สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

กฎบัตรสหประชาชาติ

หมวดที่ 8 ข้อตกลงส่วนภูมิภาค

มาตรา 52

1. ไม่มีข้อความใดในกฎบัตรฉบับปัจจุบัน ที่กีดกันการมีข้อตกลงส่วนภูมิภาค หรือทบวงการตัวแทนสำหรับจัดการเรื่อง ที่เกี่ยวกับการธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศ เช่นที่เห็นเหมาะสม สำหรับการดำเนินการส่วนภูมิภาคขึ้น หากข้อตกลงหรือทบวงการตัวแทนเช่นว่า และกิจกรรมนั้นๆ สอดคล้องกับความมุ่งหมาย และหลักการของสหประชาชาติ

2. สมาชิกของสหประชาชาติที่เข้าร่วมในข้อตกลงเช่นว่านั้น หรือประกอบขึ้นเป็นทบวงการตัวแทนเช่นว่านั้น จักต้องกระทำความพยายามทุกประการ ที่จะจัดระงับข้อพิพาทท้องถิ่นโดยสันติวิธี ด้วยอาศัยข้อตกลงส่วนภูมิภาค หรือทบวงการตัวแทน ส่วนภูมิภาคเช่นว่านั้น ก่อนที่จะเสนอเรื่องไปยังคณะมนตรีความมั่นคง

3. คณะมนตรีความมั่นคงจักสนับสนุนพัฒนาการแห่งการ ระงับข้อพิพาทแห่งท้องถิ่นโดยสันติวิธี ด้วยอาศัยข้อตกลงส่วนภูมิภาค หรือทบวงการตัวแทนภูมิภาคเช่นว่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการริเริ่มของรัฐที่เกี่ยวข้อง หรือโดยเสนอเรื่องมาจากคณะมนตรีความมั่นคงก็ดี

4. มาตรานี้ไม่ทำให้เสื่อมเสียโดยประการใด ๆ ต่อการนำมาตรา 34 และ 35 มาใช้

มาตรา 53

1. เมื่อใดเห็นเหมาะสม คณะมนตรีความมั่นคงจักใช้ประโยชน์ในข้อตกลงส่วนภูมิภาค หรือทบวงการตัวแทนเช่นว่านั้น เพื่อการดำเนินการบังคับภายใต้อำนาจของตน แต่จะมีการดำเนินการบังคับตามข้อตกลงส่วนภูมิภาค หรือโดยทบวงการตัวแทนส่วนภูมิภาค โดยปราศจากการให้อำนาจของคณะมนตรีความมั่นคงไม่ได้ เว้นแต่มาตรการที่กระทำต่อรัฐสัตรู ดังที่นิยามไว้ในวรรค 2 แห่งมาตรานี้ ซึ่งได้บัญญัติไว้โดยอนุมาตรา 107 หรือในข้อตกลงส่วนภูมิภาค ซึ่งต่อต้านการรื้อฟื้นนโยบายรุกรานของรัฐสัตรูเช่นว่านั้น จนกว่าจะถึงเวลาที่องค์การอาจเข้ารับผิดชอบ เพื่อป้องกันการรุกรานต่อไปโดยรัฐสัตรุ เช่นว่าตามคำร้องขอของรัฐบาลที่เกี่ยวข้อง

2. คำว่ารัฐสัตรู ที่ใช้ในวรรค 1 แห่งมาตรานี้ ย่อมนำมาใช้แก่รัฐใดๆ ซึ่งในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เคยเป็นสัตรูต่อรัฐที่ลงนามในกฎบัตรฉบับปัจจุบัน

มาตรา 54

คณะมนตรีความมั่นคง จักต้องได้รับแจ้งโดยครบถ้วนตลอดทุกเวลา ถึงกิจกรรมที่ได้กระทำไป หรืออยู่ในความดำริตามข้อตกลงส่วนภูมิภาค หรือโดยทบวงการตัวแทนส่วนภูมิภาค เพื่อการธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ

หมวดที่ 1 ความมุ่งหมายและหลักการ
หมวดที่ 2 สมาชิกภาพ
หมวดที่ 3 องค์กร
หมวดที่ 4 สมัชชา
หมวดที่ 5 คณะมนตรีความมั่นคง
หมวดที่ 6 การระงับข้อพิพาทโดยสันติวิธี
หมวดที่ 7 การดำเนินการเกี่ยวกับการคุกคามต่อสันติภาพ การละเมิดสันติภาพ และการกระทำการรุกราน
หมวดที่ 8 ข้อตกลงส่วนภูมิภาค
หมวดที่ 9 ความร่วมมือระหว่างประเทศ
หมวดที่ 10 คณะมนตรีเศรษฐกิจและการสังคม
หมวดที่ 11 ปฏิญญาว่าด้วยดินแดนที่ยังมิได้ปกครองตนเอง
หมวดที่ 12 ระบบภาวะทรัสตีระหว่างประเทศ
หมวดที่ 13 คณะมนตรีภาวะทรัสตี
หมวดที่ 14 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
หมวดที่ 15 สำนักเลขาธิการ
หมวดที่ 16 บทเบ็ดเตล็ด
หมวดที่ 17 ข้อตกลงเฉพาะกาลเกี่ยวกับความมั่นคง
หมวดที่ 18 การแก้ไข
หมวดที่ 19 การสัตยาบันและการลงนาม

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย