สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้ >>
สมุนไพรที่ใช้เป็นอาหารและเครื่องดื่ม
ข่อย
ชื่ออื่น ๆ : กักไม้ฝอย (ภาคเหนือ) สัมพล (จังหวัดเลย) ข่อย ส้มพ่อ ส้มฝ่อ
(หนองคายภาคเหนือ)ขรอย ขันตา ขอย (ภาคใต้)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Streblus aspe Lour. วงศ์ : MORACEAE
ลักษณะทั่วไป
ต้น : เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง ใบ : จะเล็กหนาแข็ง ถ้าจับดูทั้ง 2 ด้านจะสากคายคล้ายกับกระดาษทราย ขอบใบจะหยักแบบซี่ฟัน ดอก : ดอกตัวผู้จะรวมกันเป็นช่อดอก แบบหัวกลม และมีก้านดอกที่สั้น มีสีเหลืองอมเขียวหรือเกือบจะขาว ส่วนดอกตัวเมียนั้นก้านจะยาว และมักจะอกเป็นคู่สีเขียว เกสร : เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียนั้นจะอยู่ต่างดอกกัน เมล็ด(ผล) เมื่อผลสุกจะมีสีเหลืองอ่อน เปลือกชั้นนอกจะนิ่มและฉ่ำน้ำส่วนเมล็ดนั้นมีลักษณะเกือบกลมคล้ายเม็ดพริกไท
การขยายพันธุ์ : โดยการใช้เมล็ด ส่วนที่ใช้ : เมล็ด ใบ ปลือก และราก
สรรพคุณ : เมล็ด ใช้รับประทานเป็นยาอายุวัฒนะ เจริญอาหาร ขับผายลม บำรุงธาตุรักษาท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ ใบ จะมีลักษณะสากใช้ขัดเครื่องครัว ใช้ถูเมือกปลาไหลนอกจกนี้นำมาคั่วชงน้ำดื่มก่อนที่จะมีประจำเดือน สำหรับสตรีที่มีอาการปวดท้องขณะมีประจำเดือน ใช้บรรเทาอาการปวดได้ หรือใช้ชงน้ำดื่มแทนน้ำชาได้ เปลือก มีรสเมาเบื่อดับพิษในกระดูกและเส้น รักษาพยาธิผิวหนัง เช่น หุงน้ำมัน ริดสีดวง หรือใช้ต้มใส่เกลือให้เค็มเป็นยาอม รักษารำมะนาดนอกจากนี้เปลือกข่อยทำกระดาษปลวกจะไม่กินกระดาษข่อย ใช้มวนสูยรักษาริดสีดวงจมูก ราก ในเปลือกรากมีสารที่มีฤทธิ์เป็นยาบำรุงหัวใจ (Cardiacglyscosides) มากกว่า 30 ชนิด เช่น asperoside (digitoxigenen-2, 3-di-o-methylglucoside,strebloside)(Strophanthidin-2,3-di-o-me thylfucoside) และ glucostreblide
กระเจี๊ยบแดง
กระชาย
กล้วยน้ำว้า
ขลู่
ข่อย
กระทือ
กระเทียม
กระเพรา
ขมิ้นชัน
ขิง
ขี้เหล็ก
คูน
ชุมเห็ดเทศ
บอระเพ็ด
ตะไตร้
ผักคราดหัวแหวน
ฝรั่ง
เพกา
ฟักทอง
ฟ้าทะลายโจร
มะเกลือ
มะขาม
มะขามป้อม
มะนาว
รางจืด
เล็บมือนาง
ยอ
แห้วหมู
สับปะรด
ข่า
ไพล
บัวบก
ทองพันชั่ง
น้อยหน่า
มะคำดีควาย
มังคุด
ว่านหางจรเข้
สีเสียดเหนือ
เหงือกปลาหมอ
อัญชัน