สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้ >>

สมุนไพรที่ใช้เป็นอาหารและเครื่องดื่ม

ขิง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zingiber officinale Roscoe
วงศ์ : Zingiberaceae ชื่อสามัญ : Ginger ชื่ออื่น : ขิงแกลง ขิงแดง ขิงเผือก

ลักษณะ : ไม้ล้มลุกสูง 0.3-1 เมตร มีเหง้าใต้ดิน เปลือกนอกสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีนวลมีกลิ่นเฉพาะ แทงหน่อหรือลำต้นเทียมเช่นเดียวกับไพล ใบเดี่ยว เรียงสลับรูปขอบขนานแกมใบหอก กว้าง 1.5-2 ซม. ยาว 15-20 ซม. ดอกช่อแทงออกจากเหง้า กลีบดอกสีเหลืองแกมเขียว ใบประดับสีเขียวอ่อน ผลเป็นผลแห้ง มี 3 พู

ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้เหง้าขิงแก่ทั้งสดและแห้ง เป็นยาขับลม แก้อาเจียนแก้ไอขับเสมหะ และขับเหงื่อโดยใช้เหง้าสดขนาดนิ้วหัวแม่มือต้มกับน้ำหรือใช้ผงขิงแห้งชงน้ำดื่ม จากการทดลองกับอาสาสมัคร 36 คนพบว่าผงขิงป้องกันการเมารถเมาเรือได้ดีกว่ายาแผนปัจจุบัน (dimenhydrinate) ในเหง้ามีน้ำมันหอมระเหยประกอบด้วย menthol, bornelo, fenchone, 6-shogoal และ6-gingerol menthol, มีฤทธิ์ขับลม borneol, fenchone และ 6-gingerol มีฤทธิ์ขับน้ำดี ช่วยย่อยไขมันนอกจากนี้พบว่าสารที่มีรสเผ็ดได้แก่ , 6-shogoal และ6-gingerol ลดการบีบตัวของลำไส้ จึงช่วยบรรเทาอาการปวดท้องเกร็ง

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

กระเจี๊ยบแดง
กระชาย
กล้วยน้ำว้า
ขลู่
ข่อย
กระทือ
กระเทียม
กระเพรา
ขมิ้นชัน
ขิง
ขี้เหล็ก
คูน
ชุมเห็ดเทศ
บอระเพ็ด
ตะไตร้
ผักคราดหัวแหวน
ฝรั่ง
เพกา
ฟักทอง
ฟ้าทะลายโจร
มะเกลือ
มะขาม
มะขามป้อม
มะนาว
รางจืด
เล็บมือนาง
ยอ
แห้วหมู
สับปะรด
ข่า
ไพล
บัวบก
ทองพันชั่ง
น้อยหน่า
มะคำดีควาย
มังคุด
ว่านหางจรเข้
สีเสียดเหนือ
เหงือกปลาหมอ
อัญชัน