ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

ทฤษฎีแห่งการสร้างสรรค์ด้วยปัญญา

ของ ศาสตราจารย์ Seymour Papert
แห่ง Media Lab, Massachusetts Institute of Technology, สหรัฐอเมริกา

ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ในสภาพแวดล้อมการดำรงชีวิตได้ด้วยตนเอง ด้วยการนำเสนอเพื่อสร้างประสบการณ์ คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ ที่สามารถนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอนได้ ทำให้ผู้เรียนเรียนได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น และเปลี่ยนกรอบความคิดของครูจากเดิม ซึ่งเน้นการสอนไปเป็นการให้อิสระแก่ผู้เรียน ได้ร่วมเรียนรู้เป็นอิสระในการเรียนโดยพึ่งพาตนเอง

สาระสำคัญของทฤษฎีแห่งการสร้างสรรด้วยปัญญา (Constructionism )

ผู้เรียนเป็นฝ่ายสร้างความรู้ขึ้นด้วยตนเอง มิใช่ได้มาจากครูและในการสร้างความรู้นั้น ผู้เรียนจะต้องลงมือสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมา เช่น การสร้างสิ่งจำลอง การสร้างสิ่งที่จับต้องสัมผัสได้ ทำให้ผู้อื่นมองเห็นได้ จะมีผลทำให้ผู้เรียนต้องใช้ความคิด มีความกระตือรือร้น มีความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเอง อย่างเพื่อเกิดการสร้างสรรค์ความคิด

หลักการสำคัญ

  • การเชื่อมโยงสิ่งที่รู้แล้วกับสิ่งที่กำลังเรียน
  • การให้โอกาสผู้เรียนเป็นผู้ริเริ่มทำโครงการที่ตนเองสนใจ การสนับสนุนอย่างพอเพียงและเหมาะสมจากครูซึ่งได้รับการฝึกฝนให้มีความเข้าใจกระบวนการเรียนรู้อย่างลึกซึ้ง
  • เปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนความคิด นำเสนอผลการวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ของตนเอง
  • ให้เวลาทำโครงการอย่างต่อเนื่อง

การแสดงความคิดและผลงานของตนเองให้คนอื่นๆ รับทราบและร่วมพิจารณาให้ข้อเสนอแนะนั้น เป็นการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน และการยอมรับในความแตกต่างทางความคิด และผลงานปรากฎอยู่ และได้รับการสนับสนุนให้ทำอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นผู้เรียนแต่ละคนก็จะมีโอกาสพัฒนาความสามารถในผลสำเร็จของตนเอง

การเรียนรู้ตามทฤษฎีสร้างสรรด้วยปัญญาเริ่มใช้ในประเทศไทยอย่างจริงจังนั้นเริ่มแต่ปี พ.ศ. 2539 โดยมูลนิธิศึกษาพัฒน์ได้พัฒนาโครงการนำร่องคือ Lighthouse Project เพื่อแสดงให้เห็นว่าการจัดการศึกษาที่เป็นทางเลือกใหม่สำหรับพัฒนาคนไทยให้เป็นนักคิด นักสำรวจทดลอง และใช้เทคโนโลยีเพื่อแสดงความคิดและสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ได้อย่างคล่องแคล่ว

ทฤษฎีการเรียนรู้ (learning theory) การเรียนรู้คือกระบวนการที่ทำให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความคิด คนสามารถเรียนได้จากการได้ยินการสัมผัส การอ่าน การใช้เทคโนโลยี การเรียนรู้ของเด็กและผู้ใหญ่จะต่างกัน เด็กจะเรียนรู้ด้วยการเรียนในห้อง การซักถาม ผู้ใหญ่มักเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ที่มีอยู่ แต่การเรียนรู้จะเกิดขึ้นจากประสบการณ์ที่ผู้สอนนำเสนอ โดยการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ผู้สอนจะเป็นผู้ที่สร้างบรรยากาศทางจิตวิทยาที่ เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ที่จะให้เกิดขึ้นเป็นรูปแบบใดก็ได้เช่น ความเป็นกันเอง ความเข้มงวดกวดขัน หรือความไม่มีระเบียบวินัย สิ่งเหล่านี้ผู้สอนจะเป็นผู้สร้างเงื่อนไข และสถานการณ์เรียนรู้ให้กับผู้เรียน ดังนั้น ผู้สอนจะต้องพิจารณาเลือกรูปแบบการสอน รวมทั้งการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน

ทางจิตวิทยาอาจแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behavioral Theory)

ทฤษฎีในกลุ่มนี้ อธิบายว่า การเรียนรู้ในสิ่งต่าง ๆ เป็นการสร้างความสัมพันธ์หรือเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง ทฤษฎีที่สำคัญในกลุ่มนี้ได้แก่ ทฤษฎีการเรียนรู้วางเงื่อนไขแบบคลาสสิก หรือแบบสิ่งเร้าและทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (Cognitive theory)

ทฤษฎี ในกลุ่มนี้อธิบายว่า การเรียนรู้เป็นผลของกระบวนการคิด ความเข้าใจ การรับรู้สิ่งเร้าที่มากระตุ้น ผสมผสานกับประสบการณ์ในอดีตที่ผ่านมาของบุคคล ทำให้เกิดการเรียนรู้ขึ้น ซึ่งการผสมผสานระหว่างประสบการณ์ที่ได้รับในปัจจุบันกับประสบการณ์ในอดีต จำเป็นต้องอาศัยกระบวนการทางปัญญาเข้ามามีอิทธิพลในการเรียนรู้ด้วย ทฤษฎีกลุ่มนี้จึงเน้นกระบวนการทางปัญญา (Cognitive Process) มากกว่าการวางเงื่อนไขเพื่อให้เกิดพฤติกรรม ทฤษฎีการเรียนรู้ในกลุ่มนี้ ได้แก่ ทฤษฎีการเรียนรู้ปัญญาทางสังคม การเรียนรู้แบบการหยั่งรู้ เป็นต้น

ความแตกต่างระหว่างทฤษฎีแห่งการสร้างสรรค์ด้วยปัญญาและทฤษฎีการเรียนรู้

ทฤษฎีแห่งการสร้างสรรค์ด้วยปัญญา ผู้เรียนนั้นสามารถสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในการเรียนด้วยตัวของตนเองโดยมีอุปกรณ์ต่างๆเป็นองค์ประกอบในการเรียน เช่น คอมพิวเตอร์ โดยผู้เรียนนั้นมีอิสระในการศึกษา โดยผู้เรียนนั้นเป็นผู้สร้างความรู้ไม่ใช่ครูเป็นผู้สร้างความรู้ให้แก่ผู้เรียน แต่ทฤษฏีการเรียนรู้นั้นจะเกิดจากประสบการณ์ที่ผู้สอนนำเสนอูปแบบใดก็ได้ โดยการสร้งสร้างเงื่อนไข และสถานการณ์เรียนรู้ให้กับผู้เรียนผู้สอนจะต้องเป็นผู้กำหนดและพิจารณาเลือกรูปแบบการสอน รวมทั้งการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน

การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Bloom (Bloom's Taxonomy)

Bloom ได้แบ่งการเรียนรู้เป็น 6 ระดับ

  1. ความรู้ที่เกิดจากความจำ (knowledge) ซึ่งเป็นระดับล่างสุด
  2. ความเข้าใจ (Comprehend)
  3. การประยุกต์ (Application)
  4. การวิเคราะห์ ( Analysis) สามารถแก้ปัญหา ตรวจสอบได้
  5. การประเมินค่า ( Evaluation) วัดได้ และตัดสินได้ว่าอะไรถูกหรือผิด ประกอบการตัดสินใจบนพื้นฐานของเหตุผลและเกณฑ์ที่แน่ชัด

ความแตกต่างระหว่างทฤษฎีแห่งการสร้างสรรค์ด้วยปัญญาและทฤษฎีการเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Bloom

ทฤษฎีแห่งการสร้างสรรค์ด้วยปัญญา ผู้เรียนนั้นสามารถสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในการเรียนด้วยตัวของตนเองโดยมีอุปกรณ์ต่างๆเป็นองค์ประกอบในการเรียน เช่น คอมพิวเตอร์ โดยผู้เรียนนั้นมีอิสระในการศึกษา โดยผู้เรียนนั้นเป็นผู้สร้างความรู้ไม่ใช่ครูเป็นผู้สร้างความรู้ให้แก่ผู้เรียนส่วนทฤษฏีการเรียนรู้ของ Bloom สามารถแบ่งการเรียนรู้ออกเป็นระดับ โดยมากเกิดจากความจำ การเข้าใจ การประยุกต์ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมินค่า

การเรียนรู้ตามทฤษฎีของเมเยอร์ ( Mayor)

ในการออกแบบสื่อการเรียนการสอน การวิเคราะห์ความจำเป็นเป็นสิ่งสำคัญ และตามด้วยจุดประสงค์ของการเรียน เงื่อนไข พฤติกรรม ควรชี้ชัดและสังเกตได้ โดยแบ่งออกเป็นย่อยๆ 3 ส่วนด้วยกัน มาตรฐานพฤติกรรมสำเร็จได้ควรมีเงื่อนไขในการช่วยเหลือ พฤติกรรมที่ได้นั้นสามารถอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด การเรียนรู้ตามทฤษฎีของบรูเนอร์ ความรู้ถูกสร้างหรือหล่อหลอมโดยประสบการณ์ (Bruner) ผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบในการเรียน ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความหมายขึ้นมาจากแง่มุมต่างๆ ผู้เรียนเลือกเนื้อหาและกิจกรรมเอง

ผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง เนื้อหาควรถูกสร้างในภาพรวมความต่อเนื่อง (continuity)

ความแตกต่างระหว่างทฤษฎีแห่งการสร้างสรรค์ด้วยปัญญาและทฤษฎีการเรียนรู้ตามทฤษฎีของ (Mayor)

ทฤษฎีแห่งการสร้างสรรค์ด้วยปัญญา ผู้เรียนนั้นสามารถสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในการเรียนด้วยตัวของตนเองโดยมีอุปกรณ์ต่างๆเป็นองค์ประกอบในการเรียน เช่น คอมพิวเตอร์ โดยผู้เรียนนั้นมีอิสระในการศึกษา โดยผู้เรียนนั้นเป็นผู้สร้างความรู้ไม่ใช่ครูเป็นผู้สร้างความรู้ให้แก่ผู้เรียนส่วนทฤษฏีการเรียนรู้ของ mayor จะมีการกำหนดเงื่อนไขในการทำกิจกกรม และผลที่ได้ก็ต้องอยู่ในเกณท์ที่กำหนด ผู่เรียนสามรถเลือกเนื้อหาและกิจกรรมเอง

การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Gagne

จะให้ความสำคัญในการจัดลำดับขั้นการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้สิ่งเร้า สิ่งแวดล้อมภายนอกกระตุ้นผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้และสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนว่ามีการตอบสนองอย่างไร เพื่อที่จะจัดลำดับขั้นของการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้ถูกต้อง

ทฤษฎีการเรียนรู้ 8 ขั้น ของกาเย่ ( Gagne )

  1. การจูงใจ ( Motivation Phase) การคาดหวังของผู้เรียนเป็นแรงจูงใจในการเรียนรู้
  2. การรับรู้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ (Apprehending Phase) ผู้เรียนจะรับรู้สิ่งที่สอดคล้องกับความตั้งใจ
  3. การปรุงแต่งสิ่งที่รับรู้ไว้เป็นความจำ ( Acquisition Phase) เพื่อให้เกิดความจำระยะสั้นและระยะยาว
  4. ความสามารถในการจำ (Retention Phase)
  5. ความสามารถในการระลึกถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว (Recall Phase )
  6. การนำไปประยุกต์ใช้กับสิ่งที่เรียนรู้ไปแล้ว (Generalization Phase)
  7. การแสดงออกพฤติกรรมที่เรียนรู้ ( Performance Phase)
  8. การแสดงผลการเรียนรู้กลับไปยังผู้เรียน ( Feedback Phase) ผู้เรียนได้รับทราบผลเร็วจะทำให้มีผลดีและประสิทธิภาพสูง

ความแตกต่างระหว่างทฤษฎีแห่งการสร้างสรรค์ด้วยปัญญาและทฤษฎีการเรียนรู้ตามทฤษฎีของ (Gagne)

ทฤษฎีแห่งการสร้างสรรค์ด้วยปัญญา ผู้เรียนนั้นสามารถสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในการเรียนด้วยตัวของตนเองโดยมีอุปกรณ์ต่างๆเป็นองค์ประกอบในการเรียน เช่น คอมพิวเตอร์ โดยผู้เรียนนั้นมีอิสระในการศึกษา โดยผู้เรียนนั้นเป็นผู้สร้างความรู้ไม่ใช่ครูเป็นผู้สร้างความรู้ให้แก่ผู้เรียนส่วนทฤษฏีการเรียนรู้ของ โดยจะให้ความสำคัญในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ โดยมีอุปกรณ์ต่างๆ เป็นสิ่งเร้าในการเรียน

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย