สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

วิถีโลก

เอกสารประกอบการสอนหมวดวิชาการศึกษาทั่วไป

วิวัฒนาการทางสังคม เศรษฐกิจ และ การเมืองการปกครองของสังคมโลก
สภาพปัจจุบันของสังคมโลก
ปัญหาและการแก้ปัญหาสังคมของโลก
แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก
การปรับตัวของไทยในสังคมโลก
บรรณานุกรม

วิวัฒนาการทางสังคม เศรษฐกิจ และ การเมืองการปกครองของสังคมโลก

วิวัฒนาการทางเศรษฐกิจของโลก

1 วิวัฒนาการทางเศรษฐกิจโลกยุคโบราณ

เมื่อเกิดมีมนุษย์เกิดขึ้นในโลก มนุษย์มีความจำเป็นในการแสวงหาอาหารตามธรรมชาติ ด้วยการล่าสัตว์และการหาพืชผักผลไม้จากธรรมชาติเป็นอาหารเพียงวันต่อวันโดยไม่มีเก็บ ยังเป็นมนุษย์ยุคหินเก่า และการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคหินใหม่ มนุษย์เห็นความจำเป็นในการผลิตอาหารเนื่องจากการหาอาหารตามธรรมชาติกระทำได้ยากขึ้น ต้องมีการอพยพย้ายถิ่นที่อยู่ตามแหล่งที่มีอาหาร มนุษย์จึงรู้จักการทำการเกษตรกรรมและการเลี้ยงสัตว์ มีการประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ในการเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์ และภาชนะในการประกอบอาหาร มนุษย์รู้จักการ ใช้ไฟ มีการใช้เสื้อผ้าที่ทำจากหนังสัตว์และใบไม้

นับตั้งแต่มนุษย์ได้ตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนใหญ่ มนุษย์รู้จักการแบ่งงานกัน ทำให้ต้องมีการผลิตอาหาร มีคนตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนใหญ่ จึงมีการแลกเปลี่ยนสิ่งของที่ใช้ในการดำรงชีวิต และพัฒนามาเป็นระบบการซื้อขายสินค้า มีการใช้เงินตราเป็นสื่อกลางอำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนสินค้า มนุษย์เริ่มรู้จักการใช้โลหะในการทำเครื่องมือเครื่องใช้ เช่น เหล็ก สำริด ทองแดง เป็นผลให้การเกษตรสามารถเพิ่มผลผลิตได้มากขึ้น มนุษย์มีอำนาจการซื้อมากขึ้น เมื่อสังคมขยายตัวเป็นชุมชนใหญ่ขึ้นเป็นเมือง นครรัฐ และอาณาจักร เช่น อาณาจักรอียิปต์ กรีก โรมัน จนกระทั่งอาณาจักรโรมันล่มสลาย

2. วิวัฒนาการทางเศรษฐกิจในยุคกลาง

ระบบเศรษฐกิจในยุคกลาง เป็นการดำเนินภายใต้ระบบแมนเนอร์หรือระบบศักดินาสวามิภักดิ์ ปัจจัยการผลิตที่สำคัญ คือ แรงงานและที่ดินที่ดินถูกยึดครองโดยชนชั้นเจ้านาย ประชาชนเป็นแรงงานที่ทำงานในที่ดินและเลี้ยงสัตว์ ในยุคนี้เงินตราเป็นสิ่งหายาก ตลาดถูกจำกัดเพราะกลัวการรุกราน มีภาวะสงครามอยู่ทั่วไป มนุษย์จึงต้องช่วยเหลือตนเองทุกๆ เรื่องการติดต่อค้าขายหยุดชะงักในช่วงยุคกลางตอนต้น ในช่วงยุคกลางตอนปลายเมื่อเกิดสงครามครูเสด ในประมาณคริสตศตวรรษที่ 12-15 ทำให้การค้าขยายตัว เพราะโลกตะวันตกได้ติดต่อกับโลกตะวันออก สินค้าที่ซื้อขายกันเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย และเครื่องเทศจากตะวันออกไกล การซื้อขายเริ่มเป็นระบบการลงทุนเพื่อการแสวงหาผลกำไร เกิดลัทธิทุนนิยม ซึ่งขยายตัวอย่างมากในช่วงศตวรรษที่ 11 และ 12

ลัทธิทุนนิยม หมายถึงระบบเศรษฐกิจที่มีจุดหมายเพื่อแสวงหากำไรเป็นสำคัญ มีการสะสมทุนอย่างกว้างขวางและนำทุนนั้นไปใช้หากำไรด้วยวิธีต่างๆ ระบบทุนนิยมขยายตัวในศตวรรษที่ 11 เนื่องจากมีการใช้เงินตราเป็นสื่อกลางและการให้สินเชื่อจากสินค้า แม้ว่าเงินที่กู้จะถูกห้ามไม่ให้มีการเรียกดอกเบี้ย แต่จะใช้บวกเพิ่มในราคาสินค้ารวมทั้งการโอนเงินจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยใช้ตั๋วเงินซึ่งต้องเสียค่าธรรมเนียม ต่อมาการคิดดอกเบี้ยเงินกู้และการหากำไรก็เริ่มแพรหลายในยุโรป เนื่องจากทัศนคติโดยทั่วไปเริ่มเปลี่ยนแปลง เนื่องจากผู้กู้มีความเสี่ยงจึงต้องชดเชยด้วยดอกเบี้ย สรุปได้ว่าการพัฒนาแนวคิดทุนนิยมนั้นเกิดจาการค้าและธุรกิจขยายตัวทำให้เกิดชนชั้นพ่อค้าและนักลงทุนผู้แสวงหากำไร และเรียกดอกเบี้ยให้เป็นปกติในการทำธุรกิจ นายทุนสามารถวางแผนการผลิตขนาดใหญ่ ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างขาดความเห็นอกเห็นใจกันเพราะนายทุนต้องการผลกำไร ระบบทุนนิยมส่งผลให้เกิดสถาบันการเงินคือธนาคารพาณิชย์เกิดขึ้นทั้งในประเทศเนเธอร์แลนด์และประเทศอังกฤษ

3. วิวัฒนาการทางเศรษฐกิจในยุคใหม่

การขยายตัวทางเศรษฐกิจในคริสศตวรรษที่ 15 ภายหลังการสิ้นสุดสงครามครูเสด ยุโรปมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก มีการสำรวจทางทะเล การปฏิรูปทางศาสนา การล่าอาณานิคม มีผลทำให้ตลาดการค้าขยายตัวอย่างรวดเร็ว อาณานิคมเป็นทั้งแหล่งวัตถุดิบและแหล่งขายสินค้า ธุรกิจขยายตัว มีการจัดตั้งบริษัทที่เกิดผลกำไรมหาศาล เกิดระบบสินเชื่อและระบบธนาคารมีการออกธนบัตรเพื่อใช้หมุนเวียนในระบบธุรกิจ ลัทธิพาณิชย์นิยมจึงเกิดขึ้นและขยายตัวอย่างรวดเร็ว ลัทธิพาณิชย์นิยมเป็นลัทธิที่เกิดขึ้นเพราะมนุษย์อยากสะสมความมั่งคั่งร่ำรวย รัฐบาลกลางจึงต้องส่งเสริมการค้าให้เจริญรุ่งเรืองโดยเฉพาะการค้าระหว่างประเทศด้วยการผลิตสินค้าสำเร็จรูปแล้วส่งไปขายยังต่างประเทศ โดยนำเข้าวัตถุดิบราคาถูกจากประเทศเมืองขึ้น หรือประเทศอาณานิคม ประเทศที่มั่งคั่งที่สุดคือประเทศอังกฤษ ในแนวคิดของลัทธิพาณิชย์นิยมรัฐบาล ต้องมีอำนาจในการควบคุมระบบเศรษฐกิจได้อย่างทั่วถึง เพื่อมุ่งหวังให้ประเทศของตนโดดเด่นกว่าประเทศอื่น ลัทธิพาณิชย์นิยมจะมุ่งเน้นการค้าระหว่างประเทศให้ได้เปรียบมากที่สุดโดยเฉพาะความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจอันหมายถึงการมีทองคำและเงินไหลเข้าประเทศ ลัทธิพาณิชย์นิยมมีอิทธิพลต่อนโยบายเศรษฐกิจของยุโรปในช่วงคริสตศตวรรษที่ 16 อย่างมาก ในการเสริมสร้างเศรษฐกิจให้ก้าวหน้าด้วยการปรับปรุงทั้งด้านการเกษตร อุตสาหกรรมและการค้าร่วมกันไป ลัทธิพาณิชย์นิยมถูกนำไปใช้ในประเทศโปรตุเกส สเปน ฮอลันดา อังกฤษและฝรั่งเศส โดยรัฐบาลเข้าควบคุมการค้าระหว่างประเทศทุกชนิดเพื่อให้ได้เปรียบดุลการค้า และสะสมโลหะมีค่า เช่น ทองคำและเงินให้มากที่สุด จึงก่อให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม และปฏิวัติทางด้านการเกษตรกรรม มีการนำเครื่องมือทางเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม เศรษฐกิจรุ่งเรือง มีการพัฒนาทางด้านการค้าและระบบการขนส่ง อาจกล่าวได้ว่า การพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจทำให้เกิดการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ อันนำไปสู่การเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 จนเป็นผลให้เกิดภาวะเศรษฐกิจ ตกต่ำหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดภาวะเงินเฟ้อ การล้มละลายของธนาคาร ทำให้เกิดระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม

4. สภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศ ที่มีบทบาทที่สำคัญต่อเศรษฐกิจโลกมีการเชื่อมโยงระบบการเงินระหว่างประเทศมีการช่วยเหลือระหว่างประเทศทางด้านเศรษฐกิจ เช่น ธนาคารโลก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ และองค์การการค้าโลก ในแต่ละภูมิภาคก็มีการจัดตั้งเขตการค้า

วิวัฒนาการทางสังคมของโลก
วิวัฒนาการทางเศรษฐกิจของโลก
วิวัฒนาการทางการเมืองการปกครองของโลก

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย