สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

กระบวนทัศน์ในแก้ปัญหาวิกฤติการเมือง
เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม

พระพุทธศาสนา : กระบวนทัศน์ในแก้ปัญหาวิกฤติการเมือง เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม

วิกฤติด้านสังคม

สภาพของสังคมไทยปัจจุบัน นับวันยิ่งเลวร้ายลงทุกที ตลอดทั้งปัญหาทางด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และจริยธรรม ในด้านการสรรค์สร้างคุณงามความดีที่เป็นประโยชน์ต่อตัวเองและสังคมก็หาได้ยากมากผิดกับเมื่อ 10-20 ปีที่แล้ว การปฏิบัติตนของคนในสังคมปัจจุบันมีแต่สภาพของความเห็นแก่ตัวเอาแต่ได้ ไม่มีจิตใจเอื้อเฟื้อต่อกัน โดยเฉพาะสังคมในกรุงเทพฯ สังคมไทยเป็นสังคมของพระพุทธศาสนา แต่การอบรมสั่งสอนเยาวชนของชาติในด้านจริยธรรมลดน้อยลงหรืออาจจะหายไปในบ้างที่ เช่น ในรั้วมหาวิทยาลัย เมืองไทย ในอดีตเคยได้ชื่อว่าเมืองแห่งพระพุทธศาสนา เป็นสยามเมืองยิ้ม ประชาชนหน้าตาเบิกบาน ไม่เคร่งเครียดเหมือนในปัจจุบันที่รัฐบาลประกาศว่า ประชาชนยากจนข้นแค้น นายทุนข่มเหงคนจนข่มผู้ใช้แรงงาน มองดูสภาพสังคมที่เดือนร้อนอยู่ทุกวันนี้ เป็นอย่างไร ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น มีคนเข้าใจหรือยึดมั่นในพระพุทธศาสนามากน้อยแค่ไหน สภาพจริยธรรมศีลธรรมในสังคมไทยปัจจุบัน จึงอับก็ว่าได้ ไม่ว่าสังคมจะมีสภาพทางสังคมมากน้อยเพียงใด แต่ในทุกสถาบันก็มีปัญหาด้วยกันแทบทั้งสิ้น

3.1 ปัญหาของสังคม

1) ปัญหาความแตกร้าวในครอบครัว ครอบครัวนับว่าเป็นสถาบันมูลฐานของสังคม สมาชิกของสังคมทุกคน ก็ถือกำเนิดเกิดก่อจากแต่ละครอบครัวนั่นเอง และเป็นสภาพแวดล้อมที่ใกล้ตัวคนมากที่สุดถ้าสัมพันธ์ภาพ หรือสภาพครอบครัวที่ดี ไม่พิการ หรือแตกร้าวปัญหาทางสังคมอื่นๆ เช่น การหย่าร้างคนจรนัด หรือโสเภณี ศีลธรรมเสื่อม เป็นต้น ซึ่งเป็นปัญหาสังคมที่จะมีผลกระทบต่อสังคมโดยส่วนรวมจะไม่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นปัญหาความแตกรัวในครอบครัว จึงนับว่าเป็นปัญหาสังคมทีสำคัญมากที่จะต้องได้รับการแก้ไขอีกหลาย ๆ ฝ่าย โดยรวดเร็วและถูก จึงนับว่าเป็นปัญหาสังคมที่สำคัญมากที่จะต้องรับการแก้ไขจากหาย ๆ ฝ่าย โดยรวดเร็วและถูกต้องเพื่อผลประโยชน์ต่อการอยู่ร่วมกับของครอบครัวและสังคมโดยส่วนรวม

2) ปัญหาอาชญากรรมและทุรกรรมต่าง ๆ ซึ่งเกิดขึ้นเป็นประจำวันในชีวิต คือความเป็นอยู่ในปัจจุบันนั้นอาจจะเกิดมาจากหลายสาเหตุหลายประการ เช่น สันดานเป็นอาชญากร ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม ครอบครัว สิ่งแวดล้อม เป็นต้น

3. ปัญหาศีลธรรมเสื่อม ปัญหาข้อนี้จุดสำคัญที่ตัวเองของบุคคลแต่ละบุคคล เพราะตัวเองแต่ละคนมักจะวางเฉยต่อศีลธรรมดังนั้นจะเห็นได้ว่าผู้ที่ประพฤติผู้ที่ประพฤติทุจริต เช่น พวกขโมยก็ไม่อยากให้ใครมาขโมยพวกตนต่อไป พ่อค้าที่ขูดเลือดขูดเนื้อประชาชนก็ไม่อยากจะให้ข้าราชการมาใช้อำนาจนอกหน้าที่ขูดรีดเนื้อตน สามีที่ตบตีภรรยาได้ทุกวัน ๆ มีเพื่อบ้านมาระรานกัน ข้าราชการไม่มีความปราณี เจ้าที่ไม่ยุติธรรม นี้เป็นความจริงซึ่งสามารถพิจารณาเห็นได้ในสังคมทุกวันนี้

4. ปัญหาโสเภณี ปัญหาโสเภณีนับว่าเป็นปัญหาสังคมที่สำคัญปัญหาหนึ่งในสังคมอารยะทุกสังคม ล้วนมีหญิงโสเภณีเหมือนกันหมดสิ้น จึงกล่าวได้ว่าหญิงโสเภณีเป็นผลิตผลทางสังคมและก็กลายเป็นปัญหาสังคม เหตุที่หญิงโสเภณีมักอ้างในเมื่อถูกซักถามถึงเหตุที่ต้องมาเลี้ยงชีพแบบนี้ คือ

ก) ชีวิตทางครอบครัว มีสภาพไม่มั่นคง ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นเพราะพ่อแม่ไม่รับผิดชอบเต็มที่ หรืออาจเกิดขึ้นจากความเสื่อมโทรมทางจิตใจก็ได้
ข) ชีวิตการแต่งงานไม่ราบรื่น เมื่อหย่าร้างกับสามี ต้องเลี้ยงตนเอง เมื่อไม่รู้ว่าจะหาวิธีใดเลี้ยงชีพจึงต้องหากินทางนี้
ค) ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจในครอบครัว ต้องทำมาหากินแบบนี้ เพราะถือว่า จะช่วยผดุงฐานะทางเศรษฐกิจของบ้านได้
ง) เหตุผลส่วนตัวบางอย่าง
จ) เพราะถูกหลอกลวงไปโดยอ้างว่า จะให้ไปทำงานรับจ้างอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่แล้วถูกบังคับให้ขายตัว เลยกลายเป็นโสเภณีไป
ฉ) เพราะปัญหาว่างงาน ก็เลยหันมาประกอบอาชีพนี้
ช) เพราะคบเพื่อนไม่ดี เลยถูกเพื่อชักชวนไปทำงานประเภทบริการอื่น ๆ ก่อน แล้วในที่สุดก็กลายเป็นบริการทางเพศ
ซ) เพราะผู้ปกครองหรือพ่อแม่บางคนยินยอมที่จะให้ไปกระกอบอาชีพเช่นนั้น เป็นต้น

สาเหตุต่าง ๆ ตามที่ยกมากล่าวพอเป็นตัวอย่างข้างต้นนี้แหละ ที่ทำให้เด็กเยาวชนหรือเด็กหญิง ตัวน้อย ๆ อายุ 12-18 ต้องกลายเป็นโสเภณีที่มีชีวิตจมปลักหมักหมมอยู่ในห้วงอเวจี ไม่มีอิสระในตัวโสเภณีบางคนถูกบังคับให้ทำงานชนิดไม่ได้พักผ่อนหลับนอนเพียงพอทั้งไม่ให้ลา ไม่ให้หยุด หรือไม่ให้มาสาย จนสุขภาพร่างกายทรุดโทรม ร่างโรย ตายด้านตั้งแต่เยาว์วัย ผลตอบสนองที่สังคมได้รับจากหญิงโสเภณี จนกลายเป็นปัญหาสังคมนั้น มีหลายประการ เช่น

1) การแพร่เชื้อโรค ผู้หญิงโสเภณี เป็นผู้สำส่อนทางเพศย่อมเป็นบ่อเกิดแห่งกามโรคและโอกาสที่จะแพร่เชื้อกามโรคให้แก่ผู้ชายที่ไปเที่ยวผ่อนคลายความกำหนัดได้เป็นอย่างมากและง่ายดาย เช่น โรคเริม แผลริมอ่อน ฝีมะม่วง หนองในเทียม ซิฟิลิส โดยที่สุดแม้แต่เชื้อเอดส์

2) ทำลายความมั่นคงของครอบครัวไปติดกามโรคมา ก็อาจจะนำเชื้อมาเผยแพร่ให้สมาชิกของครอบครัว แทนที่จะติดโรคคนเดียวก็กลายเป็นสองคนหรือสามคน นอกจากจะเสียเงินไปเป็นค่าบำรุงบำเรอให้โสเภณีแล้วก็ต้องนำเงินทองมาใช้จ่ายเป็นค่ายารักษาโรค เป็นจำนวนมิใช่เล็กน้อยแทนที่จะได้นำเงินนั้นไปใช้จ่ายบำรุงความสุขแก่ครอบครัว และบางทีถึงกับครอบครัวแตกสลายลงเพราะภรรยาฟ้องหย่ากับสามีในเรื่องเช่นนี้ มักมีปรากฏให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง หรือบางทีก็เกิดเป็นการทะเลาะกันเกิดระหองระแหงภายในครอบครัว ขาดความไว้วางใจกันในระหว่างคู่ครอง สมาชิกของครอบครัวขาดความอบอุ่นและมีปมด้อยเป็นการทำลายบรรยากาศความสุขในครอบครัวได้ ซึ่งก็เป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของครอบครัวอันเป็นสถาบันพื้นฐานที่สุดของสังคมนั่นเอง

3) เป็นต้นเหตุทำลายศีลธรรมจรรยาอันดีงามของสตรี เพราะผู้หญิงหรือสตรีโดยทั่ว ๆ ไป จะต้องเป็นผู้มีความละอาย มีกิริยามารยาทเรียบร้อยสมเป็นกุลสตรี แต่คุณธรรมจรรยาดังกล่าวจะหาได้ยากมากในพวกผู้หญิงโสเภณี มีแต่จะเป็นที่ปรากฏโดยทั่วไปว่า หญิงพวกนี้มีความละอายน้อยขาดจรรยา มารยาที่ดีงามและมีความประพฤติชั่วช้ากักขฬะหยาบโลน

3.2 ผลกระทบกับสังคมไทย

1) ในแง่ของปัจเจกบุคคล ย่อมทำให้ประชาชนมีสุขภาพจิตเสื่อมทรามลง สุขภาพบุคลิกภาพถดถอย ขาดสติปัญญาความรอบรู้ในการแก้ไขปัญหาชีวิต เป็นต้น
2) ในแง่ของสังคมส่วนรวม สังคมขาดความสงบสุข เนื่องจาก ปัญหาดังกล่าวข้างต้น
3) ในแง่ของการเมือง บุคคลในสังคมเป็นส่วนประกอบสำคัญในสถาบันทั้งปวง ผลอันโยงใยถึงกันย่อมก่อให้เกิดความไม่มั่นคงในการเมือง ไม่เป็นที่ยอมรับในสายตาของชาวโลก
4) ในแง่ของเศรษฐกิจ ย่อมเป็นปัญหาระยะยาวอันเกิดจากพฤติกรรมของบุคคลในสังคม การว่างงาน การขาดรายได้ การประกอบอาชีพไม่สุจริต คุณภาพของบุคคลในสังคมย่อมส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจของสังคมด้วย

3.3 พระพุทธศาสนากับการแก้ไขปัญหาสังคม

  • 3.3.1 ปัญหาความแตกร้าวในครอบครัว

อาจจะมาจากสาเหตุหลายอย่าง เช่นสาเหตุทางเศรษฐกิจบ้าง สุขภาพอนามัยบ้าง สิ่งแวดล้อมบ้างและสาเหตุที่สำคัญที่สุดก็คือ การบกพร่องในหน้าที่ของบุคคล ไม่คนใดก็คนหนึ่ง หรือเกิดบกพร่องพอ ๆ กัน สาเหตุเหล่านี้น่าจะเป็นบทเรียนสำหรับผู้จะมีชีวิตครอบครัว ควรจะได้พิจารณาข้อคิดบางประการก่อนจะตัดสินใจแต่งงาน กล่าวคือ

1) ทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง จะต้องมีความรักความเข้าใจซึ่งกันและกัน
2) จะต้องมีความมั่นคงในทางการเงิน
3) จะต้องพร้อมที่จะอดทนในการเผชิญต่อความยุ่งยากอันจะพึงมีขึ้น
4) จะต้องไม่มีปัญหาในเรื่องสถานที่อยู่หรือบ้านพัก
5) ทั้งสองฝ่ายจะต้องแสดงความจริงใจต่อกัน
6) จะต้องมีความสมบูรณ์แห่งสุขภาพและการสนองความต้องการทางเพศ

ทั้งนี้เพราะปัญหาที่จะนำไปสู่การแตกร้าวในครอบครัวโดยเฉพาะการหย่าร้างอันเกิดจากทางฝ่ายสามี ทางพุทธศาสนาได้กล่าวไว้ใน สังขปัตตชาดกว่ามี 8 อย่าง คือ

1) สามี เป็นคนเข็ญใจ
2) สามีเป็นขี้โรค
3) สามีเป็นคนแก่
4) สามีเป็นคนขี้เมา
5) สามีเป็นคนโฉดเขลา
6) สามีเป็นคนเพิกเฉย
7) สามีไม่ทำมาหากิน
8) สามีหาทรัพย์มาเลี้ยงดูไม่ได้

สาเหตุจากปัญหาสิ่งแวดล้อมนั้นก็อาจจะแก้ได้โดยการงดจากอบายมุข (เหตุย่อยยับแห่งโภคทรัพย์) 4 ประการดังกล่าวไว้นั้น โดยเฉพาะข้อที่ 4 การเว้นจากการคบคนชั่วเป็นมิตรสหาย แล้วพยายามเลือกคบแต่เพื่อนที่ดีที่เป็นกัลยามิตร เพราะเพื่อนนั้นนับว่าเป็นสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวที่อิทธิพลและมีความสำคัญมาก คนทีได้ดีมีความสำเร็จในชีวิตได้นั้นก็เพราะมีเพื่อนดี หรือคบแต่เพื่อนดีนั่นเองดังที่กล่าวกันว่า "คบคนดีเป็นศรีแก่ตัว" จะรู้ได้อย่างไรว่า เพื่อนดีที่จัดเป็นกัลยาณมิตรนั้น มีลักษณะอย่างไร พระพุทธเจ้าได้ทรงกำหนดลักษณะของมิตรที่ดีและชั่วไว้มนทีฆนิกาย ปาฏิกวรรคว่า ลักษณะของเพื่อนที่ดี หรือเพื่อนแท้ มี 4 ประการคือ

1) เพื่อนที่มีอุปการะ
2) เพื่อนที่ร่วมสุขร่วมทุกข์
3) เพื่อนที่แนะนำประโยชน์
4) เพื่อนที่มีความรักใคร่

  • 3.3.2 สาเหตุมาจากการบกพร่องในหน้าที่

อาจจะแก้ได้โดยการรักษาหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด พ่อบ้านแม่เรือนต่างก็มีหน้าที่รับผิดชอบดังที่พระพุทธองค์ได้ตรัสเอาไว้ในทีฆนิกายปาฏิกวรรค ในฐานะของผู้เป็นสามี ก็ต้องทำหน้าที่ที่พึงทำต่อภรรยาดังนี้ เช่น ยกย่องให้เกียรติสมฐานะที่เป็นภรรยา ไม่แสดงอาการดูหมิ่นเหยียดหยามภรรยา ไม่เกี่ยวข้องกับสตรีอื่นในทางประเวณี เป็นต้น

ส่วนผู้เป็นภรรยา ก็ต้องทำหน้าที่ที่พึงทำเป็นการอนุเคราะห์สามีดังนี้ เช่น จัดการงานภายในบ้านในฐานะที่ตนเป็นแม่บ้านให้สะอาดเรียบร้อย สงเคราะห์ญาติมิตรทั้งสองฝ่ายด้วยดี ไม่ประพฤติกรรมอันเป็นข้าศึก ต่อความเป็นภรรยาสามี ได้แก่ การเกี่ยวข้องกับชายอื่นในทางชู้สาว หรือไม่หึงหวงจนเกิดเหตุ เป็นต้นพร้อมกันนั้นก็จะต้องนำเอาหลักธรรมสำหรับการครองเรือน คือ ฆราวาสธรรม 4 ประการ มาใช้ต่อกันในบ้านด้วย ดังนี้

1. สัจจะ ความจริงใจ คือ ซื่อสัตย์ต่อกัน ทั้งจริงใจ จริงวาจา และจริงในการกระทำ

2. ทมะ ฝึกตน คือ รู้จักควบคุมจิตใจ ฝึกหัดตัดนิสัยแก้ไขข้อบกพร่องข้อขัดแย้ง ปรับตัวปรับใจเข้าหากัน

3. ขันติ อดทน คือ มีจิตใจเข้มแข็งหนักแน่น ไม่วู่ว่าม ทนต่อความล่วงล้ำกล้ำเกินกัน และร่วมกันอดทนต่อความเหนื่อยยาก ลำบากตรากตรำ ฝ่าฟันอุปสรรคไปด้วยกัน

4. จาคะ เสียสละ คือ มีน้ำใจ สามารถเสียสละความสุขสำราญ ความพอใจ ส่วนตนเพื่อคู่ครองได้ เช่น อดหลับอดนอนพยาบาลกันในยามเจ็บไข้ เป็นต้น ตลอดจนมีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อญาติมิตรสหายของคู่ครองไม่ในแคบ

ฝ่ายพ่อบ้านหรือสามี ก็จะต้องเป็นผู้เห็นใจแม่บ้านหรือภรรยาเป็นกรณีพิเศษด้วย ทั้งนี้เพราะสตรีมีความทุกข์อันเป็นลักษณะเฉพาะตัวอีกส่วนหนึ่งต่างหากจากผู้ชาย ซึ่งสามีจะต้องเข้าใจและพึงปฏิบัติด้วยความเอาใจใส่เห็นอกเห็นใจด้วย เช่น ผู้หญิงต้องจากหมู่ญาติมาอยู่กับตระกูลของสามีทั้งที่เป็นเด็กสาว สามีควรให้ความอบอุ่นใจ ผู้หญิงมีระดู ซึ่งบางคราวก่อปัญหาให้เกิดความแปรปรวนทั้งจิตใจและร่างกาย ฝ่ายชายควรเข้าใจ ผู้หญิงมีครรภ์ ซึ่งยามนั้นต้องการความเอาใจใส่ บำรุงกายใจเป็นพิเศษ เป็นต้น สมาชิกครอบครัว ไม่ใช่มีแต่สามีภรรยาเท่านั้น สมาชิกที่สำคัญอีกจำพวกหนึ่งก็คือลูก ๆ ผู้ที่เป็นพ่อบ้านแม่บ้านหรือเป็นพ่อแม่จะต้องรักษาหน้าที่ของตนที่จะต้องมีต่อลูกโดยปฏิบัติหน้าที่นั้นให้ดีที่สุด และยุติธรรมกับลูก ๆ ทุกคน หน้าที่ของพ่อแม่นั้น พระพุทธองค์ได้ตรัสแนะเอาไว้ในทีฆนิกายปาฏิกวรรค ดังนี้ เช่น ห้ามไม่ให้ลูกทำชั่ว แนะนำให้ลูกตั้งอยู่ในความดี ให้ลูกได้ศึกษาเล่าเรียน เป็นต้น

  • 3.3.3 ปัญหาอาชญากรรมและทุรกรรมต่าง ๆ

สำหรับปัญหาอาชญากรรมและทุรกรรมต่าง ๆ ซึ่งเกิดขึ้นเป็นประจำวันในชีวิต คือความเป็นอยู่ในปัจจุบันนั้นอาจจะเกิดมาจากหลายสาเหตุหลายประการ เช่น สันดานเป็นอาชญากร ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม ครอบครัว สิ่งแวดล้อม เป็นต้น

สำหรับสาเหตุจากปัญหาเศรษฐกิจและครอบครัว ได้กล่าวถึงวิธีแก้มาแล้วข้างต้น ซึ่งอาจจะนำมาใช้ในกรณีนี้ได้เช่นเดียวกัน ส่วนที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเช่น แหล่งจำหน่ายยาเสพติด เป็นต้น ถ้าจะให้ได้ผลดี ทางฝ่ายรัฐบาลหรือชนชั้นบริหารน่าจะได้จัดการแก้ไขให้ดีกว่าที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ โดยรัฐบาลหรือผู้มีหน้าที่รับผิดชอบทางฝ่ายบ้านเมือง อาจจะแก้ด้วยการนำเอาธรรมะไปเป็นหลักในการทำงาน เมื่อเห็นว่าสิ่งแวดล้อมใดที่ขัดกับหลักศีลธรรมและจารีตประเพณีที่ดีงาม ก็จัดการให้เป็นไปในทางดีเสีย ก็จะเป็นอุบายวิธีแก้ไขที่ได้ผลมากทางหนึ่ง

  • 3.3.4 ปัญหาศีลธรรมเสื่อม

สาเหตุแห่งศีลธรรมเสื่อมนั้น มีมากมายอาจจะมาจาส่วนตัว ส่วนครอบครัว สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ ฯลฯ การแก้สาเหตุจากครอบครัว สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจนั้น ได้กล่าวไว้แล้ว แต่ในที่นี้นับว่าสำคัญมากที่สุดก็คือส่วนตัวแต่ละบุคคล จะเป็นกุญแจดอกสำคัญที่จะไขไปสู่การแก้ปัญหาศีลธรรมเสื่อม คือจะต้องจัดการกับตัวเราเองให้ได้อย่างน้อย 2 วิธี คือ

1) พยายามหัดหรือปลูกฝังให้เกิดความฝังใจในการรังเกียจความชั่วช้าต่าง ๆ และประทับใจในความนิยมชมชอบในคุณงามความดีทั้งในที่ลับและที่แจ้ง อาจจะโดยวิธีพิจารณาให้เห็นว่า ความชั่วเป็นตัวสกปรกเป็นของเสียของเหม็นสาบ ไม่มีใครชอบ

2) พิจารณาถึงเหตุผลในเรื่องเอาใจเขามาใส่ใจเรา เทียบเคียงกันและกัน คนที่จะเห็นอกเห็นใจผู้อื่นได้นั้น มักจะรู้เทียบเคียงอกเขาอกเราเสมอ จะเป็นการฝึกไม่ลืมตน และยังสามารถทำตนให้เป็นที่นิยมรักใคร่ของคนทั้งหลายได้ เพราะคนที่ลืมตนนั้นเมื่อตนเองเป็นฝ่ายได้เปรียบ เป็นฝ่ายเหนือคนอื่นก็มักจะข่มขู่หรือเหยียบผู้อื่นโดยปราศจากความปรานี

  • 3.3.5 ปัญหาโสเภณี สมเด็จพระมหาสมณเจ้า

กรมพระยาวิชรญาณโรรส ได้ทรงรจนาไว้ในหนังสือเบญจศีลเบญจธรรม เกี่ยวกับผู้เที่ยวซุกซนชอบคบค้ากับหญิงแพศยา (โสณี) จะประสบความเสื่อมเสียประการต่าง ๆ คือ

1) ต้องเสียทรัพย์เป็นค่าบำเรอหญิงนั้นทุกคราวไป ทรัพย์ที่เสียไปนี้ ไม่ใช่สำหรับทำอุปการะโดยฐานเมตตาที่ได้ชื่อว่าเป็นอันจ่ายด้วยดี แต่เป็นค่าปรับเพราะลุอำนาจแก่กิเลสกาม

2) หญิงแพศยาผู้ประพฤติสำส่อนในกาม ย่อมเป็นบ่อเกิดแห่งโรค อันทำให้ร่างกายพิการไปต่าง ๆ เสียกำลังไม่แข็งแรง ที่สุดเสียชีวิต และโรคนี้ติดต่อกันได้ มีบุตรภายหลังแต่เป็นคนมักมีโรค ไม่แข็งแรง

3) เสี่ยงต่ออันตรายต่าง ๆ เพราะหญิงแพศยา ย่อมผูกสมัครรักกับชายหลายคน ฝ่ายชายต่างคนก็จะเกิดหึงหวงเกียจกันและกันขึ้นเองเป็นฐานะที่เขาจะเกิดวิวาทกันขึ้นแล้วทำลายกัน

ตามทรรศนะทางพุทธศาสนาแล้ว การจะแก้ปัญหาอะไรก็ตามจะต้องแก้ที่ต้นเหตุ แก้กันไปให้ถึงต้นเหตุจริง ๆ น่าจะได้สาวหาต้นเหตุของการเกิดโสเภณีอย่างแท้จริง น่าจะเป็นไปได้ที่ว่า เพราะตราบใดยังมีคนไปเที่ยวโสเภณี ตราบนั้นก็ต้องมีโสเภณีแน่ และหากยิ่งมีคนไปใช้บริการนี้มาก ก็ยิ่งเกิดโสเภณีมากยิ่งขึ้นแล้วทำไมจึงมีคนถึงมีอารมณ์ทางเพศรุนแรงเพิ่มขึ้น ก็เพราะ

1) สภาพสังคมที่อยู่รอบตัวเรานั่นเองส่งเสริมโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางสื่อมวลชน ไม่ว่าจะเป็นภาพยนต์ วีดีโอ ละคร เพลง การโฆษณา การจัดประกวดนางงามธิดาต่าง ๆ การกีฬา หนังสือพิมพ์รายวัน หนังสือลามกต่าง ๆ ทั้งของเด็กและผู้ใหญ่ มีการเผยแพร่ยั่วยุกามราคะจัดยิ่งขึ้น ฉะนั้น ตราบใดที่การสื่อสารต่าง ๆ ยังป้อนภาพ-เสียง-สัมผัสที่เร่งเร้า ปลุกอารมณ์ทางเพศให้ระอุฮือโหมแก่ประชาชนอยู่ตลอดเวลาแล้ว ตราบนั้นปัญหาโสเภณีย่อมไม่มีวันลดน้อยลงไปได้ และโสเภณีมีแต่จะถูกเพิ่มจำนวนให้มารองรับอารมณ์กามของผู้ชายมากขึ้น พร้อมกันนั้น สื่อสารลามกต่าง ๆ ก็จะออกมาเอาใจลูกค้า กามตัณหาก็เพิ่มทวีคูณยิ่งขึ้นไปอีก

2) ตัวบุคคลแต่ละคน พระพุทธเจ้าได้ตรัสเตือนให้รักษาศีล 5 เป็นนิจศีลสำหรับบุคคลทั่วไป มิให้ขาดมิให้ทำลาย ซึ่งในศีล 5 นั้น มีข้อที่ 3 ที่ให้มีเจตนางดเว้นจากประพฤติผิดในทางกามมีรายละเอียดดังกล่าวไว้ในบทที่ 2 ข้อที่ว่าด้วยเบญจศีลเบญจธรรม เมื่องดเว้นจากการประพฤติในกามนี้เป็นขั้นของศีล แต่จะมีธรรมควบคู่ด้วย คือ จะต้องมีกามสังวร ปติวัตร และสทารสันโดษ เพราะฉะนั้นบุคคลแต่ละคนนี้แหละที่เป็นต้นเหตุอันแท้จริงของการเกิดโสเภณีเพราะบุคคลแต่ละคนขาดธรรมคือกามสังวร ซึ่งพระพุทธองค์ได้ทรงแนะนำให้ "สังวรในกาม คือกิริยาที่ระมัดระวังไม่ประพฤติมักมากในกาม" ก็เพราะในด้านของปัจเจกชน หากไม่มีความสังวรในกามแล้วจิตใจก็จะหาความสงบมิได้ จะมีความกระวนกระวายแสวงหากามอยู่เรื่อยไป ทั้งจะวิจิตรพิศดารขึ้นเรื่อย ๆ อย่างไม่มีขอบเขต เพราะว่าการเสพกามจะทำให้เต็มอิ่มนั้นไม่ได้ มันไม่เหมือนกับการกินข้าว ที่กินแล้วยังรู้จักอิ่ม แต่การเสพกามนี้เหมือนกับยาเสพติดอย่างหนึ่ง คือยิ่งเสพก็ยิ่งติด วิธีการที่ฉลาดกว่าในการที่จะทำให้อิ่มในกามให้เกิดขึ้นก็คือ วิธีตามแนวพุทธศาสนา คือการเสพกามให้น้อยลง น้อยลงเรื่อยๆ จนหยุดไปเอง

การจะถือหลักที่ว่า "น้ำมีไหล ไฟมีควัน ชายมีนารี สตรีมีบุรุษ" ก็เป็นธรรมดาของปุถุชน เพราะเมื่อเป็นผู้ใหญ่จบการศึกษามีหน้าที่การงานแล้วก็สามารถมีครอบครัว คือ มีสามี หรือภรรยา เป็นเพื่อนคู่ชิดมิตรคู่ใจเป็นคู่สร้างคู่สม มีความรักที่บริสุทธิ์ต่อกัน ซื่อสัตย์ต่อกันจริงใจต่อกัน เข้าใจกันและกัน อาจมีเพื่อนต่างเพศคบกัน ดูใจกัน สังเกตอุปนิสัยใจคอกันและกันก่อน และอย่าชิงสุกก่อนห่าม ถ้าจะให้ดีก็ต้องให้พ่อแม่ทั้งสองฝ่ายรับรู้เห็นชอบด้วย จะได้มีหลักประกันหรือมีพยาน ชนิดที่เราเรียกกันว่า เข้าตามตรอก ออกตามประตูอย่าเข้าหลังบ้านออกทางหน้าต่าง ไม่ปลอดภัยแน่ จะต้องแน่ใจว่าเปแนความรักที่บริสุทธิ์จริงใจต่อกันให้มีสติสัมปชัญญะ อย่าให้ถึงขั้นมืดมน ดังที่กล่าวกันว่า "ความรักเหมือนโรคา บันดาลตาให้มิดมน" รักอย่างนี้มีเพื่อต่างเพศอย่างนี้มีจุดหมายที่แน่นอนเพื่อจรรโลงชีวิตคู่หรือชีวิตครอบครัวอย่างนี้ มีจุดหมายที่แน่นอน เพื่อจรรโลงชีวิตคู่หรือครอบครัวอย่างนี้ไม่มีความเสียหาย สังคมยอมรับปฏิบัติกันอยู่แล้ว

วิกฤติทางการเมือง
วิกฤติด้านเศรษฐกิจ
วิกฤติด้านสังคม
วิกฤติสิ่งแวดล้อม
ข้อเสนอแนะ
บทสรุปและวิเคราะห์

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย