สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้ >>
การจัดการอุบัติเหตุและโรคจากการทำงาน
อุบัติเหตุ หมายถึง เหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดจากการที่ไม่ได้คาดคิดไว้ล่วงหน้าหรือไม่ทราบล่วงหน้าหรือขาดการควบคุม แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วมีผลให้เกิดการบาดเจ็บหรือความเจ็บป่วยจากการทำงานหรือการเสียชีวิตหรือความสูญเสียต่อทรัพย์สินหรือความเสียหายต่อสภาพแวดล้อมหรือต่อสาธารณชน ตัวอย่างของการเกิดอุบัติเหตุ เช่น ถูกวัตถุ ชิ้นงานตัด บาด เฉือน ทิ่ม แทงร่างกาย ถูกวัตถุกดทับ ถูกของหล่นใส่ กระเด็นใส่ ลื่นล้ม สิ่งของพังทะลายหล่นทับ ถูกหนีบ ถูกดึง ถูกเฉี่ยว ถูกชน สัมผัสกับความร้อนจัด ถูกสารเคมี ไฟฟ้าดูด เป็นต้น
อุบัติการณ์ หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในลักษณะเช่นเดียวกันกับการเกิดอุบัติเหตุ แต่ผลของอุบัติการณ์ไม่ทำให้ผู้ใดได้รับบาดเจ็บ ทรัพย์สินไม่เสียหาย หรืออาจเรียกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้อีกอย่างหนึ่งว่าเป็นเหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุ (Incident or NearMiss) ซึ่งการเกิดอุบัติการณ์บ่อยครั้ง อาจนำมาซึ่งการเกิดอุบัติเหตุได้ ถ้าไม่ได้รับการควบคุมป้องกัน
อุบัติเหตุอันเนื่องมาจากการทำงาน หรืออุบัติเหตุในงาน หมายถึง การที่พนักงานปฏิบัติงานซึ่งเป็นงานของบริษัทฯ แล้วเกิดอุบัติเหตุไม่ว่าจะเกิดขึ้นในเขตบริษัทฯ หรือนอกเขตบริษัทฯ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นในกระบวนการทำงาน หรือนอกกระบวนการทำงาน ไม่ว่าจะเกิดขึ้นในเวลาทำงานปกติ นอกเวลาปกติ ถ้าเป็นการปฏิบัติงานให้กับบริษัทฯ ถือว่าเป็นอุบัติเหตุอันเนื่องมาจากการทำงานตามคำจำกัดความนี้
อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นนอกเวลางาน หรืออุบัติเหตุนอกงาน หมายถึง อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นต่อพนักงานของบริษัทฯ ที่มีสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุไม่เกี่ยวข้องกับการทำงานของบริษัทฯ เกิดอุบัติเหตุขึ้นในเวลาพักภายในบริเวณบริษัทฯ หรือเกิดขึ้นภายนอกบริเวณบริษัทฯ เหตุการณ์ดังกล่าวนี้ถือเป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นนอกเวลาทำงานหรืออุบัติเหตุนอกงาน
การเจ็บป่วยด้วยโรคอันเนื่องมาจากการทำงาน หมายถึง การที่มีพนักงานเจ็บป่วยแล้วผลการตรวจวินิจฉัยของแพทย์ผู้ให้การรักษาพยาบาลมีความเห็นว่าการเจ็บป่วยนั้นมาสาเหตุเนื่องจากการทำงานให้กับบริษัทฯ เช่น การเจ็บป่วยด้วยโรคอันเนื่องมาจากการทำงานที่ กฎกระทรวงแรงงานเรื่อง กำหนดชนิดของโรคซึ่งเกิดขึ้นตามลักษณะหรือสภาพของงานเนื่องจากการทำงาน พ.ศ.2550 กำหนดไว้
ความปลอดภัยในการทำงาน หมายถึง การกระทำหรือสภาพแวดล้อมในการทำงานซึ่งปราศจากเหตุอันจะทำให้เกิดการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือความเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานหรือเกี่ยวกับการทำงาน
สาเหตุของอุบัติเหตุ
และโรคอันเนื่องมาจากการทำงาน
ความสูญเสียที่เกิดจากการเกิดอุบัติเหตุ
การจัดระดับความรุนแรงของอุบัติเหตุ
ผู้รับผิดชอบ
รายละเอียดการปฏิบัติงาน
วิธีการและขั้นตอนการปฏิบัติ
การวางระบบการสอบสวนอุบัติเหตุ
การปฏิรูปและการฟื้นฟู
มาตรการดูแลพนักงานที่เจ็บป่วยด้วยโรคอันเนื่องจากการทำงาน
เอกสารอ้างอิง
ระเบียบปฏิบัติเรื่อง ความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน