สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

กฎบัตรสหประชาชาติ

หมวดที่ 13 คณะมนตรีภาวะทรัสตี

องค์ประกอบ

มาตรา 86

1. องค์มนตรีภาวะทรัสตี จักประกอบด้วยสมาชิกของสหประชาชาติดังต่อไปนี้

ก. สมาชิกที่ปกครองดินแดนทรัสตี

ข. สมาชิกที่ได้ระบุนามไว้ในมาตรา 23 ซึ่งมิได้ปกครองดินแดนทรัสตี และ

ค. สมาชิกอื่น ๆ ซึ่งสมัชชาได้เลือกตั้งขึ้น มีกำหนดเวลา 3 ปี เท่าจำนวนที่จำเป็น เพื่อให้ประกันว่า จำนวนรวมของสมาชิกแห่งคณะมนตรีภาวะทรัสตี จะแบ่งออกได้เท่ากัน กับระหว่างสมาชิกของสหประชาชาติที่ปกครอง ดินแดนทรัสตีและที่ไม่ได้ปกครอง

2. สมาชิกแต่ละประเทศของคณะมนตรีภาวะทรัสตี จักกำหนดบุคคลที่มีคุณสมบัติ เป็นพิเศษเฉพาะคนหนึ่งเป็นผู้แทน ในคณะมนตรี

หน้าที่และอำนาจ

มาตรา 87

ในการปฎิบัติตามหน้าที่ สมัชชาและคณะมนตรีภาวะทรัสตีภายใต้อำนาจของสมัชชาอาจจะ :

ก. พิจารณารายงานซึ่งผู้ใช้อำนาจปกครอง เสนอมา

ข. รับคำร้องทุกข์ และตรวจสอบคำร้องเหล่านั้น โดยปรึกษาหารือกับผู้ใช้อำนาจปกครอง

ค. จัดให้มีการเยี่ยมเยียนเป็นครั้งคราว แก่ดินแดนทรัสตีโดยลำดับ ตามกำหนดเวลาที่จะได้ตกลงกับเจ้าหน้าที่ผู้ใช้อำนาจปกครอง และ

ง. ดำเนินการเหล่านี้ และอื่น ๆ โดยสอดคล้องกับข้อกำหนดแห่งความตกลงภาวะทรัสตี

มาตรา 88

คณะมนตรีภาวะทรัสตี จักวางรูปข้อถามเกี่ยวกับความรุดหน้าในทางการเมือง เศรษฐกิจ การสังคม และการศึกษาของประชาชนผู้อาศัยในแต่ละดินแดนทรัสตี และผู้ใช้อำนาจปกครองสำหรับแต่ละดินแดน ทรัสตีภายในขอบอำนาจของสมัชชา จักทำรายงานประจำปี เสนอสมัชชาโดยอาศัยมูลฐานแห่งข้อถามเช่นว่านั้น

การลงคะแนนเสียง

มาตรา 89

1. สมาชิกแต่ละประเทศ ของคณะมนตรีภาวะทรัสตี จักมีคะแนนเสียง 1 คะแนน

2. คำวินิจฉัยของคณะมนตรีภาวะทรัสตี กระทำโดยเสียงข้างมาก ของสมาชิกที่ประชุมและลงคะแนนเสียง

วิธีดำเนินการประชุม

มาตรา 90

1. คณะมนตรีภาวะทรัสตี จักรับเอาข้อบังคับระเบียบการประชุมของตนเอง รวมทั้งวิธีคัดเลือกประธานของตนด้วย

2. คณะมนตรีภาวะทรัสตี จักประชุมกันตามที่กำหนดไว้ ในข้อบังคับของตน ซึ่งจักรวมบทบัญญัติสำหรับเรียกประชุม ตามคำร้องขอของสมาชิกส่วนมากด้วย

มาตรา 91

เมื่อเห็นเหมาะสม คณะมนตรีภาวะทรัสตีจักถือเอาประโยชน์แห่งความช่วยเหลือของคณะมนตรีเศรษฐกิจ และการสังคม ของทบวงการชำนัญพิเศษเกี่ยวกับเรื่องซึ่งคณะมนตรีเศรษฐกิจ และการสังคม และทบวงการชำนัญพิเศษเหล่านี้ เกี่ยวข้องอยู่โดยลำดับ

หมวดที่ 1 ความมุ่งหมายและหลักการ
หมวดที่ 2 สมาชิกภาพ
หมวดที่ 3 องค์กร
หมวดที่ 4 สมัชชา
หมวดที่ 5 คณะมนตรีความมั่นคง
หมวดที่ 6 การระงับข้อพิพาทโดยสันติวิธี
หมวดที่ 7 การดำเนินการเกี่ยวกับการคุกคามต่อสันติภาพ การละเมิดสันติภาพ และการกระทำการรุกราน
หมวดที่ 8 ข้อตกลงส่วนภูมิภาค
หมวดที่ 9 ความร่วมมือระหว่างประเทศ
หมวดที่ 10 คณะมนตรีเศรษฐกิจและการสังคม
หมวดที่ 11 ปฏิญญาว่าด้วยดินแดนที่ยังมิได้ปกครองตนเอง
หมวดที่ 12 ระบบภาวะทรัสตีระหว่างประเทศ
หมวดที่ 13 คณะมนตรีภาวะทรัสตี
หมวดที่ 14 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
หมวดที่ 15 สำนักเลขาธิการ
หมวดที่ 16 บทเบ็ดเตล็ด
หมวดที่ 17 ข้อตกลงเฉพาะกาลเกี่ยวกับความมั่นคง
หมวดที่ 18 การแก้ไข
หมวดที่ 19 การสัตยาบันและการลงนาม

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย