ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
ไวรัส
(Virus)
การจัดหมวดหมู่ของไวรัส
เกณฑ์ที่ใช้จัดหมวดหมู่ไวรัสพิจารณาจากคุณสมบัติดังต่อไปนี้
1. ชนิดของกรดนิวคลิอิก รูปแบบการจัดเรียงตัวเป็นชนิดสายคู่ (double strands)
หรือชนิดสายเดี่ยว (single strand) เช่น DNA สายคู่ DNA สายเดี่ยว RNA สายคู่ และ
RNA สายเดี่ยว
2. รูปร่างลักษณะของแคปซิด เช่น ขนาด สมมาตร และจำนวน capsomere
3. การมีหรือไม่มี envelope ทำให้เกิดความทนทานต่อสภาพทางกายภาพและเคมี
4. คุณสมบัติทางซีรัมวิทยา (serology)
5. คุณสมบัติของโปรตีนที่ทำหน้าที่เป็นเอนไซม์ที่ปรากฏเนื่องจากไวรัสชนิดนั้น
6. เนื้อเยื่อและอาการของโรคที่เกิดกับส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
โดยทั่วไปนักไวรัสวิทยาจะยึดการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิตนี้ด้วยหลักการของ Baltimore Method ซึ่งยึดสารพันธุกรรมเป็นหลัก
การจัดจำแนกไวรัสโดยยึดประเภทของสารพันธุกรรมเป็นหลักตาม Baltimore Method of classification จะได้ไวรัส 6 Classes (ซึ่งต่อมามีการแยกออกมาอีก 1 class แต่ตำราส่วนใหญ่ยังคงยึดแบบ 6 classes)
การแบ่งกลุ่มเช่นนี้พบได้ในนักไวรัสวิทยาที่ศึกษาทางด้านชีววิทยาระดับโมเลกุล แต่นักชีววิทยาทั่วไปจะแบ่งกลุ่มไวรัสตามตระกูล (family) จีนัส (genera) และสปีชีส์ (species) หน่วยงานที่ดูแลเกี่ยวกับการตั้งชื่อไวรัส คือ ICTV (International Committee on Taxonomy of Viruses โดยไวรัสสัตว์ และแบคทีเรียจะมีชื่อตั้งแต่ระดับ family ลงไป ส่วนไวรัสพืชจะไม่ตั้งเป็น family หรือ genus แต่จะใช้เป็น group โดยชื่อของ group จะได้มาจาก prototype ของ group และในปัจจุบันยังมีการจำแนกไวรัสในระบบ คริพโตแกรม (Cryptogram) อีกแบบหนึ่งด้วย อย่างไรก็ตามนักวิทยาศาสตร์และคนส่วนใหญ่จะเข้าใจได้ง่ายกว่าเมื่อเรียกชื่อไวรัสด้วยชื่อที่คุ้นเคยเช่น เรียกไวรัสก่อโรคฝีดาษ (pox) ว่า poxvirus เรียกไวรัสก่อโรคจุดวงแหวนในมะละกอว่า papaya ring spot virus และเรียกไวรัสก่อโรคในตับว่า Hepatitis virus
ลักษณะทั่วไปของไวรัส
ส่วนประกอบของไวรัส
รูปร่างและขนาดของไวรัส
การจัดหมวดหมู่ของไวรัส
การเพิ่มจำนวนของไวรัส
วงชีวิตของไวรัส
ประโยชน์ของไวรัส