สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้ >>

การแกว่งแขน รักษาโรค

หลักสำคัญพื้นฐานของกายบริหารแกว่งแขน

๑. ยืนตรง เท้าทั้งสองข้างแยกออกจากกันให้มีระยะห่างเท่ากับช่วงไหล่

๒. ปล่อยมือทั้ง ๒ ข้างลงตามธรรมชาติ อย่าเกร็งให้นิ้วมือชิดกัน หันอุ้งมือไปข้างหลัง

๓. ท้องน้อยหดเข้า เอวตั้งตรง เหยียบหลัง ผ่อนคลายกระดูกลำคอ ศีรษะและปากควรปล่อยไปตามสภาพธรรมชาติ

๔. จิกปลายนิ้วเท้ายึดเกาะพื้น ส่วนส้นเท้าก็ให้ออกแรงเหยียบลงบนพื้นให้แน่น ให้แรงจนรู้สึกกว่ากล้ามเนื้อที่โคนเท้าและท้องตึง ๆ เป็นใช้ได้

๕. สายตาทั้ง ๒ ข้าง ควรมองตรงไปยังจุดใดจุดหนึ่งแล้วมองอยู่ที่เป้าหมายนั้นจุดเดียว สลัดความกังวลหรือความนึกคิดฟุ้งซ่านต่างๆ ออกให้หมด ให้จุดสนใจความรู้สึกมารวมอยู่ที่เท้าเท่านั้น

๖. การแกว่งแขน ยกมือแกว่งแขนไปข้างหน้าอย่างเบาๆซึ่งตรงกับคำว่า “ว่างและเบา” แกว่งแขนไปข้างหน้าไม่ต้องออกแรง ความสูงของแขนที่แกว่งไปพยายามให้อยู่ระดับที่เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ต้องฝืนไห้สูงเกินไป คือ ให้ทำมุมกับลำตัวประมาณ ๓๐ องศา แล้วตั้งสมาธินับหนึ่ง...สอง...ลาม...ไปเรื่อย ๆ ในขณะเดียวกันก็ต้องระวังอย่าลืมออกแรงส้นเท้าและลำแขนด้วย เมื่อมือห้อยตรงแล้ว แกร่งขึ้นไปข้างหลังต้องออกแรงหน่อย ตรงกับคำที่ “แน่นหรือหนัก” แกว่งจนรู้สึกว่ากล้ามเนื้อไม่ยอมให้มือสูงไปกว่านั้นอีก เวลาแกว่งแขนกลับให้มีความสูงของแขนถึงลำตัวประมาณ ๖๐ องศา

สรุปแล้วก็คือ ขณะที่แกว่งแขนไปข้างหลังให้ออกแรงมากหน่อย ส่วนแกว่งไปข้างหน้าไม่ต้องออกแรง คือ ใช้แรงเหวี่ยงให้กลับไปเอง

ก่อนการทำกายบริหารแกว่งแขน ควรแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่ไม่คับหรือรัดแน่นเกินไป สะบัดแขน มือ เท้าสักครู่ ให้กล้ามเนื้อและร่างกายผ่อนคลาย หมุนศีรษะไปมาแล้วจัดลักษณะท่าทางให้ถูกต้อง

การทำกายบริหารแกว่งแขนมีวิธีนับอย่างไร

การแกว่งแขนนับโดยเริ่มออกแรงแกว่งไปข้างหลัง แล้วให้แขนเหวี่ยงกลับมาข้างหน้าเองนับเป็น ๑ ครั้ง แล้วนับสอง..สาม..ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะครบตามจำนวนที่เรากำหนดไว้

การแกว่งแขนแต่ละครั้งควรใช้เวลานานเท่าไร

เริ่มแรกที่ทำกายบริหารควรทำตั้งแต่ ๒๐๐-๓๐๐ ครั้งก่อน แล้วค่อย ๆ เพิ่มจำนวนขึ้นครั้งละ ๑๐๐ ตามลำดับจนกระทั่งถึง ๑๐๐๐-๒๐๐๐ ครั้ง ซึ่งจะใช้เวลาในการบริหารประมาณครั้งละ ๓๐ นาที (แกว่ง ๕๐๐ ครั้งใช้เวลาประมาณ๑๐ นาที)

การแกว่งแขนควรทำเวลาไหน

การทำกายบริหารแกว่งแขน สามารถทำได้ทุกเวลาคือเวลาเช้า กลางวัน และ เวลาค่ำ หรือแม้แต่ยามว่างสัก ๑๐ นาทีก็สามารถทำได้ หากรับประทานอาหารอิ่มใหม่ๆ ควรนั่งพักเสียก่อนสัก ๓๐ นาที แล้วจึงค่อยทำกายบริหาร

การแกว่งแขนควรทำที่ไหน

การทำกายบริหารแกว่งแขนนี้ไม่จำกัดสถานที่ สามารถทำได้ในที่ทำงาน ในบ้าน ฯลฯ

แต่ถ้าเป็นไปได้ควรทำในที่โล่งซึ่งมีอากาศถ่ายเทสะดวกเช่นในสวน ใต้ต้นไม้ จะเป็นการดีมากหากผู้ปฏิบัติสามารถยืนอยู่บนพื้นดิน หรือสนามหญ้า และที่สำคัญขณะทำกายบริหารแกว่งแขนต้องถอดรองเท้าเสมอ ในหนังสือตำราแพทย์โบราณกล่าวว่า การที่เราได้มีโอกาสเดินด้วยเท้าเปล่า ไปบนพื้นหญ้าที่มีน้ำค้างในยามเช้าเกาะอยู่ นับเป็นผลดีอันวิเศษยิ่งเพราะฝ่าเข้าทั้งสองจะดูดซึมเอาธาตุต่าง ๆ จากน้ำค้างบนใบหญ้า เข้าไปบำรุงหล่อเลี้ยงร่างกาย ทำให้เรามีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์ยอดเยี่ยม

ข้อแนะนำ

การแกว่งแขนต้องอาศัยความอดทน การแกว่งแขนแต่ละครั้งจะมากหรือน้อยย่อมขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละคนว่าอ่อนแอหรือแข็งแรงเพียงใด อย่าใจร้อน อย่าฝืน แต่ก็ไม่ใช่ทำตามสบาย เพราะหากปล่อยตามใจชอบแล้ว ก็จะขาดความเชื่อมั่นต่อการออกกำลังกาย และจะไม่บังเกิดผลเมื่อเริ่มปฏิบัติอย่าออกแรงหักโหมมากเกินไปให้แกว่งไปตามปกติทำอย่างนิ่มนวล ไม่ใช่แกว่งอย่างเอาเป็นเอาตาย ควรทำจิตใจให้เป็นสมาธิ อย่าฟุ้งซ่าน ถ้าหากไม่มีสมาธิแล้วเลือดก็จะหมุนเวียนสับสนไม่เป็นระเบียบ ทำให้การปฏิบัติไม่สัมฤทธิ์ผลเท่าที่

กายบริหารแกว่งแขนนี้เมื่อปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำสามารถบำบัดโรคร้ายแรงและเรื้อรังต่างๆ ให้หายได้

ส่วนผู้ที่มีร่างกายปกติ หากปฏิบัติเป็นประจำจะช่วยเสริมสร้างสุขภาพพลานามัยให้ดียิ่งขึ้น ช่วยให้อารมณ์แจ่มใสจิตใจเบิกบานและเป็นสุขหลังจากการทำกายบริหารแกว่งแขนแล้ว ควรเดินพักตามสบายเพื่อผ่อนคลายร่างกายและจิตใจ

ประวัติความเป็นมาของ "กายบริหารแกว่งแขน"
เหตุใดการบริหารแกว่งแขนจึงสามารถบำบัดโรคต่างๆได้
หลักสำคัญพื้นฐานของกายบริหารแกว่งแขน
เคล็ดวิชา ๑๖ ประการ ของกายบริหารแกว่งแขน
คำอธิบายเคล็ดวิชา ๑๖ ประการ ของกายบริหารแกว่งแขน
เคล็ดลับพิเศษของกายบริหารแกว่งแขน
การแกว่งแขนกับการเปลี่ยนแปลงของชีพจร
กายบริหารแกว่งแขน เพื่อรักษาโรคอัมพาต
กายบริหารแกว่งแขนเพื่อพิชิตโรคมะเร็ง
กายบริหารแกว่งแขนรักษาโรคตับ
กายบริหารแกว่งแขน กับการรักษาโรคตา


แนะนำอีก 2 เคล็ดวิชาในตำนาน ที่น่าสนใจ


แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย