สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

วิถีโลก

เอกสารประกอบการสอนหมวดวิชาการศึกษาทั่วไป

วิวัฒนาการทางสังคม เศรษฐกิจ และ การเมืองการปกครองของสังคมโลก
สภาพปัจจุบันของสังคมโลก
ปัญหาและการแก้ปัญหาสังคมของโลก
แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก
การปรับตัวของไทยในสังคมโลก
บรรณานุกรม

สภาพปัจจุบันของสังคมโลก

บทสรุป

สงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งสิ้นสุดลงใน ค.ศ. 1945 เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของการเมืองโลก ประเทศมหาอำนาจที่เคยแสดงบทบาทก่อนสงคราม เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี และญี่ปุ่นได้ลดบทบาทลง เนื่องจากได้รับความบอบช้ำและเสียหายจากสงคราม ในขณะที่สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตได้ก้าวเข้ามามีบทบาทเป็นมหาอำนาจแทนที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศที่มีความแข็งแกร่งทางศรษฐกิจ มีแสนยานุภาพทางทหาร มีอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในครอบครองกลายเป็นมหาอำนาจที่โดดเด่น สหรัฐอเมริกาได้ร่วมมือกับประเทศพันธมิตรฝ่ายชนะสงครามจัดระเบียบโลกใหม่ เพื่อสร้างความมั่นคงทางการเมือง และความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ อีกทั้งยังหาทางป้องกันไม่ให้เกิดสงครามโลกขึ้นมาอีก ด้วยการจัดตั้งองค์การ สหประชาชาติขึ้น ด้วยหวังว่าจะช่วยจรรโลงให้เกิดสันติภาพในโลก แต่ปรากฏว่าความหวาดระแวงระหว่างมหาอำนาจทั้งสอง ที่มีความแตกต่างทางด้านอุดมการณ์ทางการเมืองและระบบเศรษฐกิจนำไปสู่ความตึงเครียดในความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตจนกลายเป็น “สงครามเย็น” ใน ค.ศ. 1947 เป็นเหตุให้สังคมโลกตกอยู่ในภาวะตึงเครียดในช่วงเกือบครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา อันเป็นผลมาจากการแข่งขันการขยายอิทธิพลและการแทรกแซงของมหาอำนาจตามภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก
ปลายทศวรรษที่ 1980 บรรยากาศความตึงเครียดได้ผ่อนคลายลง เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงในความสัมพันธ์ของมหาอำนาจจากความขัดแย้งสู่ความร่วมมือ อีกทั้งยังมีการพังทลายของระบอบคอมมิวนิสต์ใน ยุโรปตะวันออก ติดตามด้วยการทำลายกำแพงเบอร์ลิน การรวมเยอรมนีและการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในที่สุด กล่าวได้ว่าสงครามเย็นได้สิ้นสุดลงพร้อมกับการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในต้นทศวรรษที่ 1990 เมื่อรัสเซียซึ่งเป็นประเทศที่ทรงอิทธิพลมากที่สุด ในอดีต สหภาพโซเวียตต้องเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาเชื้อชาติ จนไม่สามารถก้าวขึ้นมาแข่งขันกับสหรัฐอเมริกาได้

อย่างไรก็ตามแม้สงครามเย็นจะยุติลงแล้ว แต่ไม่ได้หมายความว่าสังคมโลกจะได้พบกับสันติภาพที่ถาวร สังคมโลกยุคใหม่ที่เรียกว่า ยุคโลกาภิวัตน์ แท้ที่จริงแล้วกระบวนการโลกาภิวัตน์ คือ การครอบงำโลกทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของอภิมหาอำนาจ ซึ่งสามารถแผ่อิทธิพลของตนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบต่างๆ ผลกระทบของกระบวนการโลกาภิวัตน์โดยตรงต่อชาติที่เจริญทางเทคโนโลยีการสื่อสารที่ด้อยกว่าคือ การทำลายกำแพงวัฒนธรรม เอกลักษณ์ของประชาชาติทั้งหลาย ในขณะเดียวกันพบว่าหลายส่วนของโลกยังมีสงครามภายในรุนแรง อันเกิดจากความขัดแย้งทางเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรมตลอดจนการแย่งชิงผลประโยชน์ สังคมโลกยังต้องเผชิญกับปัญหาท้าทายใหม่ๆ เช่น ปัญหาโรคเอดส์ที่ยังไม่มีตัวยาชนิดใดจะเยียวยาได้ ปัญหาสิ่งแวดล้อม ตลอดจนปัญหาการก่อการร้ายข้ามชาติ ปัญหาเหล่านี้ได้กลายเป็นปัญหาไร้พรมแดน ซึ่งเป็นเรื่องที่ประชาคมโลกจะต้องร่วมมือกันหาทางแก้ไข

ในขณะเดียวกัน เราได้เห็นความพยายามขององค์การระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง องค์การสหประชาชาติและทบวงการชำนัญพิเศษต่างๆ ที่ได้พยายามเข้าไปแก้ปัญหาของสังคม โลกทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ประเทศไทยในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของสังคมโลก ไทยได้เข้าเป็นสมาชิกขององค์การระหว่างประเทศทั้งในระดับโลก และระดับภูมิภาค ทั้งนี้ เพื่อเป็นการรักษาผลประโยชน์ของชาติอีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างบทบาทของไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ

สังคมโลกในอนาคตจะพบกับสันติสุขได้ หากทุกประเทศให้ความร่วมมือกันไม่ เอารัดเอาเปรียบ เน้นการพัฒนาอย่างมีทิศทาง สมดุลและยั่งยืน

เอกสารอ้างอิง

  • เกษียร เตชะพีระ. (2538). วิวาทะโลกานุวัตร. กรุงเทพฯ : ผู้จัดการ.
  • จุลชีพ ชินวรรณโณ. (2542).สู่สหัสวรรษใหม่ที่ 3 : Toward The Third Millenium กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชวนพิมพ์.
  • ชุมพร ปัจจุสานนท์. (2537).สหประชาชาติสถาบันระหว่างประเทศ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ :น่ำกังการพิมพ์,
  • ชัยรัตน์ ศิริวัฒน์. (2541). “การเปิดเสรีทางการค้ากับผลสะท้อนทางลบที่ไม่มีใครคาดถึง” ใน สราญรมย์ ที่ระลึกครบรอบปีที่ 55. หน้า 217-231. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิง.
  • ชัยอนันต์ สมุทวณิช. (2541). ประชารัฐกับการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ : สุขุมและบุตร .. (2538). โลกานุวัตรกับอนาคตของประเทศไทย. กรุงเทพฯ : นำอักษรการพิมพ์,
  • ทองหล่อ วงษ์ธรรมา. (2540). การศึกษาและวิเคราะห์เหตุการณ์โลกปัจจุบัน. กรุงเทพฯ : โอเดียน สโตร์,
  • เทียนชัย วงศ์ชัยสุวรรณ. (2540). “เศรษฐกิจฟองสบู่กับผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมไทย” ในกลียุคกับหายนะเศรษฐกิจไทย. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง ,
  • ธนาสฤษฎิ์ สตะเวทิน และกฤษณา ไวสำรวจ. (2541).องค์การระหว่างประเทศ. พิมพ์ครั้งที่ 9.กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
  • ธีระ นุชเปี่ยม. (2535). “เอเชียหลังยุคสงครามเย็น” เอเชียปริทัศน์. 13(พฤษภาคม-สิงหาคม ) :
    1-20.. (2541). การเมืองโลกหลังสมัยใหม่. กรุงเทพฯ : ศิลป์สยามบรรจุภัณฑ์และการพิมพ์,
  • นิตย์ พิบูลสงคราม. (2538). “ครึ่งศตวรรษแรกของสหประชาชาติ” ใน ไทยกับสหประชาชาติ : ความร่วมมือในรอบ 50 ปี . กรุงเทพฯ : กระทรวงการต่างประเทศ.
  • ประภัสสร์ เทพชาตรี. (2543). นโยบายต่างประเทศของไทย จากยุควิกฤตเศรษฐกิจสู่สหัสวรรษใหม่. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  • พรรณสิริ พรหมพันธุม. (2541). “การประชุมเอเปค 1998” ข่าวเอเชียศึกษา. 14 ( ตุลาคม-ธันวาคม ) :3-7.. (2537). “พัฒนาการของเอเปค” ข่าวเอเชียศึกษา. 10(เมษายน-มิถุนายน ) : 3-7.
  • พิทยา ว่องกุล. (บก.). (2541). มหกรรมประชาชนกู้ชาติ เคลื่อนทัพจับศึกษา IMF. กรุงเทพฯ :เคล็ดไทย.
  • พิษณุ สุวรรณชฏ. (2540). สามทศวรรษอาเซียน. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
  • มานพ เมฆประยูรทอง. (2535). สหประชาชาติกับการเมืองและการพัฒนา. กรุงเทพฯ :
  • สมาคมสหประชาชาติแห่งประเทศไทย กระทรวงการต่างประเทศ.. (2538). สหประชาชาติ : สันติภาพกับการพัฒนา. กรุงเทพฯ : สมาคมสหประชาชาติ
  • รสลิน ธำรงวิทย์. (2537). สถาบันระหว่างประเทศ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : น่ำกังการพิมพ์.
  • รังสรรค์ ธนะพรพันธ์. (2543). วิกฤตการณ์การเงินและเศรษฐกิจการเงินไทย. กรุงเทพฯ : โครงการจัดพิมพ์คนไทย.
  • วิทยากร เชียงกูล. (2539). VISION 2020 จิตภาพสำหรับผู้บริหารและสังคมไทย. กรุงเทพฯ :มิ่งมิตร.
  • ศิโรตม์ ภาคสุวรรณ. (2539). ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
  • ศุภชัย พานิชภักดิ์. (2545). “แนวโน้มการค้าโลก บทบาทไทยในเวทีการค้าโลก” เอกสารสัมมนาทางวิชาการโดยนิสิตโครงการปริญญาโท. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
  • ศุภวุฒิ สายเชื้อ และถนอมศรี ฟองอรุณรุ่ง. (2543). เศรษฐกิจพลาดสู่วิกฤติ. กรุงเทพฯ : พิฆเณศ พรินท์ติ้ง เซ็นเตอร์.
  • เศรษฐสยาม.(นามแฝง),(2541). สหรัฐอเมริกา ยุทธศาสตร์ครองความเป็นเจ้า. กรุงเทพฯ : อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
  • สมชาย ภคภาสวิวัฒน์. (2537). “การรวมกลุ่มทางการค้าของอเมริกาเหนือ (NAFTA) กับสหภาพยุโรป(EU)” ใน การสัมมนาทางวิชาการเรื่อง ความร่วมมือในภูมิภาคและระหว่างประเทศหลังสงครามเย็น. หน้า 1-7 สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  • สมพงศ์ ชูมาก. (2542). ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศยุคปัจจุบัน (ทศวรรษ 1990 และแนวโน้ม). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.. (2539). การปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติในอดีตและปัจจุบัน.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  • สุทธิพันธ์ จิราธิวัฒน์. (2539). “ความร่วมมือทางเศรษฐกิจของเอเปคมองไปจนสุดแผนปฏิบัติการโอซากา” เอเชียรายปี. กรุงเทพฯ : สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  • อภิชัย พันธเสน. (2540). “วิกฤติการณ์ความยากจนและทางออก” กลียุคกับการหายนะเศรษฐกิจไทย.กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
  • อุกฤษฎ์ ปัทมานันท์ (บก.) อาเซียนใหม่. (2541). กรุงเทพฯ : สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  • อุดม เกิดพิบูลย์. (2543).ทฤษฎีและนโยบายการค้าระหว่างประเทศ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  • Felix, David. (1994). “International Capital Mobility and Third World Development Compatible Marriage Troubles Relationship?” Policy Science, Vol.27 No.4.
  • Freeman, Andrew. (1996). “Turning Digits into Dollars A Survey of Technology in Finance”The Economist (October 26, November 1) .
  • Giddens, Anthony. (1990).The Consequences of Modernity. Cambridge. Polity Press.
  • Korten, David C. (1996).When Corporations Rule the World, West Hartford Kumarian Press And San Francisco Beret-Kochler Publishers Inc.
  • La Feber, Walter. (1991).America Russia and the Cold War, 1945-1990. 6th ed. New York :McGraw-Hill, Inc.

สังคมโลกยุคสงครามเย็น (Cold War)
สังคมโลกยุคโลกาภิวัตน์
องค์การระหว่างประเทศ
บทสรุป

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย