สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้ >>

การจัดการอุบัติเหตุและโรคจากการทำงาน

วิธีการและขั้นตอนการปฏิบัติ

การปฏิบัติก่อนเกิดอุบัติเหตุบริษัทฯ ได้วางระบบการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานและการป้องกันโรคจากการทำงานไว้ดังต่อไปนี้

การให้การศึกษาอบรม บริษัทฯ ได้วางระบบการให้การศึกษาอบรมเกี่ยวกับเรื่องการจัดการควบคุมป้องกันอุบัติเหตุให้กับพนักงานโดยจัดทำคู่มือ มาตรฐานการทำงานที่ปลอดภัย สำหรับใช้ในการอบรมสอนงาน เริ่มตั้งแต่การให้มีการอบรมพนักงานเข้าใหม่โดยเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ การอบรมพนักงานเข้าใหม่ก่อนอนุญาตให้ทำงานโดยเจ้าหน้าทีความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างานประจำฝ่ายต่างๆ ตลอดจนการอบรมเพิ่มทักษะในการทำงานและการป้องกันอุบัติเหตุและโรคจากการทำงาน โดยจัดทำแผนการอบรม

พนักงานทั้งบริษัทฯ พร้อมทั้งจัดให้มีการอบรมทบทวนทักษะการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในการทำงานโดยเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพและเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน โดยมีระบบการทดสอบติดตามผลหลังการฝึกอบรมที่มีประสิทธิภาพ

การสำรวจตรวจสอบ บริษัทฯ ได้วางระบบการสำรวจตรวจสอบเพื่อควบคุม และป้องกันกันเกิดอุบัติเหตุไว้หลายชั้น เพื่อให้มั่นใจว่า อุบัติเหตุจากการทำงานในกระบวนการทำงานต่างๆ จะได้รับการตรวจประเมินทั้งก่อนทำงาน ขณะทำงาน และหลังจากทำงานแล้วเสร็จ โดยกำหนดให้ :

พนักงาน ตรวจสอบเครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ในการทำงาน ก่อนทำงาน การสังเกตความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นขณะทำงาน และการตรวจสอบทำความสะอาดหลังจากที่ทำงานแล้วเสร็จ
หัวหน้างาน ตรวจสอบผลการตรวจของพนักงานประจำวัน และตรวจสอบสภาพอุปกรณ์ป้องกันอันตรายของเครื่องจักร เครื่องมือ ตรวจสอบสภาพพื้นที่ทำงาน สภาพอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล และควบคุมการใช้งาน ตลอดจนการแก้ไขข้อบกพร่องให้มีความปลอดภัยก่อนให้พนักงานปฏิบัติงานประจำวัน

เจ้าหน้าที่แผนกวิศวกรรมซ่อมบำรุง กำหนดแผนงานในการตรวจและบำรุงรักษาเครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ ตลอดจนโครงสร้างของอาคาร วางมาตรการเพื่อความปลอดภัยในการซ่อมบำรุง และดำเนินการตรวจสอบระบบไฟฟ้า สภาพการใช้งานของเครน ลิฟท์ โดยดำเนินการตามแผนงานที่กำหนดไว้ พร้อมทั้งเก็บรักษาบันทึกการตรวจสอบไว้เพื่อประโยชน์ในการสอบทวนกลับ

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ ตรวจสอบความปลอดภัยในการทำงานประจำวัน โดยสังเกตที่สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุเป็นหลัก พร้อมทั้งวางระบบขั้นตอนการรายงานอุบัติเหตุไว้ใช้ปฏิบัติภายในองค์กร รวมถึงกำหนดมาตรการในการควบคุมการทำงานเสี่ยงอันตรายของช่างซ่อมบำรุงและผู้รับเหมา เพื่อตรวจสอบให้มีความปลอดภัยตลอดเวลา

คณะกรรมการความปลอดภัยฯ จะสำรวจด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง พร้อมทั้งติดตามประเมินผลการดำเนินงานของฝ่ายต่างๆ รวมถึงพิจารณาสถิติอุบัติเหตุและรายงานผลการดำเนินงาน สภาพปัญหา ต่อประธานคณะกรรมการความปลอดภัยฯ ให้ทราบ

การปฏิบัติหลังเกิดอุบัติเหตุ บริษัทฯ ได้วางระบบการตอบสนองหลังการเกิดอุบัติเหตุไว้ ดังต่อไปนี้

1. วางระบบการรายงานอุบัติเหตุ
2. วางระบบวิธีการสอบสวนอุบัติเหตุที่มีประสิทธิภาพ
3. วางระบบการปฏิรูปฟื้นฟู

การวางระบบการรายงานอุบัติเหตุ บริษัทฯ ได้กำหนดขั้นตอนการรายงานอุบัติเหตุไว้ เพื่อให้ตอบสนองต่ออุบัติเหตุได้อย่างทันทีทันใด ดังนี้

ขั้นตอนการรายงานอุบัติเหตุในงาน

1. พนักงานผู้ประสบเหตุหรือพนักงานผู้เห็นเหตุการณ์ แจ้งหัวหน้างาน หรือจป.วิชาชีพ
2. หัวหน้างานหรือจป.วิชาชีพ แจ้งฝ่ายบุคคล และรายงานผู้บริหารหรือนายจ้างทราบ
3. หัวหน้างาน จป.วิชาชีพ ตรวจสอบประเมินความรุนแรงของอุบัติเหตุ
4. ถ้าบาดเจ็บเล็กน้อยให้การปฐมพยาบาลยังห้องปฐมพยาบาล
5. ถ้าบาดเจ็บระดับปานกลางถึงร้ายแรง ให้จป.วิชาชีพเขียนใบส่งตัวกองทุนเงินทดแทน และนำส่งโรงพยาบาล
6. เรียกประชุมสอบสวนหาสาเหตุของอุบัติเหตุ กำหนดมาตรการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุซ้ำ
7. หัวหน้าแผนกที่เกิดเหตุเขียนบันทึกใบรายงานอุบัติเหตุ รายงานผู้บริหารหรือนายจ้าง

สาเหตุของอุบัติเหตุ และโรคอันเนื่องมาจากการทำงาน
ความสูญเสียที่เกิดจากการเกิดอุบัติเหตุ
การจัดระดับความรุนแรงของอุบัติเหตุ
ผู้รับผิดชอบ
รายละเอียดการปฏิบัติงาน
วิธีการและขั้นตอนการปฏิบัติ
การวางระบบการสอบสวนอุบัติเหตุ
การปฏิรูปและการฟื้นฟู
มาตรการดูแลพนักงานที่เจ็บป่วยด้วยโรคอันเนื่องจากการทำงาน

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย