สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

การเมืองการปกครอง

ความหมายการเมืองการปกครอง
รัฐ (State)
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม
รัฐธรรมนูญ (Constitution)
กฎหมาย (Law)
อำนาจอธิปไตย
รัฐสภา พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง
ประชาชนกับบทบาททางการเมือง
ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
การเมืองการปกครองไทย
ระบบเศรษฐกิจและระบบการปกครอง
ธรรมาภิบาล
บรรณานุกรม

รัฐธรรมนูญ (Constitution)

ฉบับที่ 5 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492

ได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2492 มีทั้งหมด 188 มาตรา 11 หมวด หมวด 1 บททั่วไป หมวด 2 พระมหากษัตริย์ หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย หมวด 4 หน้าที่ของชนชาวไทย หมวด 5 แนวนโยบายแห่งรัฐ หมวด 6 อำนาจนิติบัญญัติ หมวด 7 อำนาจบริหาร หมวด 8 อำนาจตุลาการ หมวด 9 ตุลาการรัฐธรรมนูญ หมวด 10 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ หมวด 11 บทสุดท้าย และบทเฉพาะกาล มีสาระสำคัญแตกต่างจากรัฐธรรมนูญฉบับอื่น ดังนี้

1.พระมหากษัตริย์ทรงเลือกและแต่งตั้งประธานองคมนตรีคนหนึ่ง และองคมนตรีไม่มากกว่าแปดคนเป็นคณะองคมนตรี องคมนตรีต้องไม่เป็นข้าราชการประจำหรือข้าราชการพลเรือนและต้องไม่แสดงการฝักใฝ่ในพรรคการเมืองใด ๆ

2.กำหนดสิทธิเสรีภาพ และหน้าที่ของชนชาวไทย มั่นคงขึ้น

3. มีแนวนโยบายแห่งรัฐ เป็นแนวทางสำหรับการตรากฎหมายและการบริหารราชการ

4.อำนาจนิติบัญญัติ ให้มีรัฐสภาซึ่งประกอบด้วยวุฒิสภาและสภาผู้แทน

วุฒิสภา มีสมาชิกจำนวน 100 คน ประธานวุฒิสภาเป็นประธานรัฐสภา สภาผู้แทน มีสมาชิกจากการที่ราษฎรเลือกตั้ง ถือเกณฑ์ราษฎรหนึ่งแสนห้าหมื่นคนต่อสมาชิกสภาผู้แทน 1 คน ถ้าราษฎรถึงเจ็ดหมื่นห้าพันหรือกว่านั้น ให้นับเป็นหนึ่งแสนห้าหมื่นคน และมีสมาชิกสภา ผู้แทนได้ 1 คน กำหนดผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง อายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์เลือกตั้งส่วนสมาชิกสภาผู้แทนต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 30 ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง

การลงมติไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจต่อคณะรัฐมนตรี ให้สภาผู้แทนเป็นผู้กระทำภายหลังที่คณะรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายต่อวุฒิสภาแล้ว

5.อำนาจบริหาร ห้ามรัฐมนตรีเป็นข้าราชการประจำ ห้ามเป็นกรรมการที่ปรึกษาตัวแทนหรือลูกจ้างของบุคคล ห้างหุ้นส่วนหรือองค์การใด ๆ ซึ่งดำเนินธุรกิจเพื่อการค้ากำไร

6.คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วยประธานวุฒิสภา ประธานสภาผู้แทน ประธานศาลฎีกา อธิบดีศาลอุทธรณ์ อธิบดีกรมอัยการ และบุคคลอื่นอีก 4 คน ซึ่งรัฐสภาแต่งตั้งจาก ผู้ทรงคุณวุฒิในทางกฎหมาย ให้ประธานวุฒิสภาเป็นประธานตุลาการรัฐธรรมนูญ

7.การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ จะกระทำได้ต่อเมื่อคณะรัฐมนตรีหรือจากสมาชิก วุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนรวมกัน หรือ จากสมาชิกของแต่ละสภาไม่ต่ำกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสองสภาเป็นผู้เสนอ การพิจารณาใช้บังคับได้ต้องผ่านวาระทั้ง 3 และต้องมีเสียงเห็นชอบด้วยไม่ต่ำกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสภาทั้งสอง

ถ้าพระมหากษัตริย์ทรงเห็นว่าร่างรัฐธรรมนูญที่แก้ไขกระทบถึงประโยชน์ได้เสียสำคัญของประเทศหรือประชาชน จึงจะให้ประชาชนที่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งแสดงประชามติ เมื่อพิจารณาสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 5 เปรียบเทียบกับฉบับเดิมทั้งสี่ข้างต้น อาจกล่าวได้ว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นฉบับที่ดีที่สุด เพราะสภาร่างรัฐธรรมนูญได้ทำอย่างรอบคอบที่สุด แต่ก็ใช้บังคับอยู่ได้เพียง 2 ปีเศษ จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้ทำรัฐประหารตัวเองเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2494 ได้ยกเลิกแล้วนำรัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 กลับมาใช้แนวทางในการปกครองประเทศอีกครั้งหนึ่ง

ความหมายของรัฐธรรมนูญ
กฎหมายรัฐธรรมนูญ
ประเภทของรัฐธรรมนูญ (Classification of Constitution)
วิธีการได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญ
ความสำคัญของรัฐธรรมนูญ
ที่มาของรัฐธรรมนูญ
ประโยชน์และความจำเป็นของการมีรัฐธรรมนูญ
ลักษณะของรัฐธรรมนูญที่ดี
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญไทย
รัฐธรรมนูญไทย(ฉบับแรก-ฉบับปัจจุบัน)
ประวัติรัฐธรรมนูญไทย
ฉบับที่ 2 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475
ฉบับที่ 3 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489
ฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490
ฉบับที่ 5 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492
ฉบับที่ 6 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2495
ฉบับที่ 7 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502
ฉบับที่ 8 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511
ฉบับที่ 9 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515
ฉบับที่ 10 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517
ฉบับที่ 11 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519
ฉบับที่ 12 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520
ฉบับที่ 13 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521
ฉบับที่ 14 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534
ฉบับที่ 15 รัฐธรรมแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534
ฉบับที่ 16 รัฐธรรมแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
สรุปและวิเคราะห์

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย