนได้ออกหนังสือรับรองการแจ้งแล้ว ให้คณะผู้เริ่มจัดตั้งพรรคการเมืองมีสิทธิโฆษณาชวนเชิญผู้อื่นเข้าเป็นสมาชิกได้

4. มีสมาชิกรวมกับจำนวนผู้จัดตั้งพรรคการเมืองไม่น้อยกว่า 5,000 คน สมาชิกต้องมีสัญชาติไทยด้วยการเกิด มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ ไม่เป็นภิกษุหรือนักบวช

5. สมาชิกจำนวน 5,000 คนนั้นต้องประกอบด้วยสมาชิกที่มีที่อยู่ในแต่ละภาคไม่น้อยกว่าภาคละ 5 จังหวัด และมีจำนวนสมาชิกจังหวัดละไม่น้อยกว่า 50 คน

6. เมื่อมีสมาชิกครบตามจำนวนและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ให้คณะผู้เริ่มจัดตั้งนัดประชุมสมาชิกเพื่อตั้งพรรคการเมือง

7. องค์ประชุมตั้งพรรคการเมือง ต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่า 100 คน เป็นสมาชิกของแต่ละภาค ภาคละไม่น้อยกว่า 5 จังหวัด

8. ในการประชุมตั้งพรรคการเมืองนั้น ต้องกำหนดนโยบายวิธีการดำเนินงานข้อบังคับและการเลือกตั้งคณะบริหารพรรคการเมือง รวมทั้งหัวหน้าพรรคการเมือง

9. หัวหน้าพรรคการเมืองจะต้องยื่นคำขอจดทะเบียนพรรคการเมืองที่กระทรวงมหาดไทย โดยต้องแจ้งนโยบาย ข้อบังคับ ทะเบียนประวัติสมาชิก รายงานการประชุม ตั้งพรรคการเมืองจะต้องระบุชื่อพรรคการเมือง ภาพเครื่องหมายพรรค ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ ชื่อ อาชีพ ที่อยู่ ของคณะกรรมการบริหารและสมาชิก เมื่อมีหลักฐานครบถ้วนและนายทะเบียนจะจดทะเบียนพรรคการเมืองให้และให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
พรรคการเมืองขอจดทะเบียนถูกต้องแล้วจะเป็นนิติบุคคล พรรคการเมืองจะต้องทำบัญชีรายจ่าย รายรับและทรัพย์สินของพรรค เพื่อป้องกันมิให้พรรคหรือสมาชิกพรรครับเงินหรือผลประโยชน์จากบุคคลอื่น นิติบุคคลอื่นหรือแม้แต่จากบุคคลอื่นจากต่างประเทศ อันจะเป็นการขัดต่อความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยของประเทศ พรรคการเมืองจะเปลี่ยนแปลงนโยบายข้อบังคับหรือหัวหน้าพรรคจะต้องทำโดยที่ประชุมใหญ่ของพรรคและพรรคการเมืองอาจจัดตั้งสาขาขึ้นต่างจังหวัดได้ ถ้ามีสมาชิกพรรคในจังหวัดนั้นตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป แต่ต้องได้รับหนังสือรับรองจากนายทะเบียนก่อน

บทลงโทษผู้ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติพรรคการเมือง มีดังนี้ คือ

1. จำคุกตั้งแต่ 2 ปี ถึง 10 ปี
2. ปรับตั้งแต่ 2 หมื่นบาทถึง 1 ล้านบาท
3. โทษถอนสัญชาติและเนรเทศ

โทษใน 3 ข้อนี้ กรณีในความผิดเกี่ยวกับการออกหนังสือโฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาตจากทางราชการ การทำบัญชีรายรับรายจ่ายไม่ถูกต้องหรือเป็นทุจริต ให้คนไม่มีสัญชาติไทยมาเป็นสมาชิกพรรค รับเงินหรือทรัพย์สินจากแหล่งที่ละเมิดบทบัญญัติของกฎหมาย

เหตุที่จะต้องยุบเลิกพรรคการเมือง พรรคการเมืองเมื่อจัดตั้งไม่เป็นตามพระราชบัญญัติหรือดำเนินการไม่เป็นไปตามบทบัญญัติ พรรคการเมืองจะต้องยุบเลิกด้วยสาเหตุดังนี้ คือ

1. มีสมาชิกเหลือไม่ถึง 5,000 คน

2. มีสมาชิกพรรคในจังหวัดต่าง ๆ ไม่ถึง 5 จังหวัดในแต่ละภาค

3.ไม่ส่งหรือส่งสมาชิกเข้าสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไปของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่ถึงกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พึงจะมีได้ถูกศาลสั่งยุบเลิก

4.พรรคการเมืองขอยุบตัวเอง เช่น พรรคก้าวหน้า พรรคประชาชน และพรรคกิจประชาคม ขอยุบมารวมเป็นพรรคเอกภาพ เมื่อปี พ.ศ. 2532

รัฐสภา (Parliament)
ประเภทของรัฐสภา
พรรคการเมือง (Political Party)
ความหมายของพรรคการเมือง
องค์ประกอบของพรรคการเมือง
ความสำคัญของพรรคการเมือง
ระบบของพรรคการเมือง
โครงสร้างของพรรคการเมือง
บทบาทและหน้าที่ของพรรคการเมือง
พรรคการเมืองไทย
ประเภทของพรรคการเมืองไทย
การจัดตั้งพรรคการเมืองไทย
ลักษณะของพรรคการเมืองไทย
การเลือกตั้ง
ความสำคัญของการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย
หลักเกณฑ์ของการเลือกตั้ง
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของไทย
วิธีการเลือกตั้งของไทย
การเลือกตั้งโดยวิธีรวมเขต
ข้อดีของการเลือกตั้งแบบรวมเขต
ข้อเสียของการเลือกตั้งแบบรวมเขต
การเลือกตั้งโดยวิธีแบ่งเขต
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้งและผู้สมัครรับเลือกตั้ง
วิธีดำเนินการเลือกตั้ง

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย